ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สถานรักษาแก้ไขภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ฯ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร

สถานรักษาแก้ไขภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ฯ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร HealthServ.net
สถานรักษาแก้ไขภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ฯ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร ThumbMobile HealthServ.net

สถานรักษาแก้ไขภาวะปากแหว่งเพดานโหว่และความผิดปกติของศีรษะและใบหน้า โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร คณะแพทยศาสตร์ โทร.055-965595

สถานรักษาแก้ไขภาวะปากแหว่งเพดานโหว่และความผิดปกติของศีรษะและใบหน้า โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร คณะแพทยศาสตร์ 

"เป็นศูนย์การรักษาพยาบาลแก้ไขและฟื้นฟูภาปากแหว่งเพดานโหว่และความผิดปกติของศีรษะและใบหน้าโดยทีมสหวิทยาการชั้นนำระดับประเทศ"
 
 
เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2558 สภามหาวิทยาลัยนเรศวร มีมติให้ก่อตั้ง "สถานรักษาแก้ไขภาวะปากแหว่งเพดานโหว่และความผิดปกติของศีรษะและใบหน้า มหาวิทยาลัยนเรศวร ( Naresuan Cleft and Craniofacial Center )" ขึ้น เพื่อให้การดูแลรักษาความพิการบนศีรษะและใบหน้า (Craniofacial deformities) เช่น โรคปากแหว่งเพดานโหว่ ( cleft lip/palate ) หรือความพิการที่มีกระโหลกศีรษะและใบหน้าอื่นที่มีมาแต่กำเนิด หรือภายหลังการบาดเจ็บอุบัติเหตุ เป็นต้น


การจัดตั้งสถานรักษาแก้ไขภาวะปากแหว่งเพดานโหว่และความผิดปกติของศีรษะและใบหน้าขึ้นในมหาวิทยาลัยนเรศวรนั้นจะเป็นแห่งแรกของภาคเหนือตอนล่าง และเพื่อพัฒนาต่อไปเป็นศูนย์กลางของอาเซียน ประกอบไปด้วยบุคลากรของคณะแพทยศาสตร์และคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่มีความเชี่ยวชาญเพียบพร้อมทุกแขนงสาขาวิชา สามารถให้การดูแลรักษาโรคนี้ได้โดยทีมสหวิทยาการซึ่งเทียบเท่ากับมาตรฐานระดับสากล พร้อมกันนี้ให้บริการในทางด้านวิชาการและการวิจัยเพื่อหาทางป้องกัน รักษา และฟื้นฟูผู้ป่วยในกลุ่มนี้ต่อไปด้วย โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
 
   1. มุ่งเน้นให้การรักษาพยาบาลแก้ไขและฟื้นฟู ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่และความผิดปกติของศีรษะและใบหน้าให้แก่ผู้ป่วยและครอบครัว
 
   2. ส่งเสริมและป้องกันภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ในหญิงวัยเจริญพันธ์และมารดาขณะตั้งครรภ์
 
   3. ศึกษาและวิจัยภาวะปากแหว่งเพดานโหว่และความผิดปกติของศีรษะและใบหน้าต่อชุมชนและสังคม
 
   4. เป็นศูนย์กลางข้อมูลภาวะปากแหว่งเพดานโหว่และความผิดปกติของศีรษะและใบหน้าผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและให้บริการวิชาการภาวะปากแหว่งเพดานโหว่และความผิดปกติของศีรษะและใบหน้าแก่ประชาชนทั่วไปในเขตภาคเหนือตอนล่าง
 
   5. เป็นแหล่งสนับสนุนเรียนรู้ให้แก่นิสิตระดับปริญญาตรีและหลังปริญญา
 
   พร้อมกันนี้ได้ยังตั้ง "กองทุนเพื่อผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และความผิดปกติของศีรษะและใบหน้า มหาวิทยาลัยนเรศวร" ขึ้นด้วยโดยมีวัตถุประสงค์ของกองทุนฯดังนี
 
          1. ช่วยเหลือผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้าผู้ยากไร้ เพื่อเข้ารับการรักษา
          2. สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมในการช่วยเหลือตนเองและครอบครัวผู้ป่วยและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพและพัฒนาศักยภาพผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดทางศีรษะและใบหน้า
          3. สนับสนุนการค้นคว้าและการวิจัยเพื่อการป้องกันปากแหว่ง เพดานโหว่และความพิการทางศรีษะและใบหน้าและการพัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาล
          4. สนับสนุนด้านการเรียนการสอน การวิจัยและพัฒนาการบริหารวิชาการอันเป็นประโยชน์ของสถานรักษาแก้ไขภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ และความผิดปกติของศีรษะและใบหน้า มหาวิทยาลัยนเรศวร
 ทีมสหวิชาชีพ
 
นพ. ศรัณย์ วรศักดิ์วุฒิพงษ์
ผศ.ทพ.ไพโรจน์ ศรีอรุณ
ทพ. พิชิต งามวรรณกุล
ผศ.ทพญ.ลลิตกร พรหมมา
นพ.พีรพงศ์ เธียราวัฒน์
นพ.ธงชัย เลวัน
ทพญ.รัชวรรณ ตัณศลารักษ์
ทพญ.ฤดี สกุลรัชตะ
ทพญ.ดร.จุฑารัตน์ ฉิมเรือง
ทพญ.ดร.ศศิมา ภูวนันท์
ทพญ.พรสุดา หน่อไชย
ผศ.ทพ.ดร.อนุพันธ์ สิทธิโชคชัยวุฒิ
ผศ.ทพญ.ดร.รุ่งอรุณ เกรียงไกร
พญ.ชนิดา จันทร์ทิม
ผศ.พญ.สุชีรา ศรีทิพยวรรณ
นพ.อัฐพล จุลพันธ์
พญ.ชมพูนุท บุญโสภา
นพ.จิรณัทย์ ชัยพุททธานุกูล
พญ.จันทร์เพ็ญ ขวัญศิริกุล
พญ.วาสนา บุตรมางกูล


นวัตกรรมการรักษาภาวะปากแหว่งเพดานโหว่
สถานรักษาแก้ไขภาวะปากแหว่งเพดานโหว่และความผิดปกติของศีรษะและใบหน้า มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้นำเทคโนโลยีการจำลองผ่าตัดสามมิติและขึ้นรูปเหล็กยึดกระดูกให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย (3D-printing simulation surgery and custom-made titanium plate) ในการผ่าตัดเนื้องอกของกระดูกขากรรไกรล่าง ทำให้ลดระยะเวลาการผ่าตัดและมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด