ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สถานภาพกัญชา กัญชง ในไทย - เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการ คณะกรรมการอาหารและยา

สถานภาพกัญชา กัญชง ในไทย - เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการ คณะกรรมการอาหารและยา Thumb HealthServ.net
สถานภาพกัญชา กัญชง ในไทย - เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการ คณะกรรมการอาหารและยา ThumbMobile HealthServ.net

จะเลือกปลูกพันธุ์ไหนนั้น สามารถติดต่อเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ได้จาก มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สถาบันวิจัยพื้นที่สูง และโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ...สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0-2590-7012

สถานภาพกัญชา กัญชง ในไทย - เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการ คณะกรรมการอาหารและยา HealthServ

สถานภาพกัญชา กัญชง ในไทย

เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการ คณะกรรมการอาหารและยา
  • “ปัจจุบันกัญชายังมีสถานภาพเป็นยาเสพติดอยู่ แต่ด้วยสรรพคุณทางยามากมาย กฎหมายจึงเปิดช่องให้ปลูกสำหรับเป็นยาและงานวิจัยได้ แต่ต้องมีการเชื่อมโยงกันระหว่างหลายภาคส่วน หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา ผู้ประกอบการวิชาชีพ เช่น เวชกรรม เภสัชกรรม แพทย์แผนไทย และเกษตรกร ที่รวมตัวกันจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน เท่านั้น จึงสามารถขอขึ้นทะเบียนปลูกได้ แต่ต้องทำตามกฎระเบียบที่ค่อนข้างมาก เช่น มีสถานที่ปลูกชัดเจน มีรั้วรอบขอบชิด มีกล้องวงจรปิด เพื่อป้องกันการนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์”
  • เพราะกัญชากับกัญชงนั้น อันที่จริงเป็นเสมือนพืชพี่น้องฝาแฝด มองจากภายนอกไม่สามารถจะแยกออกได้ด้วยสายตา จะแยกได้ว่าตัวไหนเป็นกัญชา หรือกัญชง ต้องให้วิธีดูปริมาณสาร THC (Tetrahy– drocannabinol หรือสารที่มีคุณสมบัติต่อจิตประสาท ทำให้ผ่อนคลาย เคลิบเคลิ้ม) ถ้า THC มากกว่า 1% จะถือเป็นกัญชา แต่ถ้าค่า THC ต่ำกว่า 1% จะจัดเป็นกัญชง
  • แม้กัญชงจะเปิดกว้างมากกว่ากัญชา แต่คนที่จะมีสิทธิปลูกได้จะต้องยื่นขอใบอนุญาตอยู่ภายใต้เงื่อนไข ...คนที่จะปลูกได้ต้องมีแหล่งปลูกที่ชัดเจน ที่สำคัญต้องมีสัญญาซื้อขายที่ระบุชัดเจน ผู้ซื้อเป็นใคร ซื้อไปเพื่อทำอะไร
  • ผู้ที่ต้องการปลูก ยังหาคู่ธุรกิจไม่ได้ อย. จะเป็นผู้ประสานจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ปลูกและผู้รับซื้อ เช่น โรงสกัด โรงงานแปรรูปให้ ยื่นคำขออนุญาตปลูกกัญชงได้ หากอยู่ที่กรุงเทพฯ ให้ยื่นที่ อย. หากอยู่ต่างจังหวัดให้ยื่นที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.)
  • หากมีการนำเข้าเมล็ดพันธุ์กัญชงเพื่อปลูก หรือศึกษาวิจัยให้ยื่นคำขอที่ อย.
  • ส่วนจะเลือกปลูกพันธุ์ไหนนั้น สามารถติดต่อเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ได้จาก มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สถาบันวิจัยพื้นที่สูง และโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ...สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0-2590-7012

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด