ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

รพ.ลานนา MOU กับ สปสช.-สปส. ลดเวลารอ ผ่าตัด-หัตถการ 5 กลุ่มโรค

รพ.ลานนา MOU กับ สปสช.-สปส. ลดเวลารอ ผ่าตัด-หัตถการ 5 กลุ่มโรค HealthServ.net
รพ.ลานนา MOU กับ สปสช.-สปส. ลดเวลารอ ผ่าตัด-หัตถการ 5 กลุ่มโรค ThumbMobile HealthServ.net

ผู้ประกันตนเฮ รพ.ลานนา จับมือร่วมทำ MOU กับ สปสช. และ สนง.ประกันสังคม ดูแลผู้ประกันตน ผ่าตัดไว ไม่ต้องรอนาน ผ่าตัด-หัตถการ 5 กลุ่มโรค รองรับผู้ประกันตนทุกโรงพยาบาล

รพ.ลานนา MOU กับ สปสช.-สปส. ลดเวลารอ ผ่าตัด-หัตถการ 5 กลุ่มโรค HealthServ

.
นพ.ธีระยุทธ นิยมกูล รองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลลานนา  เข้าร่วมในพิธีลงนาม บันทึกข้อตกลงการให้บริการทางการแพทย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงการรักษาของผู้ประกันตน ในระบบประกันสังคม โดยมี นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เป็นประธานในพิธีในครั้งนี้ โดยสำนักงานประกันสังคม ได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลลานนา ซึ่งเป็นสถานพยาบาลที่มีศักยภาพตามมาตรฐานที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด โดยจะให้บริการในกลุ่ม 5 โรค นำร่อง ได้แก่ นิ่วในไต , นิ่วในถุงน้ำดี  , มะเร็งเต้านม ,  ก้อนเนื้อในมดลูก เนื้องอกในรังไข่ หรือ #มะเร็งรังไข่ และ มะเร็งปากมดลูก หรือ #มะเร็งมดลูก โดยผู้ประกันตนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรับผ่าตัด ไม่ต้องรอคิวนาน..  ซึ่งระยะเวลาโครงการตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม – 30  มิถุนายน 2566 นี้ 
.
นพ.ธีระยุทธ นิยมกูล รองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลลานนา  กล่าวเพิ่มเติมว่า “โรงพยาบาลลานนา เป็นโรงพยาบาลคู่สัญญาในสังกัดประกันสังคม ถือเป็นโรงพยาบาลเอกชนที่มีศักยภาพสูงแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่  มีแพทย์เฉพาะทางครบทุกสาขา และดูแลผู้ป่วยประกันสังคมมากที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่แล้วในขณะนี้ การเข้าร่วม โครงการเพิ่มสิทธิประโยชน์ในการเข้าถึงการผ่าตัดให้กับผู้ประกันตน เข้าถึงสิทธิการรักษา 5 โรค  ตามโรงพยาบาลที่ทำ MOU กับสำนักงานประกันสังคมนี้  ถือเป็นโครงการที่ประโยชน์มากต่อผู้ประกันตน  เพราะจะสามารถลดการรอคอยการเข้ารักษาโดยการผ่าตัดหรือทำหัตถการ  โดยสำนักงานประกันสังคมจะเป็นผู้จ่ายค่าบริการทางการแพทย์ ให้แก่สถานพยาบาลที่ดำเนินการผ่าตัดโดยตรง  ผู้ประกันตนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรับบริการ เพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงการรักษาด้วยการผ่าตัดหรือทำหัตถการนำร่องในกลุ่ม 5 โรค  เป็นการ ลดระยะเวลาการรอคอย ลดภาวะแทรกซ้อน ไม่ให้อาการของโรคมีความรุนแรงมากขึ้น อีกทั้งช่วย ลดระยะเวลาในการพักฟื้น ส่งผลให้ผู้ประกันตน สามารถกลับไปทำงานได้อย่างรวดเร็ว และดำเนินชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
 
ผู้ประกันตน มาตรา 33 และมาตรา 39 ทั่วประเทศ  ที่เข้าเกณฑ์ 5 โรคผ่าตัดนำร่อง  และกำลังรอคอยคิวการผ่าตัดจากสถานพยาบาลต้นสังกัดอยู่  สามารถขอใช้สิทธิ์โครงการฯ  ที่ โรงพยาบาลลานนา จังหวัดเชียงใหม่  ได้ตั้งแต่วันนี้  จนถึงวันที่ 30  มิถุนายน 2566  ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  แผนกลูกค้าสัมพันธ์ โรงพยาบาลลานนา โทร. 052-134777

 
รพ.ลานนา MOU กับ สปสช.-สปส. ลดเวลารอ ผ่าตัด-หัตถการ 5 กลุ่มโรค HealthServ

รพ.ลานนา เปิดโครงการเพื่อผู้ประกันตน ผ่าตัดไวใน 15 วัน นำร่อง 5 โรค LINK

รพ.ลานนา เปิดโครงการเพื่อผู้ประกันตน ผ่าตัดไวใน 15 วัน นำร่อง 5 โรค รพ.ลานนา MOU กับ สปสช.-สปส. ลดเวลารอ ผ่าตัด-หัตถการ 5 กลุ่มโรค
รพ.ลานนา เปิดโครงการเพื่อผู้ประกันตน ผ่าตัดไวใน 15 วัน นำร่อง 5 โรค รพ.ลานนา MOU กับ สปสช.-สปส. ลดเวลารอ ผ่าตัด-หัตถการ 5 กลุ่มโรค
ข่าวดีจากโรงพยาบาลลานนา ช่วยผู้ประกันตนที่จะต้องผ่าตัดแต่ต้องรอนาน จะไม่ต้องรอคิวนานอีกต่อไป เพราะสามารถย้ายมาผ่าได้ที่โรงพยาบาลลานนา เชียงใหม่ ภายใน 15 วันหลังพบแพทย์แล้ว

ประกันสังคม MOU รพ.เอกชน 35 แห่ง นำร่องเพิ่มประสิทธิภาพรักษา 5 กลุ่มโรค LINK

ประกันสังคม MOU รพ.เอกชน 35 แห่ง นำร่องเพิ่มประสิทธิภาพรักษา 5 กลุ่มโรค รพ.ลานนา MOU กับ สปสช.-สปส. ลดเวลารอ ผ่าตัด-หัตถการ 5 กลุ่มโรค
ประกันสังคม MOU รพ.เอกชน 35 แห่ง นำร่องเพิ่มประสิทธิภาพรักษา 5 กลุ่มโรค รพ.ลานนา MOU กับ สปสช.-สปส. ลดเวลารอ ผ่าตัด-หัตถการ 5 กลุ่มโรค
ประกันสังคม จัดทำ "โครงการให้บริการทางการแพทย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงการรักษาของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม" เพื่อให้ผู้ประกันตนที่ต้อผ่าตัดใน 5 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคมะเร็งเต้านม ก้อนเนื้อที่มดลูก โรคนิ่วในไตหรือถุงน้ำดี โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจและหลอดเลือด
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด