ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สธ.โอน รพ.สต.ให้อบจ.แล้ว 441 แห่ง ใน 6 จังหวัด

สธ.โอน รพ.สต.ให้อบจ.แล้ว 441 แห่ง ใน 6 จังหวัด HealthServ.net
สธ.โอน รพ.สต.ให้อบจ.แล้ว 441 แห่ง ใน 6 จังหวัด ThumbMobile HealthServ.net

สรุปจำนวนรพ.สต.ที่ถ่ายโอนให้อบจ.แล้ว 441 แห่ง 6 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต 12 แห่ง สกลนคร 142 แห่ง ระยอง 40 แห่ง ปราจีนบุรี 94 แห่ง ศรีสะเกษ 117 แห่ง นครปฐม 36 แห่ง

สธ.โอน รพ.สต.ให้อบจ.แล้ว 441 แห่ง ใน 6 จังหวัด HealthServ


8 ตุลาคม 2565 นพ.พงศ์เกษม ไข่มุกด์ รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงความคืบหน้าการถ่ายโอนสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้มีการถ่ายโอน สอน.และ รพ.สต.ให้แก่ อบจ. 49 แห่ง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา

        กระทรวงสาธารณสุขมีความพร้อม และปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้มอบอำนาจให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดในการลงนามถ่ายโอนภารกิจร่วมกับนายก อบจ.ได้เมื่อ อบจ.มีความพร้อม โดยเฉพาะการจ้างพนักงานกระทรวงสาธารณสุขและลูกจ้างเงินบำรุงต่อเนื่องจากกระทรวงสาธารณสุข


        ล่าสุดมีการลงนามถ่ายโอนภารกิจ รวมถึงลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพของ อบจ. ด้านการสาธารณสุขมูลฐานและการบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ 6 จังหวัด รวม 441 แห่ง ได้แก่ 
  • ภูเก็ต 12 แห่ง
  • สกลนคร 142 แห่ง
  • ระยอง 40 แห่ง
  • ปราจีนบุรี 94 แห่ง
  • ศรีสะเกษ 117 แห่ง
  • นครปฐม 36 แห่ง



 
          นพ.พงศ์เกษมกล่าวต่อว่า สำหรับการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารภารกิจถ่ายโอนด้านสาธารณสุขให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครั้งที่ 9/2565 เมื่อวันที่ 5 ตุลาคมที่ผ่านมา มีการพิจารณา เพิ่มเติม ใน 2 กรณี

1. กรณีอบจ.ภูเก็ต ขอรับถ่ายโอน รพ.สต.เพิ่มเติมอีก 9 แห่ง จากเดิมที่รับการถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต. 12 แห่ง โดยที่ประชุมมีมติให้ อบจ.ภูเก็ต แจ้งความประสงค์ขอรับการถ่ายโอนเพิ่มในปีงบประมาณ 2567

2. กรณี อบจ.พะเยา แจ้งความประสงค์ขอยกเลิกการถ่ายโอน รพ.สต.เวียง อ.เชียงคำ จ.พะเยา ได้เห็นชอบให้ยกเลิกการถ่ายโอน


           จากการยกเลิก ในกรณี อบจ.พะเยา  ทำให้การถ่ายโอนภารกิจ สอน.และ รพ.สต. ในปีงบประมาณ 2566 จากเดิมมีจำนวน 3,264 แห่ง คงเหลือ 3,263 แห่ง



           ด้านจำนวนบุคลากรในการถ่ายโอนรอบนี้  สรุปได้ดังนี้
 
  • เป็นข้าราชการ 11,722 ราย
  • ลูกจ้างประจำ 20 ราย
  • พนักงานราชการ 5 ราย
  • พนักงานกระทรวงสาธารณสุข 4,919 ราย
  • ลูกจ้างชั่วคราว 4,891 ราย
  • ช่วยราชการ 374 ราย
  • ยกเลิกการถ่ายโอน 804 ราย


           นอกจากนี้ ยังมอบหมายสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขจัดทำคำสั่งช่วยราชการให้กับบุคลากรในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่แจ้งความประสงค์ขอช่วยราชการอยู่ปฏิบัติการที่สอน.หรือ รพ.สต.ที่ถ่ายโอนไปยัง อบจ.
 

5 ประเด็นสำคัญในการถ่ายโอนภารกิจ

 
     นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ หัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวง (นพ.ทรงคุณวุฒิ 11) และประธานคณะกรรมการ MIU กระทรวงสาธารณสุข ด้านถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) โดยโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) เปิดเผยว่า จากการศึกษาฯ มีข้อเสนอเกี่ยวกับการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) และ รพ.สต. ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ใน 5 ประเด็นสำคัญ คือ
 
     1.การให้บริการ ต้องให้บริการประชาชนได้อย่างมีคุณภาพไม่น้อยกว่าเดิม มีบุคลากรตามเดิม ในช่วงแรกโรงพยาบาลแม่ข่ายเดิมยังสนับสนุนแพทย์ เภสัชกร บุคลากรอื่นที่ให้บริการแก่ รพ.สต. หากช่วงแรก อบจ.ยังไม่มีวิชาชีพต่างๆ ที่จำเป็น โดยที่ อบจ. ซึ่งจะต้องมีคุณสมบัติตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขที่ออกตามความในกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม ต้องเน้นประเด็นนี้เพื่อให้ รพ.สต. ยังให้บริการได้ตามเดิม ในระยะยาวต่อเนื่อง
 
      2.เรื่องโครงสร้าง ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจัดเตรียมและส่งมอบข้อมูลภารกิจ งบประมาณ อัตรากำลัง และพัสดุครุภัณฑ์ ของ สอน./รพ.สต. เพื่อให้ อบจ. จัดทำแผนพัฒนาสุขภาพระดับพื้นที่ แผนพัฒนาท้องถิ่นและข้อบัญญัติงบประมาณ ตามกรอบระยะเวลาที่กระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนด โดยพัสดุครุภัณฑ์ที่เป็นของ รพ.สต.อยู่เดิม ควรถ่ายโอนไปทั้งหมด
 
     3.การสนับสนุน ควรทำความเข้าใจกับหน่วยบริการประจำแม่ข่ายของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (CUP) ทั้งการจัดสรรงบประมาณ การสนับสนุนยา เวชภัณฑ์ บุคลากร ให้แก่ รพ.สต.ที่ถ่ายโอนอย่างเสมอภาค เท่าเทียมกับหน่วยบริการปฐมภูมิในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และควรแก้ไขหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินบำรุง เพื่อการปฏิบัติราชการของหน่วยบริการอื่น พ.ศ.2544 ให้จ่ายเงินบำรุงให้ รพ.สต.ที่ถ่ายโอนไปแล้วได้ แต่ขึ้นกับการตัดสินใจเชิงนโยบาย รวมถึงควรมีข้อตกลงและระเบียบที่ชัดเจนในการสนับสนุนยา เวชภัณฑ์ และบุคลากรข้ามกระทรวง
 
      4.เรื่องบุคลากร ควรกำกับท้องถิ่นให้บริหารจัดการให้มีบุคลากรขั้นต่ำตามที่กำหนด โดย สอน.หรือ รพ.สต.ขนาดเล็ก รับผิดชอบประชากรน้อยกว่า 3,000 คน มีบุคลากร 7 อัตรา, ประชากร 3,000 - 8,000 คน มีบุคลากร 12 อัตรา และประชากรมากกว่า 8,000 คน มีบุคลากร 14 อัตรา
 
       5.งบประมาณ เสนอว่ารายได้จากหน่วยบริการประจำแม่ข่ายที่ได้รับเงินสนับสนุนจาก สปสช. ที่จัดสรรให้ตามหลักเกณฑ์ที่แต่ละเครือข่ายได้ทำข้อตกลงกำหนดไว้ ต้องไม่แตกต่างจากแนวทางการจัดสรรงบประมาณก่อนการถ่ายโอน มีความเสมอภาคและเท่าเทียม และให้สำนักงบประมาณ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดสรรงบประมาณให้แก่ รพ.สต.ที่ถ่ายโอน ขนาดเล็ก 1 ล้านบาท/ปี ขนาดกลาง 1.5 ล้านบาท/ปี และขนาดใหญ่ 5 ล้านบาท/ปี โดยต้องวางแผนให้ รพ.สต. และ อปท.ทราบ เพื่อจะได้เตรียมงบประมาณในอนาคตและบริหารจัดการได้
 
      สิ่งสำคัญคือ มาตรฐานและคุณภาพของระบบสาธารณสุขและการดูแลสุขภาพประชาชนต้องไม่แตกต่างจากเดิมก่อนการถ่ายโอนฯ รวมถึงการทำงานร่วมกันที่สอดประสานปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางสาธารณสุขระดับชาติเพื่อประโยชน์สุงสุดของประชาชน 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด