ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เมื่อฤดูหนาวมา โรคโควิด ก็เพิ่มขึ้นตามฤดูกาล - หมอยง

เมื่อฤดูหนาวมา โรคโควิด ก็เพิ่มขึ้นตามฤดูกาล - หมอยง HealthServ.net
เมื่อฤดูหนาวมา โรคโควิด ก็เพิ่มขึ้นตามฤดูกาล - หมอยง ThumbMobile HealthServ.net

ปลายปีเป็นช่วงฤดูหนาว อากาศเย็น จะเป็นช่วงเวลาที่โรคโควิด-19 จะเพิ่มขึ้นตามฤดูกาลและก็จะลดลงหลังเดือนกุมภาพันธ์

โควิด 19  เมื่อโรค เพิ่มขึ้นตามฤดูกาล
 
เมื่อนักเรียนเปิดเทอม และเข้าสู่ฤดูหนาว โรค covid-19 จะเพิ่มขึ้นตามฤดูกาล ในพีคที่ 2  แต่ก็จะไม่มากเท่าในฤดูฝนที่ผ่านมาหรือพีคแรก และก็จะลดลงหลังเดือนกุมภาพันธ์
 
การศึกษาของศูนย์ไวรัสที่ทำอยู่ ร่วมกับจังหวัดชลบุรี พบว่าประชากรผู้ใหญ่ที่อายุเกิน 15 ปีไปแล้ว เกือบทั้งหมดหรือ 98-99 เปอร์เซ็นต์มีภูมิต้านทานที่ตรวจพบได้ จากการฉีดวัคซีนและหรือติดเชื้อ ยกเว้นในกลุ่มที่อายุน้อยกว่า 5 ปี มีถึง 35%  ที่ยังไม่มีภูมิต้านทาน ต่อเชื้อโควิค 19  หรือไม่เคยติดเชื้อมาก่อนนั่นเอง
 
สถานการณ์โดยทั่วไป จะไม่รุนแรง เพราะมีภูมิต้านทาน ยกเว้นในกลุ่มเปราะบางมีโรคประจำตัว  เช่น โรคไตเรื้อรังที่ต้องฟอกไต โรคปอดโรคหัวใจหรือ 608  ที่จะทำให้โรครุนแรง เช่นเดียวกันกับไข้หวัดใหญ่
 
แม้ว่ามีรายงาน การกลายพันธุ์ของไวรัส ในที่ต่างๆทั่วโลก แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานใด ที่พบว่าไวรัสที่กลายพันธุ์ เพิ่มความรุนแรงของโรค การกลายพันธุ์ส่วนใหญ่จะทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำได้ 
 
สภาพทั่วไป ทุกสิ่งใกล้จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ด้วยการอยู่กับโรคโควิด 19  ที่เหมือนกับโรคทางเดินหายใจโรคหนึ่ง ประชากรส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานหรือการติดเชื้อ การติดเชื้อในประชากรขณะนี้อยู่ที่ประมาณร้อยละ  70  ประชากรส่วนใหญ่ได้ทั้งวัคซีนและการติดเชื้อ การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นทุกวันนี้ น้อยกว่าการติดเชื้อในธรรมชาติ การติดเชื้อก็เป็นการกระตุ้นสร้างภูมิต้านทานให้กับประชากรไปพร้อมกัน 
 
การติดเชื้อซ้ำเกิดขึ้นได้ แต่โอกาสติดเชื้อจะน้อยกว่าคนที่ไม่เคยติดเชื้อ และหรือไม่เคยฉีดวัคซีนเลย เมื่อสัมผัสโรคโควิด 19 
 
ทุกชีวิตต้องเดินหน้า การเปลี่ยนถ่ายเข้าสู่ภาวะปกติ ก็คงจะค่อยเป็นค่อยไป เช่นการใส่หน้ากากอนามัย ขณะนี้ถ้าอยู่ในกลุ่มคนจำนวนมาก ควรใส่หน้ากากอนามัย แต่ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้ง สวนสาธารณะ ชายทะเล ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใส่ ให้พิจารณาตามสถานการณ์ และความสมัครใจ 
 
สิ่งที่จะต้องทำอย่างยิ่งคือ ผู้ป่วย หรือเมื่อป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ ควรใส่หน้ากากอนามัยทุกราย ไม่ว่าโรคทางเดินหายใจนั้นจะเป็น covid หรือไม่ เป็นแนวทางปฏิบัติที่ควรทำ เพื่อป้องกันไม่ให้แพร่กระจายโรคไปสู่ผู้อื่น 
 
พบผู้ป่วยจำนวนมากขึ้น ความรุนแรงของโรคก็ไม่ได้เพิ่มขึ้น และต่อไปก็จะเหมือนโรคทางเดินหายใจโรคหนึ่ง ที่พบได้ตามฤดูกาล 
 
การให้วัคซีนป้องกันโรค มีความจำเป็นอย่างยิ่งในกลุ่มเปราะบาง  608  รวมทั้งเด็กเล็ก  การให้วัคซีนยังเป็นไปด้วยความสมัครใจ

 
ยง ภู่วรวรรณ
21 พฤศจิกายน 2565
 

สถานการณ์ และกาลเวลาเปลี่ยน แนวทางการปฏิบัติการตรวจ ATK ก็ควรมีการเปลี่ยนแปลง


 
เราต้องยอมรับว่า covid ไม่ได้หายจากเราไปเราจะต้องอยู่กับ covid-19
ปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่ มีภูมิต้านทานไม่ว่าจะจากวัคซีน หรือการติดเชื้อ ความรุนแรงของโรคลดลง ปัญหาอยู่ในกลุ่มเปราะบาง โรคเรื้อรัง
 
แนวทางการปฏิบัติการตรวจ ATK จึงมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม ในสถานการณ์ปัจจุบัน
ในคนปกติทั่วไป ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจ ATK  เช่นนักเรียนจะไปโรงเรียน การเข้าร่วมประชุม การตรวจ ATK ควรทำในผู้ที่มีอาการระบบทางเดินหายใจ หรือไปสัมผัสกับผู้ป่วย คือสัมผัสโรคมานั่นเอง
 
การปฏิบัติของโรงเรียนที่ให้นักเรียนตรวจทุกสัปดาห์ จึงไม่มีความจำเป็น จะตรวจเฝ้าระวังเฉพาะผู้ที่มีอาการของโรค หรือผู้สัมผัสโรค หรือคิดว่า ตัวเองเสี่ยงในการเกิดโรค และทุกคนจะต้องรับผิดชอบ มีระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด มีความซื่อสัตย์
 
ผู้สัมผัสโรคจะตรวจเมื่อมีอาการ หรือตรวจในวันที่ 3 และ 5-7 ของสัมผัสโรค ถ้าให้ผลลบ ก็น่าจะปลอดภัยจากการติดโรค
 
ในผู้ที่ตรวจ ATK ได้ 2 ขีด ให้เข้ารับการรักษา ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจอีก ให้กักตัวเอง 5 วัน และเข้มงวดป้องกันเมื่อออกสู่สังคมอีก 5 วัน ไม่ใช่ว่าตรวจ ATK แล้วพบว่าขีดเดียวแล้วจะทำอะไรก็ได้ ระยะลดการแพร่เชื้อ ควรจะเกิน 10 วันไปแล้ว
 
เมื่อตรวจ ATK เป็นบวกหรือ 2 ขีดไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำ RT PCR อีก จะทำ RT PCR ในราย ที่สงสัยสัมผัสโรค หรือผู้ที่มีอาการต้องสงสัย และ ATK ให้ผลลบ เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง
 
การปฏิบัติตนต่างๆจะปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม ทั้งนี้คำนึงถึงผลประโยชน์ และประสิทธิภาพสูงสุด ให้คุ้มกับค่าใช้จ่ายในภาพรวม ตามสถานการณ์

17 พฤศจิกายน 2565
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด