ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

มะเร็งเต้านมในผู้ชาย พบมากที่สุดในช่วงอายุ 60-70 ปี

มะเร็งเต้านมในผู้ชาย พบมากที่สุดในช่วงอายุ 60-70 ปี HealthServ.net
มะเร็งเต้านมในผู้ชาย พบมากที่สุดในช่วงอายุ 60-70 ปี ThumbMobile HealthServ.net

จริงๆ แล้ว ผู้ชายก็มีเต้านมเหมือนกัน ถึงแม้จะไม่ได้ใหญ่โตอะไร แบบผู้หญิง ซึ่งในมนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะชายหรือหญิง เกิดมาก็จะมีเนื้อเต้านมทั้งนั้น

มะเร็งเต้านมในผู้ชาย พบมากที่สุดในช่วงอายุ 60-70 ปี HealthServ
 แต่เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ ผู้หญิงก็จะมีเต้านมที่โตขึ้น ขณะที่ผู้ชายก็จะมีเต้านมเท่าเดิม นั่นคือ จนโตผู้ชายก็ยังมีเนื้อเต้านม ประมาณเท่าเด็กผู้หญิงนั่นเอง เพราะว่า การมีเต้านมนี่เอง ก็ทำให้อาจเกิดโรคของเต้านมได้เช่นเดียวกับผู้หญิง ซึ่งที่เรากลัวที่สุดก็คือ มะเร็งเต้านม
 

ผู้ชายคนไหนที่เสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านม

 
จริงๆ โอกาสการเกิดมะเร็งเต้านมในผู้ชาย นั่นน้อยมาก ประมาณ 1% ของมะเร็งเต้านมเท่านั้น หรือ ถ้านับจากประชากรทั่วไป ก็ประมาณ 1 ใน 1,000 เท่านั้น ซึ่งปัจจัยเสี่ยงก็จะคล้ายๆ กับ มะเร็งเต้านมในผู้หญิง หลายๆประการ ได้แก่
 
1. อายุมาก
ส่วนใหญ่มะเร็งเต้านมในผู้ชาย มักจะเจอในคนอายุมาก ยิ่งอายุมากโอกาสยิ่งเยอะโดยจะพบมะเร็งเต้านมในผู้ชายมากที่สุดในช่วงอายุ 60-70 ปี อายุน้อยกว่า 35 ปี นี่แทบไม่พบ
 
2. ประวัติมะเร็งเต้านมในครอบครัว 
ญาติสายตรง ถึงแม้จะในผู้หญิง ก็จะเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งเต้านมในผู้ชายได้
 
3. ประวัติ การโดนรังสี บริเวณหน้าอก 
การรักษา ฉายแสง ก็จะเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งเต้านมในผู้ชายได้ การทีมีเต้านมโตในผู้ชาย ที่เรียกว่า Gynecomastia ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด ทั้ง ยา, Hormone หรือ เป็นเองก็ตาม ก็จะเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งเต้านมในคุณผู้ชายได้
 
4. การใช้ยา Hormone Estrogen 
ที่เจอกันบ่อยๆ ก็ ยาคุมกำเนิด ไม่ว่าจะในสาวประเภท 2 หรือหนุ่มประเภทไหนก็ตาม ก็จะเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งเต้านมได้ทั้งนั้น ทั้งใน ผู้หญิง และ ผู้ชาย
 
5. โรคตับ
เช่น ตับแข็ง ผู้ป่วยกลุ่มนี้ มักมีเรื่องของ ภาวะเต้านมโตในผู้ชาย ที่เรียกว่า Gynecomastia ร่วมด้วย
 
6. โรคของอัณฑะ
เช่น อัณฑะอักเสบจากคางทูม ภาวะอัณฑะไม่ลงถุง (Undescend testis) อาจทำให้เกิดความผิดปกติ ของ Hormone ในผู้ชาย
 
7. โรคของพันธุกรรมบางชนิด
เช่น Klinefelter Syndrome เป็นโรคที่ผิดปกติเกี่ยวกับโครโมโซม ซึ่งพบน้อย
 
 

มะเร็งเต้านมในผู้ชายกับผู้หญิง อันไหนรุนแรงกว่ากัน

ความรู้สึกเราจะรู้สึกว่ามะเร็งเต้านมในผู้หญิงดูน่ากลัว อันตราย ของผู้ชายน่าจะดูกิ๊กก๊อก ก้อนก็เล็กๆ จริงๆ แล้วมันเหมือนกันครับคือ รุนแรงพอๆ กัน แต่ที่แย่กว่า คือ มะเร็งเต้านมในคุณผู้ชายมักจะเจอช้าเพราะไม่มีใครสนใจไม่เคยคิด ไม่เคยตรวจ ดังนั้นกว่าจะตรวจพบก็มักเป็นระยะที่เยอะแล้ว รักษาช้ากว่าก็เลยจะดูว่ารุนแรงกว่า
 

อาการของ มะเร็งเต้านมในผู้ชาย

 
เหมือนมะเร็งเต้านมของผู้หญิงทุกประการครับ คือ มีก้อน ก้อนแข็งมีการดึงรั้งติดผิวหนังได้ ซึ่งมะเร็งเต้านมในผู้ชาย ก็จะเป็นแบบนั้น แต่ที่ไม่ดี เนื่องจากผู้ชายมีขนาดเต้านมที่เล็ก คือ ไม่มีนั่นเอง ประกอบกับการไม่ค่อยจะสนใจ ทำให้กว่าจะพบก้อนมักจะใหญ่ รวมทั้งกระจายไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียงได้ง่ายเนื่องจากไม่มี เนื้อเต้านมห่อหุ้มก้อนมะเร็ง โตนิดเดียวก็ถึงผิวหนัง หรือ แตกออกมาด้านนอก หรือกระจายไปติดกระดูกซี่โครง
 

การวินิจฉัย

 
เช่นเดียวกับ มะเร็งเต้านมในผู้หญิงครับ การตรวจด้วยการคลำ การทำ Ultrasound , Mammogram ตลอดจนการตัดชิ้นเนื้อ ก็ยังเป็นเครื่องมือมาตรฐานในการวินัจฉัย มะเร็งเต้านม
 

การรักษามะเร็งเต้านมในผู้ชาย

 
การรักษามะเร็งเต้านมในผู้ชาย ก็ไม่ได้มีความแตกต่างจากการรักษามะเร็งเต้านมในผู้หญิง การรักษา ประกอบไปด้วย การผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด การฉายแสง การใช้ Hormone รวมทั้งการรักษาแบบมุ่งเป้า (Target Therapy) ซึ่งการจะใช้อะไรนั้น คงขึ้นกับ พยาธิสภาพ ระยะ ลักษณะชิ้นเนื้อ ของคนไข้แต่ละคน
 

ผลการรักษา

 
เช่นเดียวกับการรักษามะเร็งเต้านมในผู้หญิง ผลการรักษาขึ้นกับระยะของโรค ถ้าเป็นน้อย ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้าเป็นมากผลการรักษาก็จะได้ผลดีไม่เท่าระยะแรก ก็ลดหลั่นกันไป แต่ที่ไม่ดีแบบที่กล่าวมาแล้วคือ มะเร็งเต้านมในผู้ชาย มักมาช้า เพราะกว่าจะรู้ว่าเป็น กว่าจะยอมมาตรวจ นมก็เล็กไม่มีตัวคลุม ก็กระจายง่าย ผลการรักษา เลยอาจไม่ดีเท่าที่ควร
 
สรุปถึงจะเป็นผู้ชาย ก็อย่าลืมตรวจตราส่วนต่างๆ ของร่างกายบ้างนะครับ
 
นพ.ธเนศ พัวพรพงษ์
ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคลินิกเต้านม รพ.วิภาวดี 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด