ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สธ.จัดทำคำขอ งบประมาณรายจ่ายปี 2567 วงเงิน 4.37 แสนล้าน

สธ.จัดทำคำขอ งบประมาณรายจ่ายปี 2567 วงเงิน 4.37 แสนล้าน HealthServ.net
สธ.จัดทำคำขอ งบประมาณรายจ่ายปี 2567 วงเงิน 4.37 แสนล้าน ThumbMobile HealthServ.net

สธ.ประชุมจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 วงเงิน 437,131.4 ล้านบาท ภายใต้หลักการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับประชาชน ปรับระบบบริการสุขภาพโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง เข้าถึงบริการสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ลดความแออัด เน้นพัฒนางาน 6 ประเด็นหลัก

26 มกราคม 2566 ที่กระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุมนำเสนอคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ภาพรวมกระทรวงสาธารณสุข โดยมี นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข อธิบดีทุกกรม และผู้บริหารหน่วยงาน/องค์กรในกำกับของกระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วมประชุม


 
สธ.จัดทำคำขอ งบประมาณรายจ่ายปี 2567 วงเงิน 4.37 แสนล้าน HealthServ
 
          นายอนุทินกล่าวว่า การจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 ภาพรวมกระทรวงสาธารณสุข ได้ย้ำว่า ขอให้ยึดถือประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง ใช้เม็ดเงินภาษีให้มีประสิทธิภาพประสิทธิผลเกิดความคุ้มค่า ได้ประโยชน์สูงสุด และมุ่งเน้นตามยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายของรัฐบาล รวมถึงแนวทางเศรษฐกิจสุขภาพ Health for Wealth ที่จะเป็นแรงในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอีกทางหนึ่ง ซึ่งมีเป้าหมายหลัก คือ ปรับระบบบริการสุขภาพโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ลดความเหลื่อมล้ำ เข้าถึงบริการอย่างสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และลดความแออัด โดยจะขับเคลื่อนงานผ่านประเด็นหลัก 6 เรื่อง คือ เศรษฐกิจสุขภาพและนวัตกรรมการแพทย์, การปรับตัวสู่สังคมสูงอายุคุณภาพ, การพัฒนาบุคลากรให้เพียงพอ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและการจ้างงานรูปแบบใหม่, การเรียนรู้จากโควิด 19 เพื่อพลิกโฉมสาธารณสุข ยืดหยุ่นต่อวิกฤตและภัยอุบัติใหม่, งานบริการระบบปฐมภูมิ ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และ Digital Health เชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพ ระบบการแพทย์ทางไกล

 
 
         คำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 มีวงเงินคำขอรวมทั้งสิ้น 437,131.4 ล้านบาท แบ่งเป็น
  • คำขอของหน่วยงานในสังกัด 10 กรม 219,652 ล้านบาท
  • กองทุนในกำกับ 3 กองทุน 214,362 ล้านบาท
  • องค์การมหาชน 6 หน่วยงาน 3,117 ล้านบาท


          จำแนกเป็นหมวดงบประมาณ ดังนี้
  • งบด้านบุคลากร 124,480 ล้านบาท
  • งบดำเนินการ 30,824 ล้านบาท
  • งบลงทุน 30,160 ล้านบาท
  • งบอุดหนุน 32,708 ล้านบาท
  • งบรายจ่ายอื่นๆ 1,480 ล้านบาท


          โครงการสำคัญที่จะดำเนินการ เช่น
  • ผู้สูงอายุ วงเงิน 155.58 ล้านบาท
  • ยาเสพติด วงเงิน 3,341.80 ล้านบาท
  • สุขภาพปฐมภูมิ/อสม. วงเงิน 27,606.89 ล้านบาท
  • Digital Health วงเงิน 1,248.80 ล้านบาท
  • Medical Hub วงเงิน  162.99  ล้านบาท


 
 
          ในส่วนของงบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2567 ได้เสนอขอเพิ่มขึ้นจากอัตราเหมาจ่ายรายหัวปี 2566 จำนวน 3,385.98 บาท ต่อหัวประชากร เพิ่มขึ้นในปี 2567 เป็นจำนวน 3,440.51 บาทต่อหัวประชากร เพื่อให้หน่วยบริการได้นำมาดูแลสุขภาพของประชาชนซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในสิทธิหลักประกันสุขภาพได้ดียิ่งขึ้น
สธ.จัดทำคำขอ งบประมาณรายจ่ายปี 2567 วงเงิน 4.37 แสนล้าน HealthServ
 
          ด้าน นพ.โอภาส กล่าวว่า คำของบประมาณในส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข รวม 154,572.2 ล้านบาท ซึ่งนอกเหนือจากงบรายจ่ายด้านบุคลากร จะเป็นงบประมาณที่ใช้เพื่อการดูแลประชาชน โดยเฉพาะงบลงทุน ที่นำมาใช้พัฒนาสถานพยาบาลและระบบบริการสุขภาพต่างๆ เช่น ก่อสร้างอาคารบริการ ระบบบำบัดน้ำเสีย จัดซื้อเครื่องมือแพทย์ ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพมาตรฐาน และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงงบดำเนินการที่ใช้ในการรองรับโรคและภัยสุขภาพต่างๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
 
 
          นอกจากนี้ ยังมีงบลงทุนที่นำมาใช้ในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ทั้งการจัดซื้อครุภัณฑ์ ด้านการศึกษา การแพทย์ ยานพาหนะ และสิ่งก่อสร้าง เพื่อพัฒนาระบบการผลิตแพทย์ออกไปดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่ห่างไกล เพิ่มการเข้าถึงบริการของประชาชนในพื้นที่ และงบลงทุนด้านครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ เพื่อรองรับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาขับเคลื่อนบริการทางการแพทย์ อาทิ ระบบเทเลเมดิซีน ระบบข้อมูลสุขภาพ ที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลเป็นภาพรวม ประชาชนสามารถนำข้อมูลสุขภาพตนเองไปใช้หรือไปรับบริการได้สะดวก 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด