ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรคกระดูกพรุนกับการตรวจความหนาแน่นของกระดูก (Osteoporosis)

คุณคงไม่ชอบเข้าเฝือก....ที่เป็นแฟชั่นของผู้ที่กระดูกหักบ่อย ๆ จึงควรตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก เพื่อทราบภาวะเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนในการป้องกันตนเองไม่ให้กระดูกบางลง และเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกตั้งแต่วันนี้ โรงพยาบาลวิภาวดี บริการตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกด้วยเครื่องที่วัดความหนาแน่นของกระดูกได้ทุกส่วนของร่างกาย ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ “โรคกระดูกพรุน” กันก่อน

 
 
        โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือ โรคที่ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดน้อยลงเรื่อย ๆ รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะโครงสร้างของกระดูก  ซึ่งมีผลทำให้กระดูกไม่สามารถรับน้ำหนักหรือแรงกดันได้ตามปกติ  ทำให้เกิดอาการกระดูกหักตามมา (Decreased Bone Mass, Defective Bone Microarchitecture) นอกจากจะเรียกว่าโรคกระดูกพรุน  อาจเรียก โรคกระดูกผุ ก็ได้
 
        โรคกระดูกพรุน พบมากในผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป  โดยพบปัญหาในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย  เพราะในเพศหญิงจะมีการลดลงของเนื้อกระดูกเป็นอย่างมาก  ในช่วง 5 ปี หลังวัยหมดประจำเดือน  สตรีวัยหมดประจำเดือนในอเมริกา  ประมาณ 1/3 -1/2 ของสตรี  กลุ่มนี้จะเป็นโรคกระดูกพรุน  และเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นโอกาสกระดูกหักก็จะมีสูงเพิ่มตามไปด้วย  โดยจะเป็นการทรุดหักของกระดูกสันหลัง  การหักของกระดูกสะโพกและสุดท้ายคือการหักของกระดูกต้นขา   จะเห็นว่า  ปัญหาของโรคกระดูกพรุนนี้ก่อให้เกิดการสูญเสียต่อชีวิต   คุณภาพชีวิต  และทรัพย์สินเป็นอย่างมาก   ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด  ในขณะนี้โรคกระดูกพรุนจะพบมากในสตรีผิวขาว   โดยเฉพาะที่อยู่ใกล้ขั้วโลก   รองลงมาเป็นผิวขาวเหลืองในเอเชีย   และพบน้อยลงในชาวผิวดำ
 

สาเหตุของโรคกระดูกพรุน                                                                                           
 
        กล่าวโดยรวม ถึงปัจจัยที่ทำให้มีการสูญเสียมวลกระดูกมากกว่าปกติ  พันธุกรรม จากเชื้อชาติ  ผิวขาว > เอเชีย > ผิวดำ   เพศหญิงมากกว่าเพศชาย  ด้านโภชนาการ  การบริโภคแคลเซียมต่ำ,  ดื่มแอลกอฮอล์มาก,  ดื่มกาแฟมาก,  บริโภคเกลือมาก,  บริโภคโปรตีนจากเนื้อสัตว์มาก,  สูบบุหรี่มาก,  กิจวัตรการออกกำลังกายน้อย  โรคที่มีผลต่อการเสียเนื้อกระดูก  รังไข่ฝ่อ (ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน), การตัดมดลูก,  ต่อไทรอยด์ทำงานมากเกินไป,  ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากเกินไป,  ไตวายเรื้อรัง,  โรคข้ออักเสบ,  รูมาตอยด์,  ภาวัยหมดประจำเดือน,  ยาที่มีผลต่อการสูญเสียเนื้อกระดูก  ยาทดแทนไทรอยด์,  ยากลุ่มสเตียรอยด์,  ยากันชัก,  ยาขับปัสสาวะชนิด “Loop”  ยาลดกรดที่มีฤทธิ์จับกับฟอรสเฟต, ยาเตตร้า ซันคลิน,  ยารักษาวัณโรค  ไอโวไนเอซิค
 
การวินิจฉัย                                                                
 
        ในปัจจุบันการวัดความหนาแน่นของกระดูก (Bone Mineral Density Measurement)  โดยใช้เครื่อง DEXA (Dual Energy X-ray Absorptionmetry) โดยวัดความหนาแน่นของกระดูกที่กระดูกสันหลัง  กระดูกสะโพก  กระดูกต้นขา  ปลายกระดูกข้อมือ  และนำค่าที่ได้ไปเปรียบเทียบกับค่าปกติในเพศ  และอายุช่วงเดียวกัน   ถ้าพบว่ากระดูกมี Bone Mineral Density (BMD) <1.00 gm/cm2   (หน่วยวัดความหนาแน่นของกระดูก)   จะมีโอกาสกระดูกหักได้ง่าย
 
        การวินิจฉัยภาวะกระดูกพรุนเมื่อ BMD < 2.5 SD (standard Diviation)  ของประชากรในวัยสาว  การวัดความหนาแน่นกระดูก 2 ครั้ง  ห่างกัน 1-2 ปี  จนช่วยให้สามารถคาดการณ์  การตรวจวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนได้  และเป็นวิธีที่ช่วยให้การประกอบการตัดสินใจในการป้องกัน  หรือวางงแผนกการรักษาโรคกระดูกพรุนต่อไป   ไม่นิยมตรวจจากเลือดเพราะวิธีการตรวจยังใช้เวลานานและยังไม่แม่นยำพอ  บางตัวถึงแม้ให้ความแม่นยำดี  แต่การวิเคราะห์สารเหล่านี้ทำได้ยากและยังมีค่าใช้จ่ายที่สูง  มักจะใช้ในการวินิจฉัยเพื่อการศึกษา
 
        ดังนั้น  ในปัจจุบันการตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกจึงเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด
 


ข้อแนะนำสำหรับสตรี       
 
1.    การได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอตลอดอายุขัย  ตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงชรา   จะช่วยไม่ให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้
 
2.    มีสุขนิสัยที่ดีในการบริโภคอาหาร  โปรตีน  เพื่อเป็นแกนของกระดูก/แคลเซียมและฟอสเฟต  (มาจับที่กระดูกเพื่อความแข็งแกร่งของกระดูก)
 
3.    ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  อย่าเอาแต่นั่ง ๆ นอน ๆ เพราะจำมีการสลายของกระดูกมาก
 
4.    หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน
 
5.    ดูแลตนเองให้มีสุขภาพที่แข็งแรง  ซึ่งจะช่วยลดการสูญเสียของกระดูก
 
6.    มีการประเมินสภาวะของกระดูกว่า  มีการเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนมากน้อยเพียงใจ  ในช่วงวัยใกล้หมดประจำเดือน
 
7.    ในเพสหญิงที่มีความหนาแน่นของกระดูกน้อยกว่า 1 SD (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ควรได้รับฮอร์โมนทดแทน  แต่ควรพิจารณาข้อห้ามโดยปรึกษาแพทย์
 
8.    ถ้ามีข้อห้ามการใช้ฮอร์โมนทดแทนช่วย  ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีที่เหมาะสม
 
9.    ให้มีความระมัดระวังในการเคลื่อนไหวและดูแลสภาพแวดล้อมมีความปลอดภัย   เพื่อลดการลื่นหกล้ม
 
Bone Density  รุ่น EXPLORER
 
        คือ  เครื่องวัดความหนาแน่นของกระดูก  สามารถวัดความหนาแน่นของกระดูกทั้งร่างาย  ทำให้ทราบภาวะเสี่ยงของโรคกระดูกบาง....กระดูกพรุน  เพื่อหาทางป้องกันพร้อมเสริมสร้างความเข็งแรงของกระดูกต่อไป
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด