ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรคมะเร็งปากมดลูก ปัจจัยเสี่ยง-การป้องกัน-แนวทางการรักษา 4 ระยะ

โรคมะเร็งปากมดลูก ปัจจัยเสี่ยง-การป้องกัน-แนวทางการรักษา 4 ระยะ HealthServ.net
โรคมะเร็งปากมดลูก ปัจจัยเสี่ยง-การป้องกัน-แนวทางการรักษา 4 ระยะ ThumbMobile HealthServ.net

มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในหญิงไทย และพบมากในช่วงอายุ 35-50 ปี มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่ป้องกันได้

โรคมะเร็งปากมดลูก ปัจจัยเสี่ยง-การป้องกัน-แนวทางการรักษา 4 ระยะ HealthServ

ประเด็นต้องรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก
  • มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเริ่งที่พบมากที่สุดของมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรี ไทย
  • พบมากในช่วงอายุ 35-60 ปี
  • มะเร็งปากมดลูกสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะก่อนมะเร็ง ด้วยการทำแปปสเมียร์ (โดยการเก็บเอาเซลล์เยื่อบุบริเวณปากมดลูกไปตรวจหาเซลล์มะเร็งโดยการตรวจภายใน)
  • การรักษาจะได้ผลดีมากหากเป็นมะเร็ง ที่ตรวจพบในระยะแรก


มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่ป้องกันได้  แพทย์สามารถตรวจหา “ระยะก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูก” ได้ตั้งแต่ยังไม่มีอาการ ซึ่งวิธีการที่ใช้ตรวจหาระยะก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูกเรียกว่า การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear) โดยการเก็บเอาเซลเยื่อบุบริเวณปากมดลูกไปตรวจหาเซลมะเร็ง


ข้อมูลจากทั่วโลกพบว่ามะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับ 4 ในบรรดามะเร็งทั้งหมด และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตจากมะเร็งในสตรีที่พบบ่อยเป็นอันดับ 4 ในปี พ.ศ. 2555 มีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ 528,000 คน และมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกประมาณ 266,000 คน คิดเป็น 8% ของผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งทุกชนิดรวมกัน ผู้ป่วย 70% และผู้เสียชีวิต 90% อยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา โรคนี้ยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตจากมะเร็งอันดับต้นๆ ในประเทศที่มีรายได้ต่ำ ในขณะที่ในประเทศพัฒนาแล้วซึ่งมีโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างทั่วถึงจะมีจำนวนผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกลดลงมาก - Wikipedia
 
 

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูก
 
1. การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย (ต่ำกว่า 20 ปี) และมีคู่นอนหลายคน
2. มีอาการอักเสบของปากมดลูกเนื่องจากการติดเชื้อ Human Papilloma Virus เริม  หูดหงอนไก่
3. สตรีที่สูบบุหรี่  มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูกมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่
4. สตรีที่มีภูมิต้านทานต่ำ
5. ขาดสารอาหาร เช่น โฟเลท  วิตามินเอ  วิตามินซี
6. ผู้ชายที่เป็นมะเร็งขององคชาติหรือเคยมีภรรยาเป็นมะเร็งปากมดลูก 
 
 
 
 
 
 
โรคมะเร็งปากมดลูก ปัจจัยเสี่ยง-การป้องกัน-แนวทางการรักษา 4 ระยะ HealthServ
  

สัญญาณบ่งบอกอาการมะเร็งปากมดลูก

ระยะเริ่มต้นจะไม่ปรากฎอาการใดๆ แต่สามารถตรวจพบมะเร็งปากมดลูกได้จากการตรวจ แปปสเมียร์ (Pap Smear)

ระยะลุกลามจะเริ่มแสดงอาการ
  • มีอาการตกขาวมีเลือดปน มีกลิ่น มีเลือดออกทางช่องคลอดหรือตกขาว ลักษณะคล้ายน้ำคาวปลา
  • มีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธุ์
  • มีเลือดออกหลังจากหมดประจำเดือนแล้ว เลือดออกเป็นระยะๆ
  • ประจำเดือนมานานผิดปกติ
  • มีอาการเจ็บขณะมีเพสสัมพันธ์
  • อาจถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด  หรือมีอาการผิดปกติของระบบขับถ่ายอุจจาระ
  • ปัสสาวะบ่อย หรืออาจปวดบวม ปัสสาวะไม่ออก
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • ปวดท้องน้อย 
  • เบื่ออาหาร ซูบผอม น้ำหนักลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ
  • ถ้าเป็นมาก มะเร็งอาจกระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ ปอด ตับ และกระดูก  อาจจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ขาบวม ปวดหลัง ปัสสาวะมีเลือดปน เป็นต้น
 

การวินิจฉัยโรค

1. การตรวจภายใน หากหากพบก้อนผิดปกติที่ปากมดลูกแพทย์จะตรวจยืนยัน โดยการตัดชิ้นเนื้อบางส่วนไป ส่งตรวจทางพยาธิวิทยา

2. การตรวจทางเซลล์วิทยา หรือ "แปปสเมียร์" เป็นการตรวจภายในร่วมกับการเก็บเอาเซลล์บริเวณปาก มดลูกไปตรวจทางเซลวิทยา

3. การตรวจด้วยกล้องขยาย หรือ คอลโปสโคป ร่วมกับการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา

4. การตรวจอื่นๆ ที่อาจช่วยในการวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูก ได้แก่ การขูดภายในปากมดลูก การตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า การตัดปากมดลูกออกเป็นรูปกรวยด้วยมีด
 
การรักษามะเร็งปากมดลูก

การรักษาขึ้นกับระยะของโรค
  • ระยะแรก สามารถรักษาโดยการผ่าตัดเป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลดี 
  • ระยะที่ 2-3 คือระยะที่มะเร็งลุกลามมากแล้ว จะใช้รังสีรักษาโดยการฉายแสงร่วมกับการใส่แร่ หรือการผสมผสานระหว่างการผ่าตัดรังสีรักษา
  • ระยะที่ 4 ให้เคมีบำบัด หรือรักษาตามอาการ
 
 
การป้องกันมะเร็งปากมดลูก
 
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์หลายคู่นอน
  • หลีกเลี่ยงการติดเชื้อโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์  ถ้าไม่แน่ใจควรใช้ถุงยางอนามัย
  • เมื่อมีอาการตกขาวผิดปกติ หรือเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ควรรับพบแพทย์
  • สตรีที่มีเพศสัมพันธ์ทุกคน หรืออายุมากกว่า 30 ปี ควรได้รับการตรวจ Pap Smear เพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูกอย่างน้อยปีละครั้ง
  • การฉีดวัคซีน HPV สามารถป้องกัน  การเป็นมะเร็งปากมดลูก
  • ตรวจร่างกาย โดย การตรวจหาเชื้อไวรัสเอซพีวี HPV DNA Testing การตรวจทางเซลล์วิทยาของปากมคลูก การตรวจการเปลี่ยนแปลงของปากมดลูก

วัคซีน HPV

วัคซีน HPV สามารถป้องกันเชื้อไวรัสได้ 2-7 สายพันธุ์ แล้วแต่ชนิด โดยสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้เกือบ 90% ทั้งนี้แม้รับวัคซีนนี้แล้วก็ยังมีโอกาสเกิดมะเร็งได้อยู่ จึงยังคงแนะนำให้เข้ารับการตรวจคัดกรองตามรอบเช่นเดิม การป้องกันวิธีอื่นๆ อาจทำได้โดยการหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายคน และการใช้ถุงยางอนามัย การคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยการทดสอบแปปหรือการตรวจด้วยกรดอะซิติกสามารถตรวจพบรอยโรคก่อนเป็นมะเร็งได้ เมื่อได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะนี้ก็จะสามารถป้องกันไม่ให้เป็นมะเร็งได้ การรักษาอาจทำได้โดยการผ่าตัด การใช้ยาเคมีบำบัด การใช้รังสี หรือหลายวิธีประกอบกัน อัตรารอดชีวิตที่ห้าปีในสหรัฐอยู่ที่ 68% อย่างไรก็ดีผลลัพธ์ของการรักษาจะขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็งขณะที่วินิจฉัยได้ 

การเตรียมตัวก่อนรับการตรวจ PAP SMEAR

  • ไม่ควรมีการตรวจภายในมาก่อน 24 ชั่วโมง
  • ห้ามสวนล้างภายในช่องคลอดมาก่อน 24 ชั่วโมง
  • งดการมีพศสัมพันธ์คืนวันก่อนมารับการตรวจภายใน
  • ไม่ควรเหน็บยาใด ๆ ในช่องคลอดมาก่อน 48 ชั่วโมง
  • ควรมารับการตรวจมะเริ่งหลังประจำเดือนหมดแล้วประมาณ 2 สัปดาห์ สำหรับผู้ที่ไม่มีประจำเดือนแล้วให้มาได้ตามสะดวก
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด