ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ประกาศราชกิจจาฯ 3 ฉบับ รับการเปิดประเทศ 1 พฤศจิกายน 2564 (30 ต.ค. 64)

ประกาศราชกิจจาฯ 3 ฉบับ รับการเปิดประเทศ 1 พฤศจิกายน 2564 (30 ต.ค. 64) HealthServ.net
ประกาศราชกิจจาฯ 3 ฉบับ รับการเปิดประเทศ 1 พฤศจิกายน 2564 (30 ต.ค. 64) ThumbMobile HealthServ.net

30 ตุลาคม 2564 ราชกิจจาฯ ออกประกาศ คำสั่งศบค. 2 ฉบับ และข้อกำหนด 1 ฉบับ เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับกับการเปิดประเทศของรัฐบาล 1 พฤศจิกายน 2564

ประกาศราชกิจจาฯ 3 ฉบับ รับการเปิดประเทศ 1 พฤศจิกายน 2564 (30 ต.ค. 64) HealthServ
30 ตุลาคม 2564 ราชกิจจาฯ ออกประกาศ คำสั่งศบค. 2 ฉบับ และข้อกำหนด 1 ฉบับ เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับกับการเปิดประเทศของรัฐบาล 1 พฤศจิกายน 2564  ทั้ง 3 ฉบับ ได้แก่
 
1) ราชกิจจา คำสั่งศบค. ที่ 19/2564 เรื่อง กำหนดพื้นที่สถานการณ์
 
2) ราชกิจจา คำสั่งศบค. ที่ 20/2564 เรื่อง แนวปฏิบัติฯ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ฉบับที่ 18
 
3) ราชกิจจา ข้อกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน (ฉบับที่ 37)
 
 
ทั้ง 3 ฉบับมีสาระสำคัญดังนี้

1) คำสั่งศบค. ที่ 19/2564 เรื่อง กำหนดพื้นที่สถานการณ์

กำหนดพื้นที่สถานการณ์ 4 ระดับ เช่นเดิม แบ่งเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด
และเข้มงวด (7 จังหวัด) พื้นที่ควบคุมสูงสุด (38 จังหวัด) พื้นที่ควบคุม (23 จังหวัด) และพื้นที่เฝ้าระวังสูง (5 จังหวัด)
 
 
************
  

2) คำสั่งศบค. ที่ 20/2564 เรื่อง แนวปฏิบัติฯ ฉบับที่ 18 
ในการดำเนินมาตรการป้องกันโรค ก่อนเดินทางเข้าประเทศ  

3 มาตรการ ดังนี้

2.1) ให้ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร 10 ประเภท (1) (2) (3) (6) (7) (8.1) (9.1)
(10) (11.1) และ (12)  
[* แต่ละประเภทตามวงเล็บด้านล่าง] 
 
ต้องมีหนังสือรับรองว่าเป็นบุคคลที่เดินทางเข้าในราชอาณาจักรได้  (Certificate of Entry - COE) หรือ หลักฐานการลงทะเบียนการเดินทางเข้า ตามที่ศูนย์ปฏิบัติการฯ* "กำหนด"
 
* ศูนย์ปฏิบัติการมาตรการเดินทางเข้าออกประเทศไทย และการดูแลคนไทยในต่างประเทศ
 
 
2.2 ให้ผู้เดินทาง ประเภท  (5) (6) (7) (8.1) (9.1) (10)  (11.1) และ (12) 
"มีกรมธรรม์ประกันภัยที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล หรือ หลักประกันอื่นใด ตลอดระยะเวลา ที่อยู่ในประเทศ วงเงินไม่น้อยกว่า 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ  หรือตามที่ทางการกำหนด  ยกเว้นผู้มีสัญชาติไทยและมีสิทธิในการรักษาพยาบาลตามที่กฏหมาย ไม่ต้องมีกรมธรรม์ประกันภัย"
 
2.3 ให้ผู้เดินทางเข้ามา มีการตรวจหาเชื้อโรคโควิด-19 จำนวน 2 ครั้ง 

ครั้งที่ 1 โดยวิธี RT-PCR ตั้งแต่วันที่เดินทางเข้ามา ห้ามเดินทางออกนอกโรงแรมที่พักจนกว่าจะมีผลตรวจยืนยันว่าไม่มีเชื้อโควิด-19 
ครั้งที่ 2 โดยวิธีใช้ชุดตรวจ แบบหาแอนติเจนด้วยตนเอง (Antigen Self-test Kit - ATK) ระหว่างวันที่ 6-7 ของเวลาที่พำนักอยู่  หรือ เมื่อมีอาการของโรคระบบทางเดินหายใจ หรือตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด เพื่อยืนยันว่าผู้เดินทางไม่ติดเชื้อ
 
มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป 
 

ผู้เดินทางแต่ละประเภท
[ตามราชกิจจา คำสั่งฉบับ 11  และ ฉบับ 12]
(1) ผู้มีสัญชาติไทย
(2) ผู้มีเหตุยกเว้นหรือเป็นกรณีที่นายกรัฐมนตรีหรือหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินกำหนด อนุญาต หรือเชิญให้เข้ามาในราชอาณาจักรได้ตามความจำเป็น โดยอาจกำหนดเงื่อนไขและเงื่อนเวลาก็ได้
(3) บุคคลในคณะทูต คณะกงสุล องค์การระหว่างประเทศ หรือผู้แทนรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐต่างประเทศซึ่งมาปฏิบัติงานในประเทศไทย หรือบุคคลในหน่วยงานระหว่างประเทศอื่นตามที่กระทรวงการต่างประเทศอนุญาตตามความจำเป็น ตลอดจนคู่สมรส บิดามารดา หรือบุตรของบุคคลดังกล่าว
(6) ผู้ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งเป็นคู่สมรส บิดามารดา หรือบุตรของผู้มีสัญชาติไทย และ
(7) คนต่างด้าวซึ่งมีใบสำคัญถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ตลอดจนคู่สมรสและบุตรของบุคคลดังกล่าว
(8.1) ผู้ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งมีใบอนุญาตทำงานหรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมาย ตลอดจนคู่สมรสและบุตรของบุคคลดังกล่าว
(9.1) นักเรียนหรือนักศึกษาของสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนประเภทนานาชาติหรือมหาวิทยาลัยในหลักสูตรนานาชาติ/หลักสูตรปกติ ทั้งนี้ ให้รวมถึงบิดามารดาหรือผู้ปกครองของบุคคลดังกล่าว
(10) ผู้ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งมีความจำเป็นต้องเข้ามารับการตรวจรักษาพยาบาลในประเทศไทย และผู้ติดตามของบุคคลดังกล่าว แต่ต้องไม่เป็นกรณีเ ข้ามาเพื่อการรักษาพยาบาลโรคโควิด - 19 ทั้งนี้ ให้จำกัดจำนวนผู้ติดตามได้ไม่เกิน 3 คน และให้ผู้ติดตามเข้ารับการกักกันในสถานพยาบาลเดียวกัน รวมถึงต้องมีระยะเวลาที่อยู่
ในราชอาณาจักรไม่น้อยกว่า 14 วัน 
(11.1) บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ การกีฬา การท่องเที่ยว การศึกษา หรือกิจกรรมอื่นๆ หรือตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
(12) ผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นจังหวัดนำร่องด้านการท่องเที่ยว เพื่อประโยชน์ด้าน เศรษฐกิจ การท่องเที่ยว หรือกิจกรรมอื่น ๆ ตามนโยบายของรัฐบาล (ฉบับ 11 ลงวันที่ 29 มิย 64)
 
************
ประกาศราชกิจจาฯ 3 ฉบับ รับการเปิดประเทศ 1 พฤศจิกายน 2564 (30 ต.ค. 64) HealthServ
  

3) ข้อกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน (ฉบับที่ 37)

 
1. ปรับปรุงเขตพื้นที่จังหวัดตามสถานการณ์ 
ส่วนจังหวัดนำร่องท่องเที่ยว 17 จังหวัด ตามรายชื่อใน ราชกิจจา ลงวันที่ 21 ตุลาคม 64 
 

พื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว รวมทั้งสิ้น 17 จังหวัด
1. กรุงเทพมหานคร
2. จังหวัดกระบี่
3. จังหวัดชลบุรี (เฉพาะอำเภอบางละมุง เมืองพัทยา อำเภอศรีราชา อำเภอเกาะสีชัง และอำเภอสัตหีบเฉพาะตำบลนาจอมเทียนและตำบลบางเสร่)
4. จังหวัดเชียงใหม่ (เฉพาะอำเภอเมืองเชียงใหม่ อำเภอดอยเต่า อำเภอแม่ริม และอำเภอแม่แตง)
5. จังหวัดตราด (เฉพาะอำเภอเกาะช้าง)
6. จังหวัดบุรีรัมย์ (เฉพาะอำเภอเมืองบุรีรัมย์)
7. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (เฉพาะตำบลหัวหินและตำบลหนองแก)
8. จังหวัดพังงา
9. จังหวัดเพชรบุรี (เฉพาะเทศบาลเมืองชะอำ)
10. จังหวัดภูเก็ต
11. จังหวัดระนอง (เฉพาะเกาะพยาม)
12. จังหวัดระยอง (เฉพาะเกาะเสม็ด)
13. จังหวัดเลย (เฉพาะอำเภอเชียงคาน)
14. จังหวัดสมุทรปราการ (เฉพาะบริเวณพื้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ)
15. จังหวัดสุราษฎร์ธานี (เฉพาะเกาะสมุย เกาะพงัน และเกาะเต่า)
16. จังหวัดหนองคาย (เฉพาะอำเภอเมืองหนองคาย อำเภอสังคม อำเภอศรีเชียงใหม่ และอำเภอท่าบ่อ)
17. จังหวัดอุดรธานี (เฉพาะอำเภอเมืองอุดรธานี อำเภอบ้านดุง อำเภอกุมภวาปี อำเภอนายูง อำเภอหนองหาน และอำเภอประจักษ์ศิลปาคม)
 
2. ห้ามจัดกิจกรรมเสี่ยงต่อการแพร่โรค
กล่าวคือห้ามจัดกิจกรรมรวมกลุ่มเกินจำนวนที่กำหนดในแต่ละพื้นที่สถานการณ์ (ตามสี)  ได้แก่ พื้นที่สีแดงเข้ม ห้ามเกิน 50 คน  สีแดง ไม่เกิน 200 คน สีส้ม ไม่เกิน 500 คน สีเหลือง ไม่เกิน 1000 คน และสีฟ้า (นำร่องท่องเที่ยว) จัดได้ไม่จำกัด
 
และห้ามมิให้ชุมนุม ทำกิจกรรม เกี่ยวกับความมั่นคง
 
3. กิจกรรมรวมกลุ่มได้ที่รับการยกเว้น 
หมายถึงจัดได้ตามข้อ 2. แต่ปฏิบัติมาตรการป้องกันโรคเคร่งครัด ได้แก่
3.1) การขนส่ง ขนย้ายประชาชน 
3.2) การรักษาพยาบาลและสาธารณสุข
3.3) การให้บริการ ช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
3.4) รวมกลุ่มในที่พักอาศัย ที่ทำงาน การประชุม ออกกำลัง สามารถทำได้ 
3.5) กิจกรรมของพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือองค์กรรัฐ 
 
พนักงานเจ้าหน้าที่ อาจะเข้าไปกำกับ ตรวจสอบ แนะนำ ต่อกิจกรรมรวมกลุ่มได้ หรือพบว่ามีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค หรืออาจสั่งยุติก็ได้ 
 
4. การห้ามออกนอกเคหะสถาน หรือ เคอฟิว
บังคับเฉพาะพื้นที่สีแดงเข้ม กำหนดเคอฟิว ระหว่างเวลา 5 ทุ่ม ถึง ตี 3  ช่วงวันที่ 1-15 พ.ย. 64 
 
5. การปฏิบัติงานนอกสถานที่
สำหรับพื้นที่สีแดงเข้ม รวมกรุงเทพและปริมณฑล   อยู่ในพิจารณาของ "หัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานรัฐ  หรือเจ้าของกิจการ ผู้ประกอบการเอกชน"  ในการดำเนินการเหล่านั้น   โดยต้องไม่กระทบภารกิจการให้บริการประชาชน  
 
ส่วนพื้นที่อื่น ก็เช่นเดียวกัน โดยพิจารณาตามเหมาะสม
 
 
6. ควบคุมให้เป็นไปตามมาตรการปลอดภัย COVID-Free setting 
ตามประเภทกิจการกิจกรรมระดับความเสี่ยง  โดยกำหนดให้คกก.โรคติดต่อ กทม.หรือจังหวัด กำกับดูแล ติดตาม
และมาตราฐานเฉพาะเพิ่มสำหรับ กิจการกิจกรรม ตามพื้นที่สถานการณ์ ดังนี้
 
6.1 พื้นที่สีแดงเข้ม 
ก. อนุญาต โรงเรียน สถาบันการศึกษาทุกประเภท ทำกิจกรรมที่ผู้ร่วมจำนวนมากได้ - มีหน่วยงานด้านการศึกษาดูแลรับผิดชอบ
ข. สถานรับเลี้ยงเด็ก ดูแลเด็ก เปิดดำเนินการได้  โดยหน่วยงานโรคติดต่อกทม./จังหวัด พิจารณา
ค. ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ  บริการแบบเช้าไป-เย็นกลับได้   กำหนดผู้รับบริการและบุคคลากรเจ้าหน้าที่ ต้องได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ และตรวจ ATK 
ง. ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ โบราณสถาน ศูนย์เรียนรู้  ฯลฯ เปิดได้  และ จำกัดจำนวนผู้ใช้บริการไม่เกิน 75% ของปกติ   และงดการให้บริการอาหาร/เครื่องดื่มระหว่างใช้บริการ   งดกิจกรรมแออัด 
 
จ. ร้านอาหาร เครื่องดื่ม เปิดบริการได้ไม่เกิน 22 น. ห้ามบริโภคสุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้าน จำกัดจำนวนผู้นั่งบริโภค ไม่เกิน 50%   หากเป็นร้านเปิดโล่ง จำกัดไม่เกิน 75% 
 
การแสดงดนตรี ทำได้ โดยผู้แสดงไม่เกิน 5 คน  เว้นระยะห่างและงดการสัมผัสผู้ใช้บริการ  นักดนตรีสวมหน้ากากตลอดเวลา อนุโลมนักร้องและนักดนตรีเครื่องเป่า ถอดได้ขณะแสดง
 
มาตรการใช้บังคับทั้งร้านอาหารในห้าง ศูนย์การค้าหรืออื่นๆที่คล้ายกัน ด้วย
 
 
ฉ. ร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เกต ตลาดสด ตลาดนัด เปิดขายได้ทุกประเภท ไม่เกิน 22 น. ร้านสะดวกซื้อปิดช่วงเวลา 4 ทุ่ม ถึง ตี 3
 
ช.ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรืออื่นๆ ที่คล้ายกัน  เปิดบริการได้ถึง 22 น.  ห้ามทำกิจกรรมส่งเสริมการขาย  ปิดบริการร้านเกมส์ เครื่องเล่น สวนสนุก สวนน้ำ
 
ซ.โรงแรม ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม นิทรรศการ และอื่นๆ ที่คล้ายกัน เปิดให้บริการ เพื่อ การประชุม สัมนา จัดงานพิธีตามประเพณีนิยมได้  โดยปฏิบัติตามมาตรการปลอดภัยองค์กรที่กำหนด เช่น จำกัดไม่เกิน 500 คน  ผู้ร่วมงานสวมหน้ากากตลอดเวลา มีช่วงเวลาพักเพื่อระบายอากาศ  จัดเตรียมอาหารแยกเป็นชุด เว้นระยะห่าง 
 
ฌ. คลินิกเวชกรรมเสริมความงาม สถานเสริมความงาม ร้านเสริมสวย แต่งผม ตัดผม ทำเล็บ สัก เปิดบริการ ผ่านการนัดหมายได้ ไม่เกิน 22 น.
 
ร้านสัก ให้บริการได้เฉพาะ ผู้รับบริการที่แสดงหลักฐานการได้รับวัคซีนครบแล้ว และต้องแสดงหลักฐานการตรวจโควิด ด้วย RT-PCR หรือตรวจ ATK ไม่เกิน 72 ชั่วโมง ก่อนใช้บริการ 
 
ญ.สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ สปา นวดแผนไทย  เปิดดำเนินการผ่านการนัดหมายได้ ไม่เกิน 22 น.  จำกัดเวลาบริการไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อราย  ห้ามการบริการ อบตัว อบสมุนไพร อบไอน้ำ 
 
ข้อกำหนดการให้บริการประเภท "ใช้น้ำเพื่อสุขภาพในกิจการสปา"  ผู้รับบริการต้องแสดงหลักฐานการได้รับวัคซีนครบแล้ว และต้องแสดงหลักฐานการตรวจโควิด ด้วย RT-PCR หรือตรวจ ATK ไม่เกิน 72 ชั่วโมง ก่อนใช้บริการ 
 
ฎ. สวนสาธารณะ ลานกีฬา สนามกีฬา สระน้ำเพื่อการกีฬาหรือกิจกรรมทางน้ำ เพื่อการสันทนาการ สระว่ายน้ำสาธารณะ สถานที่ออกกำลังกายประเภทกลางแจ้ง หรือที่โล่ง เปิดได้ไม่เกิน 22 น. 
 
ยิม ฟิตเนสในห้องปรับอากาศ เปิดได้ไม่เกิน 22 น. งดการอบตัว อบไอน้ำ 
 
ฏ. การใช้สถานที่-สนามแข่งกีฬา เป็นไปตามการพิจารณาของแต่ละจังหวัด  กรณีจัดในร่วมจัดได้โดยไม่มีผู้ชม  กรณีกลางแจ้งจัดได้มีผู้ชมไม่เกิน 25% ของความจุสนาม 
 
การใช้สถานที่-สนามเพื่อการฝึกซ้อมของนักกีฬาทีมชาติ ให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องดำเนินการ
 
ฐ.โรงภาพยนตร์ โรงมหรสพ โรงละคร เปิดได้ไม่เกิน 22 น.  หากเป็นห้องปรับอากาศ จำกัดผู้ใช้ไม่เกิน 50% หากเปิดโล่ง จำกัดไม่เกิน 75%  เว้นที่นั่งให้มีระยะห่าง ผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา งดอาหารเครื่องดื่มระหว่างใช้บริการ
 
การแสดงดนตรี การแสดงทางวัฒนธรรม การแสดงพื้นบ้าน หรืออื่นๆที่คล้ายกัน จำกัดผู้แสดงและเจ้าหน้าที่ไม่เกิน 50 คน และสวมหน้ากากตลอดเวลา อนุโลมให้ถอดขณะแสดงบนเวทีได้ งดการติดต่อสัมผัสระหว่างบุคคล 

6.2 พื้นที่สีแดง (ควบคุมสูงสุด)
ก. อนุญาต โรงเรียน สถาบันการศึกษาทุกประเภท ทำกิจกรรมที่ผู้ร่วมจำนวนมากได้ - มีหน่วยงานด้านการศึกษาดูแลรับผิดชอบ
 
ข. ร้านอาหาร เครื่องดื่ม เปิดบริการได้ไม่เกิน 23 น. ห้ามบริโภคสุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้าน
 
ค. ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรืออื่นๆ ที่คล้ายกัน  เปิดบริการได้ตามปกติ  
 
จำกัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย  
ปิดบริการร้านเกมส์ เครื่องเล่น สวนสนุก สวนน้ำ
 
 
ง. โรงแรม ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม นิทรรศการ และอื่นๆ ที่คล้ายกัน เปิดให้บริการ เพื่อ การประชุม สัมนา จัดงานพิธีตามประเพณีนิยมได้  โดยปฏิบัติตามมาตรการปลอดภัยองค์กรที่กำหนด เช่น จำกัดไม่เกิน 500 คน  ผู้ร่วมงานสวมหน้ากากตลอดเวลา มีช่วงเวลาพักเพื่อระบายอากาศ  จัดเตรียมอาหารแยกเป็นชุด เว้นระยะห่าง 
 
จ. คลินิกเวชกรรมเสริมความงาม สถานเสริมความงาม ร้านเสริมสวย แต่งผม ตัดผม ทำเล็บ สัก เปิดบริการได้ ไม่เกิน 23 น.
 
ฉ. สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ สปา นวดแผนไทย  เปิดดำเนินการได้ ไม่เกิน 23 น. 
 
ช. สวนสาธารณะ ลานกีฬา สนามกีฬา สระน้ำเพื่อการกีฬาหรือกิจกรรมทางน้ำ เพื่อการสันทนาการ สระว่ายน้ำสาธารณะ สถานที่ออกกำลังกายประเภทกลางแจ้ง หรือที่โล่ง เปิดได้ไม่เกิน 23 น. 
 
ยิม ฟิตเนสในห้องปรับอากาศ เปิดได้ไม่เกิน 23 น. 
 
ซ. การใช้สถานที่-สนามแข่งกีฬา เป็นไปตามการพิจารณาของแต่ละจังหวัด  
กรณีจัดในร่วมจัดได้มีผู้ชมไม่เกิน 25% ของความจุสนาม 
กรณีกลางแจ้งจัดได้มีผู้ชมไม่เกิน 50% ของความจุสนาม 
 
การใช้สถานที่-สนามเพื่อการฝึกซ้อมของนักกีฬาทีมชาติ ให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องดำเนินการ
 
ฌ. โรงภาพยนตร์ โรงมหรสพ โรงละคร เปิดได้ตามปกติ  
หากเป็นห้องปรับอากาศ จำกัดผู้ใช้ไม่เกิน 75% 
หากเป็นที่โล่ง พิจารณาตามเหมาะสม เว้นที่นั่งให้มีระยะห่าง 
ผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาระหว่างใช้บริการ
 
การแสดงดนตรี การแสดงทางวัฒนธรรม การแสดงพื้นบ้าน หรืออื่นๆที่คล้ายกัน ก็เป็นไปตามนี้ 
 
 
 
 
6.3 พื้นที่สีส้ม (ควบคุม)
ก. โรงเรียน สถาบันการศึกษาทุกประเภท ทำกิจกรรมได้ตามเหมาะและความพร้อม
 
ข. ร้านอาหาร เครื่องดื่ม เปิดบริการได้ตามปกติ ห้ามบริโภคสุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้าน
 
ค. ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรืออื่นๆ ที่คล้ายกัน  เปิดบริการได้ตามปกติ   
 
ปิดบริการ สวนสนุก สวนน้ำที่เป็นห้องปรับอากาศหรือพื้นที่ปิด 
 
ง. โรงแรม ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม นิทรรศการ และอื่นๆ ที่คล้ายกัน เปิดให้บริการ เพื่อ การประชุม สัมนา จัดงานพิธีตามประเพณีนิยมได้  โดยปฏิบัติตามมาตรการปลอดภัยองค์กรที่กำหนด เช่น จำกัดไม่เกิน 1,000 คน  ผู้ร่วมงานสวมหน้ากากตลอดเวลา เว้นระยะห่าง 
 
จ. คลินิกเวชกรรมเสริมความงาม สถานเสริมความงาม ร้านเสริมสวย แต่งผม ตัดผม ทำเล็บ สัก สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ สปา นวดแผนไทย เปิดดำเนินการได้ ไม่เกิน 24 น. 
 
ฉ. สวนสาธารณะ ลานกีฬา สนามกีฬา สระน้ำเพื่อการกีฬาหรือกิจกรรมทางน้ำ เพื่อการสันทนาการ สระว่ายน้ำสาธารณะ สถานที่ออกกำลังกายประเภทกลางแจ้ง หรือที่โล่ง เปิดได้ตามปกติ
 
กรณีจัดแข่งขันกีฬาในร่วม จัดให้มีผู้ชมได้มีผู้ชมไม่เกิน 50% ของความจุสนาม 
กรณีจัดแข่งขันกีฬากลางแจ้ง จัดให้มีผู้ชมได้มีผู้ชมไม่เกิน 75% ของความจุสนาม 
 
 
6.4 พื้นที่สีเหลือง (เฝ้าระวังสูง)
ก. โรงเรียน สถาบันการศึกษาทุกประเภท เปิดได้ โดยปฏิบัติตามเงื่อนไข 6.3 ก.
 
ข. สวนสาธารณะ ลานกีฬา สนามกีฬา สระน้ำเพื่อการกีฬาหรือกิจกรรมทางน้ำ เพื่อการสันทนาการ สระว่ายน้ำสาธารณะ สถานที่ออกกำลังกายประเภทกลางแจ้ง หรือที่โล่ง เปิดได้ตามปกติ
 
กรณีจัดแข่งขันกีฬาในร่วม จัดให้มีผู้ชมได้มีผู้ชมไม่เกิน 75% ของความจุสนาม 
กรณีจัดแข่งขันกีฬากลางแจ้ง จัดให้มีผู้ชมได้เต็มความจุสนาม 
 
 
 
6.5 พื้นที่สีเขียว (เฝ้าระวัง)
เปิดดำเนินการของสถานที่ กิจการ และกิจกรรม ได้ เมื่อมีความพร้อม ปฏิบัติตามมาตรการ ของทางการ
 
 
 
7. การปรับระดับพื้นที่สถานการณ์ย่อย ในพื้นที่แต่ละจังหวัด
ผู้ว่ากทม.หรือผู้ว่าราชการจังหวัด (ผู้บริหาร) พิจารณา เสนอต่อ ศปก.ศบค.เพื่อตรวจสอบ กลั่นกรอง และเสนอนายกฯ พิจารณา   ผู้บริหารมีอำนาจสั่งปิด จำกัด ห้าม สั่งงด ได้ 
 
8. มาตรการควบคุมแบบบูรณาการในพื้นที่นำร่องท่องเที่ยว
ดำเนินการไปตามข้อกำหนด ฉบับที่ 36 ลงวันที่ 21 ตุลาคม      
ยกเลิกข้อกำหนดจำนวนบุคคลในการรวมกลุ่ม (วรรค 1 ข้อ 4) ที่เคยระบุว่า "ห้ามจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มกันของบุคคล ที่มีจำนวนรวมกันมากกว่า ห้าร้อยคน ในเขตพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว"   ในฉบับใหม่นี้ "...สามารถทำได้ตามความเหมาะสม..." 
 
 
9. การเตรียมพร้อมของสถาบริการหรือสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค
สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ ทั่วประเทศ  จะยังคงจำเป็นให้ "ปิดดำเนินการ" ไว้ก่อน 
 
 
 
มีผลตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2564 
 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด