ตามที่มีข้อมูลแนะนำ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง แอป Air4thai ของกรมควบคุมมลพิษ ตั้งค่าเฉลี่ยตรวจวัดฝุ่น PM 2.5 ต่ำกว่ามาตรฐาน ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
จากที่มีผู้แชร์ข้อความว่า ในขณะที่สภาพอากาศแย่ แอปพลิเคชัน Air4thai ของกรมควบคุมมลพิษ กลับแสดงสีเขียว แตกต่างจากแอปของเอกชนที่แสดงสีแดง จึงมีการตั้งข้อสงสัยว่าแอป Air4thai ของภาครัฐมีการตั้งค่าเฉลี่ยตรวจวัดฝุ่น PM 2.5 ที่ต่ำกว่ามาตรฐาน และเมื่อกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ตรวจสอบแล้ว ชี้แจงว่า เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง วิธีการรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศประจำวันของประเทศไทย ในแอปพลิเคชัน Air4Thai ที่สามารถเลือกดูข้อมูลผลการตรวจวัดได้ทั้งค่ารายชั่วโมง และค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงนั้น ใช้เครื่องมือในการตรวจวัด ที่เป็นไปตามค่ามาตรฐาน ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติกำหนด
โดยวิธีการตรวจวัดและวิธีเก็บตัวอย่างต้องเป็นไปตาม Federal Equivalent Method (FEM) ที่องค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (United States Environmental Protection Agency: US EPA) กำหนด และสอดคล้องกับการรายงานสถานการณ์มลพิษทางอากาศแต่ละชนิดตามมาตรฐานสากลที่ใช้กันทั่วโลก
ทั้งนี้ การรายงานสถานการณ์มลพิษทางอากาศโดยใช้ค่าเฉลี่ยต่อเนื่องนั้น เป็นการรายงานเพื่อประเมินระดับความเป็นพิษของมลพิษทางอากาศที่มนุษย์ได้รับสัมผัสและได้รับสะสม โดยมลพิษแต่ละชนิดจะมีผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์แตกต่างกันหากได้รับมลสารต่าง ๆ เข้าไปในร่างกายตามระยะเวลาที่ได้รับการสัมผัสและสะสม ซึ่งเป็นหลักในการรายงานที่ใช้กันในระดับสากล เช่น การใช้ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงต่อเนื่อง ในการรายงานค่าปริมาณ PM2.5 และ PM 10 ส่วนการรายงานค่าปริมาณมลพิษทางอากาศตัวอื่นๆ โดยใช้ค่าเฉลี่ยตามช่วงเวลาที่แต่ละพารามิเตอร์กำหนดเอาไว้ เช่น ปริมาณคาร์บอนมอนอกไซด์(CO) จะใช้ค่าเฉลี่ย 8 ชั่วโมงต่อเนื่องในการรายงานค่า เป็นต้น ส่วนแถบสีที่ใช้แสดงระดับปริมาณสารมลพิษทางอากาศ และค่าดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) นั้น จะมีความแตกต่างกันตามที่แต่ละประเทศได้กำหนดเอาไว้ โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนเข้าใจและแยกแยะระดับมลพิษทางอากาศจากแถบสีที่ชัดเจน เช่น แถบสีที่ประเทศแคนาดา กำหนดใช้ในประเทศจะมีทั้งหมด 11 เฉดสี ฮ่องกงใช้ 5 เฉดสี สาธารณรัฐประชาชนจีน สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้และอินดียใช้ 6เฉดสี สหราชอาณาจักรใช้4 เฉดสี10ระดับ และประเทศไทย 5 เฉดสี 5 ระดับ เป็นต้น
โปรดเข้าใจว่า HealthServ.net ไม่ได้เป็นสถานพยาบาล ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการวิชาชีพด้านแพทย์ใดๆ จึงไม่สามารถให้คำปรึกษาในด้านการแพทย์ การรักษาใดๆ ได้ในทุกๆ กรณี - HealthServ.net เป็นสื่อที่เสนอเนื้อหาด้านสุขภาพ ได้แก่ บทความ ข่าวสาร รวมถึง ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับแพคเกจ/บริการจาก รพ./สถานพยาบาล/ผู้ให้บริการต่างๆ ในประเทศไทย เท่านั้น รายละเอียดเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับบริการ-ราคา-เงื่อนไข-วิธีการบริการ โปรดสอบถามไปยังรพ./สถานพยาบาล/ผู้ให้บริการนั้นๆ โดยตรง (ในส่วนของ รพ./สถานพยาบาล/ผู้ให้บริการ นั้น HealthServ ช่วยได้ในแง่ของข้อมูลติดต่อ สถานที่ตั้ง หรืออื่นๆ ที่เป็นข้อมูลทั่วไป)
HealthServ.net รวบรวมแพคเกจสุขภาพจาก รพ.เอกชนทั่วประเทศไว้ที่นี่ เพื่อเข้าถึงข้อมูลแพคเกจและโปรโมชั่นบริการสุขภาพ จากโรงพยาบาล ในประเทศไทยได้อย่างรวดเร็ว เพื่อการตัดสินใจใช้บริการสุขภาพได้อย่างคุ้มค่าสูงสุด สำหรับตัวคุณและคนที่คุณห่วงใย
ข้อมูลที่เผยแพร่บนหน้านี้โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับ "วันที่ เวลา รายละเอียด ราคา เงื่อนไข ตลอดจน ภาพถ่าย ภาพประกอบ ภาพวาด ภาพเคลื่อนไหว ไฟล์และสื่อรูปแบบต่างๆ ฯลฯ" เป็นข้อมูลที่บันทึกไว้ ณ เวลาหนึ่ง ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมได้ ณ เวลาที่ท่านได้เข้าชมข้อมูลนี้
ดังนั้น โปรดตรวจสอบความถูกต้องกับบริษัท/หน่วยงานที่เป็นเจ้าของข้อมูลการบริการหรือให้บริการนี้ อีกครั้ง ก่อนตัดสินใจ - เว็บไซต์ HealthServ.net ไม่รับประกันความถูกต้องของข้อมูลที่เปลี่ยนไป และไม่รับผิดชอบต่อการนำข้อมูลไปใช้หรืออ้างอิงในทุกกรณี