ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สธ.เผย ผู้สูงอายุตายด้วยโควิด เกินครึ่งไม่ได้ฉีดวัคซีน - เร่งฉีดก่อนสงกรานต์ หวั่นลูกหลานเอาเชื้อไปแพร่ จะเสี่ยงหนัก

สธ.เผย ผู้สูงอายุตายด้วยโควิด เกินครึ่งไม่ได้ฉีดวัคซีน - เร่งฉีดก่อนสงกรานต์ หวั่นลูกหลานเอาเชื้อไปแพร่ จะเสี่ยงหนัก HealthServ.net
สธ.เผย ผู้สูงอายุตายด้วยโควิด เกินครึ่งไม่ได้ฉีดวัคซีน - เร่งฉีดก่อนสงกรานต์ หวั่นลูกหลานเอาเชื้อไปแพร่ จะเสี่ยงหนัก ThumbMobile HealthServ.net

24 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค พร้อมด้วย นพ.ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ และ นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค แถลงข่าวสถานการณ์โควิด 19 การรับวัคซีนเข็มกระตุ้น และแนวทางการดูแลรักษา


 
         
 

กลุ่มวัย 20 ติดมากสุด กลุ่มสูงอายุ ตายมากสุด

 
          นพ.โสภณกล่าวถึงตัวเลขผู้ติดเชื้อต่างๆ ในการระบาดของโอมิครอนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 
  • การติดเชื้อพบในทุกวัย จำนวนมากสุดเป็นวัยทำงาน ไปสถานบันเทิงหรือสถานที่เสี่ยง และมาแพร่ต่อในชุมชนและครัวเรือน
  • กลุ่มที่ติดเชื้อสูงสุด คืออายุ 20-29 ปี
  • กลุ่มอายุน้อยกว่า 19 ปีลงมา มีแนวโน้มติดเชื้อสูงขึ้น
  • กลุ่มผู้สูงอายุมีอัตราการติดเชื้อต่ำที่สุด แต่มีอัตราการเสียชีวิตสูงสุด
  • กลุ่มอายุ 70 ปีขึ้นไป อัตราเสียชีวิต 2.86% และอัตราเสียชีวิตจะลดลงตามช่วงอายุลงไป
  • จำนวนผู้เสียชีวิต อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป จำนวน 666 ราย พบว่าไม่ได้ฉีดวัคซีน 387 ราย หรือ 58% 

          ด้วยจำนวนผู้เสียชีวิตที่สูงมากในกลุ่มผู้สูงอายุ  สธ.จึงมีแผนที่ "จะต้องเร่งฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ โดยเฉพาะที่ยังไม่ได้รับวัคซีน และให้วัคซีนเข็มกระตุ้นกับผู้ที่ฉีดครบแล้ว 2 เข็มนานกว่า 3-6 เดือน

 

วัคซีนช่วยป้องกันได้

          นพ.โสภณกล่าวว่า จากข้อมูลช่วงเวลาเดียวกันยืนยันว่าการรับวัคซีนโควิดจะช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้ดีมาก จากข้อมูลผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้รับวัคซีน 2.2 ล้านคน เสียชีวิต 387 ราย อัตราเสียชีวิตสูงถึง 178 รายต่อล้านคน รับวัคซีน 1 เข็ม มี 6 แสนราย เสียชีวิต 66 ราย อัตราเสียชีวิต 112 รายต่อล้านคน ลดลงเล็กน้อย แต่รับวัคซีน 2 เข็ม 6.2 ล้านราย เสียชีวิต 197 ราย อัตราเสียชีวิตลดลงเหลือ 32 รายต่อล้านคน หรือลดลง 6 เท่าจากผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน และกรณีรับเข็มกระตุ้นแล้วมี 3.7 ล้านราย เสียชีวิต 16 ราย อัตราเสียชีวิตลดลงเหลือ 4 รายต่อล้านคน หรือเสี่ยงลดลงถึง 41 เท่าเทียบกับผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้รับวัคซีน
 
          “เราฉีดวัคซีนผู้สูงอายุแล้ว 82.8% ถือว่าเปอร์เซ็นต์สูง แต่ควรให้ได้เพิ่มขึ้นอีก จึงต้องเร่งรัดดำเนินการค้นหาผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน ให้ความรู้ สร้างแรงจูงใจ และกระตุ้นให้รับวัคซีน รวมถึงรณรงค์ฉีดเข็มกระตุ้นสำหรับผู้ที่ฉีด 2 เข็มแล้วนานกว่า 3-6 เดือน หากทุกฝ่ายช่วยกันเต็มที่ในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้านี้ จะทำให้ผู้สูงอายุรับวัคซีนในสัดส่วนที่สูงขึ้น ยิ่งมากยิ่งดีเพราะจะช่วยป้องกันความเสี่ยงในช่วงสงกรานต์ที่ลูกหลานจะกลับไปเยี่ยม จะได้ปลอดภัยมากขึ้น” นพ.โสภณกล่าว
 
 

การดูแลผู้ติดเชื้อ


          นพ.ณัฐพงศ์ กล่าวว่า ขณะนี้ทั่วประเทศมีเตียงรักษาโควิด 1.8 แสนเตียง อัตราครองเตียง 50% ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอาการสีเขียว ดังนั้น ยังมีเตียงรองรับกลุ่มอาการหนัก อย่างไรก็ตาม ต้องทำความเข้าใจการเข้าสู่ระบบรักษาพยาบาลหลังติดเชื้อ โดยผู้ที่มีอาการหรือเป็นโรคอื่นแล้วไปตรวจที่โรงพยาบาลและพบผลบวก จะจัดเข้าระบบรักษาที่บ้าน (HI) หรือโรงพยาบาลตามระดับอาการ, กรณีตรวจ ATK ด้วยตนเองแล้วผลบวก ไม่ต้องตรวจ RT-PCR ซ้ำ ให้โทรสายด่วน 1330 เข้าระบบได้เลย หากไม่มีอาการจะจัดเข้า HI ก่อน หากทำไม่ได้จะจัดเข้าสู่ศูนย์พักคอย (CI) แต่หากมีอาการมากขึ้นโรงพยาบาลที่ดูแลจะส่งไปศูนย์จัดหาเตียงและเข้าโรงพยาบาลหลักต่อไป หรือโทรประสาน 1669 หากมีอาการฉุกเฉิน        
 
          ส่วนผู้ที่มีผล ATK เป็นบวก แต่ต้องการมาตรวจที่โรงพยาบาล หากมาคลินิกทางเดินหายใจ พยาบาลจะคัดกรองผล ATK ว่าเชื่อถือได้หรือไม่ หากเชื่อถือได้จะประเมินอาการเพื่อเข้าระบบรักษาต่อไป หากผลเชื่อถือไม่ค่อยได้ จะตรวจด้วย ATK แบบ Professional Use ไม่ได้ทำ RT-PCR เนื่องจากใช้เวลานานในการรอ อาจมีโอกาสรับเชื้อหรือแพร่เชื้อให้คนอื่น

          กรณีมีอาการแต่ไม่ได้ทำ ATK หากเดินทางมาคลินิกทางเดินหายใจ แพทย์จะประเมินความเสี่ยง อาจให้ตรวจ ATK หรือบางรายจำเป็นต้องทำ RT-PCR เช่น เป็นกลุ่มเสี่ยงมาก หรือต้องนอนรักษาในโรงพยาบาล


 
          “ช่องทางหลักติดต่อคือ 1330 ซึ่งช่วงนี้มีผู้ป่วยโทรเข้ามาก อาจทำให้สายติดขัดหรือไม่ว่าง แต่ สปสช. ได้เพิ่มกำลังคน มีภาคประชาสังคมและภาคเอกชนส่งคนมาช่วยรับสาย และใช้ระบบคอมพิวเตอร์คัดกรองผู้ป่วยอัตโนมัติโอนให้คลินิกโทรกลับ นอกจากนี้ สามารถโทรเบอร์ประจำจังหวัดและประจำเขตใน กทม. 50 เขตได้ รวมถึงให้ข้อมูลผ่านไลน์และเว็บไซต์ สปสช. ส่วนกรณียังไม่ได้รับยาหรืออุปกรณ์ ให้แจ้งแพทย์ที่ติดตามอาการทุกวัน” นพ.ณัฐพงศ์กล่าว



การดูแลผู้ป่วย

          ด้าน นพ.จักรรัฐ กล่าวว่า การดูสถานการณ์โควิด 19 ต่อจากนี้จะเน้นที่ผู้ป่วยอาการหนักและเสียชีวิตเป็นหลัก ซึ่งสถานการณ์ของไทยอยู่ในช่วงขาขึ้นจากสายพันธุ์โอมิครอน โดยในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา การติดเชื้อเฉลี่ย 14 วัน เพิ่มขึ้นประมาณ 70% จากการผ่อนคลายมาตรการมากขึ้น และประชาชนบางส่วนไม่ได้เคร่งครัดป้องกันตนเองเท่าเดิม

          สำหรับผู้ป่วยปอดอักเสบ ใส่ท่อช่วยหายใจ และเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 2 เท่า ตามการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น แต่เมื่อเทียบกับการติดเชื้อสายพันธุ์เดลตาช่วงที่มีผู้ติดเชื้อเท่าๆ กัน พบว่าการเสียชีวิตต่ำกว่าถึง 10 เท่า เนื่องจากสายพันธุ์โอมิครอน รุนแรงน้อยกว่า แต่หากมีการติดเชื้อจำนวนมาก อาจแพร่มาสู่คนที่มีโรคประจำตัวหรือไม่ได้ฉีดวัคซีน ทำให้มีอาการรุนแรงและมีโอกาสเสียชีวิตได้

          ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขจึงยังคงประกาศเตือนภัยระดับ 4 ขอให้ประชาชนดูแลป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อ งดเข้าสถานที่เสี่ยงทั้งหมด คือ สถานที่ปิดทึบ ไม่มีการระบายอากาศ มีคนหนาแน่น ถอดหน้ากากรับประทานร่วมกันเป็นเวลานาน และไม่มีการตรวจคัดกรอง ATK นอกจากนี้ ขอให้เลี่ยงการรวมกลุ่มคนจำนวนมาก และชะลอการเดินทางในทุกจังหวัด ส่วนกลุ่มเสี่ยง 608 ต้องรับวัคซีน
 
           “ถ้าเรายังผ่อนคลายมาก ตัวเลขอาจเพิ่มไปเรื่อยๆ ทำให้มีโอกาสเจอผู้ป่วยปอดอักเสบเพิ่มขึ้น จึงต้องช่วยกันลดการติดเชื้อ ไม่ให้มีผู้ป่วยปอดอักเสบและใส่ท่อช่วยหายใจเพิ่มมากขึ้นจนเกินศักยภาพเตียงที่เรารองรับได้”นพ.จักรรัฐกล่าว
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด