ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ปัญหาการควบคุมปัสสาวะในผู้สูงอายุ

อาการเหล่านี้เกิดจากปัญหาของการควบคุมปัสสาวะ ซึ่งพบได้บ่อยในผู้สูงอายุโดยเฉพาะผู้หญิงผู้มีปัญหานี้ส่วนใหญ่มักไม่ได้รับการรักษาเพราะคิดเองว่าเป็นอาการธรรมดาที่เกิดเมื่ออายุมากขึ้นและรักษาไม่ได้

ความจริงแล้ว 7 ใน 10 คน ของผู้มีปัญหานี้สามารถหายขาดหรือควบคุมอาการได้ด้วยการรักษาและปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง

ทำอย่างไรจะควบคุมการปัสสาวะได้อ่านรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ

ปัญหาการควบคุมปัสสาวะในผู้สูงอายุ

ท่านมีอาการเหล่านี้หรือไม่
•ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ ( มากกว่า7ครั้งใน1วัน )
•รู้สึกปวดปัสสาวะมากจนทนไม่ได้ในทันที
•ปัสสาวะไหลเล็ดไม่สามารถรอจนเข้าห้องน้ำได้
•ตื่นขึ้นมาปัสสาวะมากกว่า1ครั้งในตอนกลางคืน
•ต้องใส่แผ่นซับปัสสาวะเพราะปัสสาวะไหลเล็ดมากๆ
•ปัสสาวะไหลเล็ดขณะไอจามหัวเราะยกของหนักเดินเร็วๆหรือออกกำลังกาย

อาการเหล่านี้เกิดจากปัญหาของการควบคุมปัสสาวะ ซึ่งพบได้บ่อยในผู้สูงอายุโดยเฉพาะผู้หญิงผู้มีปัญหานี้ส่วนใหญ่มักไม่ได้รับการรักษาเพราะคิดเองว่าเป็นอาการธรรมดาที่เกิดเมื่ออายุมากขึ้นและรักษาไม่ได้

ความจริงแล้ว7ใน10คนของผู้มีปัญหานี้สามารถหายขาดหรือควบคุมอาการได้ด้วยการรักษาและปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง

ทำอย่างไรจะควบคุมการปัสสาวะได้

1)ควบคุมตัวเอง
ฝึกกลั้นโดยทิ้งระยะเวลาห่างระหว่างการถ่ายปัสสาวะแต่ละครั้งประมาณ3ถึง4ชั่วโมงและไม่ควรเข้าห้องน้ำมากกว่า1ครั้งในตอนกลางคืน

2)ดื่มน้ำปริมาณเหมาะสม
หากไม่มีโรคประจำตัวอื่นปริมาณน้ำดื่ม6 - 9แก้ว (1.5-2ลิตร ) ต่อวัน จะเพียงพอโดยไม่ทำให้ปัสสาวะเข้มข้นเกินไปและท้องไม่ผูกเครื่องดื่มหลายชนิด เช่น ชา กาแฟ โคล่าแอลกอฮอล์ จะกระตุ้นให้กระเพาะปัสสาวะทำงานมากขึ้น

3)อย่าให้ท้องผูก
หลีกเลี่ยงการเบ่งอุจจาระซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานยืดตัวและอาจทำให้เกิดการหย่อนตัวในภายหลัง

4)ผลจากยาตัวอื่นๆ
ยาที่ใช้สำหรับโรคอื่นๆ หลายชนิดมีผลต่อการขับปัสสาวะควร
สอบถามแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับยาที่ท่านใช้

5)ควบคุมน้ำหนักตัว
การมีน้ำหนักตัวมากจะทำให้มีแรงดันในช่องท้องมากขึ้น

6)ฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานจะรองรับอวัยวะภายในช่องท้องทั้งหมดโดยเฉพาะในขณะยืนกล้ามเนื้อนี้ควรกระชับตัวขณะยกของ ไอ จาม หรือออกกำลังกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อนี้มีความสำคัญมากในการกลั้นปัสสาวะและสามารถฝึกให้แข็งแรงและทำงานได้ดีขึ้น

การฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรงสามารถควบคุมการไหลและหยุดของปัสสาวะได้

•บริหารกล้ามเนื้อด้วยการขมิบช่องคลอดและกล้ามเนื้อหูรูด
•ขมิบและเกร็งกล้ามเนื้อค้างไว้ นับ1ถึง8ช้าๆ แล้วค่อยๆ ผ่อนคลาย
•ทำ10ครั้งติดต่อกันและพัก
•ควรทำอย่างน้อย5ชุดต่อวันหรืออาจทำให้บ่อยที่สุด เช่น ทุกๆชั่วโมง
•อย่ากลั้นหายใจขณะเกร็งกล้ามเนื้อ
•สามารถบริหารกล้ามเนื้อในท่าต่างๆ ซึ่งจะมีความยากง่ายในการบริหารต่างกัน


ท่านสามารถรับคำแนะนำเกี่ยวกับการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานได้จากนักกายภาพบำบัดตามโรงพยาบาลชั้นนำทั่วไป

คลินิกศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ รพ.วิภาวดี โทร0-2941-2800 , 0-2561-1111กด1

ขอบคุณผู้ให้ข้อมูลค่ะ

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด