สมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย ไม่สนับสนุนให้คนไทยใช้กัญชารักษาอาการนอนไม่หลับ เนื่องจากการวิจัยเรื่องกัญชากับการนอนหลับในมนุษย์ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ รวมทั้งมีบางรายงานที่ให้ผลในทิศทางตรงกันข้าม
ถึงแม้การใช้กัญชาจะมีผลช่วยลดความวิตกกังวล ทำให้หลับได้ง่ายขึ้น แต่ก็มีหลายรายงานที่พบว่าทำให้การนอนหลับแย่ลง อีกทั้งผู้ใช้จะไม่สามารถหยุดการใช้กัญชาได้ เพราะจะมีอาการขาดยาและจะยิ่งทำให้เกิดความทรมาน หลับได้ยากขึ้น
สารสกัดจากกัญชาบางตัวยังมีฤทธิ์กระตุ้นอาการประสาทหลอนหรือหลงผิด เพิ่มอาการทางจิตเวช ดังนั้นจึงไม่ควรใช้กัญชาเพื่อรักษาอาการนอนไม่หลับ
28 ตุลาคม 2019
แถลงการณ์ จุดยืน (Position Statement) ของสมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย
เรื่อง “การใช้กัญชาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหานอนไม่หลับ”
1. คุณสมบัติของกัญชาต่อปัญหานอนไม่หลับ
สารสกดกัญชาที่ นำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์มี 2 ชนิด คือ สาร delta-9-tetrahydrocannabinol (THC) และสารcannabidiol (CBD)1 โดย THC เมื่อเข้าสู่สมองจะจับกับ cannabinoid receptor (CB) ทั้งชนิด CB1 และ CB2 ส่งผลให้เกิดความผอนคลาย ลดความวิตกกังวล และทำให้เกิดความรู้สึกเคลิ้ม 2,3 ซึ่งเป็นฤทธิ์อันพึงประสงค์ในหมู่ผู้เสพกัญชา สาร THC นอกจากทำให้เกิดความผ่อนคลาย ยังส่งผลทำให้การรับรู้ต่อสิ่งแวดล้อมเสียไป เกิดอาการประสาทหลอน หรืออาการหลงผิดได้4 ส่วนสาร CBD มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท
น้อยกว่า ออกฤทธิ์จับ cannabinoid receptor ชนิด CB2 มากกวา ซึ่ง CB2 พบมากในระบบภูมิคุ้มกัน (immune system) และที่ปลายประสาท (peripheral nerve) ทำหน้าที่ antinociception ควบคุมการตอบสนองของภูมิคุ้มกน และปฏิกิริยาการอักเสบ (cytokines)5
ผลต่อการนอนหลับของสารสกัด THC และ CBD พบวา สาร THC ที่ใช้ในระยะสั้น ส่งผลทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น เนื่องจากมีฤทธิ์ ลดความวิตกกงวล2,3 แต่ผลในระยะยาว พบว่า THC ทำให้ระยะการนอนหลับได้ในแต่ละคืนลดลง เนื่องจากเกิดภาวะดื้อยา (tolerance effect) ในส่วนของสาร CBD มีประสิทธิผลดีกว่า THC โดยพบว่า สาร CBD ช่วยให้ระยะเวลาในการเข้าสู่การนอนหลับ (sleep latency) เร็วขึ้น แต่ถ้าใช้ระยะยาวกลับทำให้คุณภาพของการหลับแย่ลง6-11 นอกจากนี้การออกฤทธิ์ยังขึ้นกับขนาดของสารที่ใช้ โดยสาร CBD ในขนาดต่ำจะส่งผลกระตุ้นการนอนหลับ ส่วนในขนาดสูงจะช่วยทำให้ง่วงหลับได้ง่ายขึ้น
ลดการตื่นตัวขณะหลับ และเพิ่มระยะเวลาในการหลับ12-14
ในปัจจุบันงานวิจัยผลของกัญชากับคุณภาพการนอนหลับยังไม่ได้มีการรับรองอยางเป็นมาตรฐาน
เนื่องจากผลการวิจัยยังไม่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน หลายงานวิจัยพบว่า ช่่วยส่งเสริมให้การนอนหลับดีขึ้น โดยช่วยให้เข้าสู่การนอนหลับ (sleep latency) ได้เร็วขึ้น ระยะเวลาการนอนหลับ (total sleep time) เพิมขึ้น15 ในขณะที่หลายงานวิจัยพบว่า ทำให้คุณภาพการนอนหลับแย่ลง (poor sleep quality) และไม่สามารถหยุดใช้ได้ เนื่องจากเมื่อหยุดใช้จะเกิดภาวะขาดกัญชา (cannabis withdrawal) ซึ่งจะทำให้การนอน
หลับยากขึ้น ประสิทธิภาพการนอนหลับแย่ลง ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกทรมาน ส่งผลทำให้ต้องกลับไปใช้กัญชาต่อเนื่อง6-11 นอกจากนี้งานวิจัยเรื่องกัญชากับการนอนหลับที่มีในปัจจุบัน ยังเป็นงานวิจัยระดับคุณภาพต่ำ จนถึงปานกลาง เนื่องจากจำนวนผู้เข้าร่วมวิจัยมีจำนวนน้อย และหลายงานวิจัยยังขาดกลุ่มควบคุม16
2. ความคิดเห็นต่อการใช้กัญชาต่อปัญหานอนไม่หลับ
กัญชามีฤทธิ์ทำให้เสพติดได้ซึ่งเกิดจากฤทธิ์ของสาร THC กัญชาไม่ว่าในรูปแบบใดก็ตาม ยังไม่มีการรับรองวาสามารถใช้ในการรักษาปัญหานอนไม่หลับได้ และยังไม่มีงานวิจัยทางการแพทย์ที่มีมาตรฐานอย่างเพียงพอ ที่สำคัญกัญชามีฤทธิ์ รบกวนการทำงานของสมอง อาจเพิมความเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางจิตเวชได้
การใช้กัญชาเพื่อช่วยเรื่องการนอนหลับ จึงมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลด้านลบมากกวาผลด้านบวก
เอกสารอ้างอิง
- Pacher P, Batkai S, Kunos G. The endocannabinoid system as an emerging target of pharmacotherapy. Pharmacol Rev. 2006;58(3):389–462.
- Feingold D, Weiser M, Rehm J, Lev-Ran S.The association between cannabis use and anxiety disorders:Results from a population-based representative sample.Eur Neuropsychopharmacol2016;26(3):493-505.
- Crippa JA, Zuardi AW, Martin-Santos R, Bhattacharyya S, Atakan Z, McGuire P, et al.Cannabis and anxiety:a critical review of the evidence. Hum Psychopharmacol2009;24(7):515-23.
- Grotenhermen F, Russo E. Cannabis and cannabinoids: pharmacology, toxicology, and therapeutic potential. New York: Haworth Press Inc; 2002.
- Lynch ME, Ware MA. Cannabinoids for the treatment of chronic non-cancer pain: an updated systematic review of randomized controlled trials. J NeuroImmune Pharmacol. 2015;10(2):293–301. This article provided a literature review of research investigating the use of cannabinoids in treating chronic pain.
- Barratt ES, BeaverW,White R. The effects of marijuana on human sleep patterns. Biol Psychiatry. 1974;8(1):47–54.
- Feinberg I, Jones R, Walker J, Cavness C, Floyd T. Effects of marijuana extract andtetrahydrocannabinol on electroencephalographic sleep patterns. Clin Pharmacol Ther. 1976;19(6):782–94.
- Chait LD. Subjective and behavioral effects of marijuana the morning after smoking. Psychopharmacology. 1990;100(3):328–33.
- Freemon FR. The effect of chronically administered delta-9-tetrahydrocannabinol upon the polygraphically monitored sleep of normal volunteers. Drug Alcohol Depend. 1982;10(4):345–53.
- Karacan I, Fernandez-Salas A, Coggins WJ, Carter WE, Williams RL, Thornby JI, et al. Sleep electroencephalographicelectrooculographic characteristics of chronic marijuana users: part I Ann N YAcad Sci. 1976;282:348–74.
- Pranikoff K, Karacan I, Larson EA, Williams RL, Thornby JI, Hursch CJ. Effects of marijuana smoking on the sleep EEG. Preliminary studies JFMA. 1973;60(3):28–31.
- Nicholson AN, Turner C, Stone BM, Robson PJ. Effect of Delta-9-tetrahydrocannabinol and cannabidiol on nocturnal sleep and early morning behavior in young adults. J Clin Psychopharmacol. 2004;24(3):305–13.
- Carlini EA, Cunha JM. Hypnotic and antiepileptic effects of cannabidiol. J Clin Pharmacol. 1981;21(8–9 Suppl):417S–27S.
- Zuardi AW. Cannabidiol: from an inactive cannabinoid to a drug with wide spectrum of action. Rev Bras Psiquiatr. 2008;30(3):271–80.
- Tringale R, Jensen C. Cannabis and insomnia. Depression. 2011;4(12):0–68.
- Babson1 KA, Sottile J, Morabito1 D. Cannabis, Cannabinoids, and Sleep: a Review of the Literature. Curr Psychiatry Rep. 2017;19(23):1-12