ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ภาวะเจ็บแน่นหน้าอกจากโรคหัวใจ ภาวะโรคของหลอดเลือดหัวใจตีบแคบลง

ภาวะเจ็บแน่นหน้าอกจากโรคหัวใจ ภาวะโรคของหลอดเลือดหัวใจตีบแคบลง HealthServ.net
ภาวะเจ็บแน่นหน้าอกจากโรคหัวใจ ภาวะโรคของหลอดเลือดหัวใจตีบแคบลง ThumbMobile HealthServ.net

ภาวะเจ็บแน่นหน้าอกจากโรคหัวใจ คือภาวะโรคของหลอดเลือดหัวใจที่มีหลอดเลือดตีบแคบลง มีผลทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ ทำให้เกิดอาการที่สำคัญ คือ เจ็บหน้าอก โดยจะมีลักษณะเฉพาะ คือ มีอาการเจ็บแน่นบริเวณกึ่งกลางหน้าอก อาจเจ็บร้าวไปที่คอ หลังหรือแขนข้างใดข้างหนึ่ง หรือ ทั้งสองข้าง ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย คือ เหงื่อแตก คลื่นไส้ อ่อนเพลีย ใจสั่น และเหงื่อออกมาก

เมื่อท่านมีอาการเจ็บหน้าอก อาจแสดงถึงภาวะดังนี้

1. กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
2. กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
3. โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร ถุงน้ำดี แผลในกระเพาะอาหาร ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถแยกอาการเจ็บหน้าอก ออกจากอาการจุกเสียดท้อง และไม่มีอาการแสดงอื่นๆเกี่ยวกับโรคหัวใจ
4. โรคปอดบางชนิด โรคถุงลมปอดแตก ปอดอักเสบ หลอดเลือดปอดอุดตัน
 

ข้อควรปฏิบัติหากท่านเจ็บแน่นหน้าอก

1. หยุดกิจกรรมที่ทำอยู่ นั่งพัก และร้องเรียกขอความช่วยเหลือ
2. หากอาการไม่ดีขึ้น รีบให้ญาตินำส่งโรงพยาบาล เพื่อตรวจรักษา
3. กรณีที่ท่านเป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว รีบอมยาใต้ลิ้น ครั้งละ 1 เม็ด จนกว่ายาจะละลายหมด โดยท่านสามารถอมยาใต้ลิ้นได้ 3 ครั้ง และห่างกันประมาณ 5 นาที หรืออมยาเมื่อยาเม็ดเก่าละลายหมด หากอาการยังไม่ดีขึ้นให้รีบมาโรงพยาบาล
 

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค

1. ภาวะไขมันในเลือดสูง
2. ความดันโลหิตสูง
3. โรคเบาหวาน
4. สูบบุหรี่

นอกจากนี้ยังมีสาเหตุส่งเสริมจากภาวะเครียด อายุ และ เพศ ร่วมด้วย
 

การรักษาเบื้องต้นที่ท่านจะได้รับเมื่อมาโรงพยาบาลด้วยอาการเจ็บแน่นหน้าอก

1. ยาบรรเทาอาการเจ็บหน้าแน่นหน้าอกชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
2. ออกซิเจน
3. ยาขยายหลอดเลือด ชนิดอมหรือพ่นใต้ลิ้น หรือชนิดหยอดเข้าหลอดเลือดดำเพื่อบรรเทาอาการเจ็บแน่นหน้าอก
4. ยาแอสไพริน
 

การป้องกัน

1. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
2. ควบคุมน้ำหนักตัวให้คงที่ ไม่อ้วนหรือผอมเกินไป
3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่หักโหมอย่างน้อยครั้งละ 30 นาที บ่อยเท่าที่สามารถทำได้
4. งดสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์เพียงเล็กน้อย
5. เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ เน้นรับประทานผักและผลไม้ให้มาก หากไม่ขัดกับโรคประจำตัวอื่นๆ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสเค็ม หวานจัด และมีไขมันสูง เช่น เครื่องในสัตว์ ไขมันจากสัตว์ กะทิ อาหารผัดทอดต่างๆ
 

จากเอกสารเผยแพร่ความรู้ รพ.พระมงกุฎฯ

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด