ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

รวมพฤติกรรมเสี่ยง และวิธีการป้องกัน Office Syndrome โรคยอดฮิตของชาวออฟฟิศ

รวมพฤติกรรมเสี่ยง และวิธีการป้องกัน Office Syndrome โรคยอดฮิตของชาวออฟฟิศ HealthServ.net
รวมพฤติกรรมเสี่ยง และวิธีการป้องกัน Office Syndrome โรคยอดฮิตของชาวออฟฟิศ ThumbMobile HealthServ.net

อาการยอดนิยมของหนุ่มสาวชาวออฟฟิศอย่าง Office Syndrome สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งกายและจิตใจของผู้เป็นได้ แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าพฤติกรรมอะไรบ้างที่ส่งผลให้เกิดอาการ Office Syndrome วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักถึงสาเหตุของการเกิด Office Syndrome และวิธีแก้ที่คุณสามารถทำได้ด้วยตัวเองกัน

 

สาเหตุของการเกิด Office Syndrome


ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดอาการ Office syndrome ล้วนมีหลายสาเหตุ โดยส่วนใหญ่ผู้ที่มีอาการ Office Syndrome จะพบได้มากในผู้ที่นั่งทำงานในออฟฟิศ หรือต้องนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน รวมถึงการอยู่ในท่านั่งที่ไม่เหมาะสมกับสรีระด้วย จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวถูกกดทับ หดเกร็งและค้างอยู่ท่าเดิม จนกล้ามเนื้อส่วนนั้นขมวดกันเป็นก้อน โดยอาการจะแสดงออกมาในรูปแบบของอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เหน็บชา หรือแม้กระทั่งมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงร่วมด้วย และถ้าปล่อยไว้โดยไม่รีบรักษาอาการปวดจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้เกิด Office Syndrome ได้แก่
 

การนั่งท่าเดิมเป็นเวลานาน
การนั่งหรืออยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานานๆ ส่งผลต่อกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกระดูก และตามข้อต่อของร่างกาย โดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณหลัง หรือในส่วนคอ-บ่า-ไหล่ อาการที่แสดงออกจะมาในรูปแบบของการเจ็บปวดบริเวณนั้น กล้ามเนื้อแข็งตึงจับตัวเป็นก้อน และปวดตามกระดูกข้อต่อต่างๆ ได้
 

การนั่งเก้าอี้ที่ไม่เหมาะสม และการใช้เมาส์ คีย์บอร์ดเป็นเวลานาน
การนั่งเก้าอี้ที่ไม่เหมาะกับสรีระของร่างกาย จะส่งผลต่อการกดทับของกล้ามเนื้อไม่ว่าจะเป็นบริเวณในส่วนของกล้ามเนื้อหลัง ยาวลงมายังบริเวณเอว และสะบัก และถ้าเก้าอี้ที่นั่งไม่สมดุลกับโต๊ะที่ทำงาน อาจส่งผลต่อการเคลื่อนไหวบริเวณข้อมือเวลาใช้เมาส์หรือคีย์บอร์ดได้ ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดบริเวณข้อมือ หลังมือ หรืออาจลามไปยังบริเวณไหล่ได้ อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการเส้นเลือดอักเสบบริเวณต้นแขนได้ด้วย
 

การจ้องจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน และได้รับแสงจากหน้าจอโดยตรง จะส่งผลต่อสายตา และเกิดความเมื่อยล้านัยน์ตาได้ ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นจะเป็นอาการปวดหัว ตาพร่ามัว และหงุดหงิดง่าย อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะตาสู้แสงได้ไม่ดีอีกด้วย นับว่าเป็นอีกอาการสำคัญของ Office Syndrome
 
รวมพฤติกรรมเสี่ยง และวิธีการป้องกัน Office Syndrome โรคยอดฮิตของชาวออฟฟิศ HealthServ
 
 

รักษา Office Syndrome เริ่มได้จากตัวคุณเอง


สำหรับใครที่กำลังพบเจอกับปัญหา Office Syndrome อยู่ไม่จำเป็นต้องวิตกกังวลมากเกินไป เพราะ Office Syndrome สามารถรักษาให้หายหรือบรรเทาลงได้ แต่จำเป็นต้องพึ่งความร่วมมือของตัวผู้รักษาเป็นหลัก เพราะสิ่งสำคัญของวิธีแก้ Office Syndrome คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆ ในชีวิตประจำวัน โดยวิธีบรรเทาอาการเบื้องต้นที่ทุกคนสามารถทำได้ มีดังนี้ 

 

ปรับอิริยาบถให้ถูกหลักสรีรศาสตร์
สิ่งสำคัญอย่างแรกที่จะช่วยลดอาการและวิธีแก้ Office Syndrome ได้คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็น การพักยืดกล้ามเนื้อระหว่างวัน การลุกเดินไม่ปล่อยให้ตัวเองนั่งท่าเดิมเป็นเวลานานเกินไป หรือการเปลี่ยนเก้าอี้และโต๊ะทำงานให้เข้าสรีระของร่างกาย รวมถึงการปรับอิริยาบถไม่ว่าจะเป็นท่านั่ง นอน หรือว่าการเดิน ให้อยู่ในท่วงท่าที่เหมาะสม ก็สามารถลดอาการของ Office Syndrome ได้เช่นเดียวกัน สำหรับใครที่มีปัญหาเรื่องหมอนรองกระดูกก็ยังช่วยให้อาการเหล่านี้ดีขึ้นได้ แถมยังช่วยให้คุณเป็นคนที่มีบุคลิกดีขึ้นด้วย
 

รักษาด้วยเวชศาสตร์ทางเลือก
อีกหนึ่งวิธีแก้ Office Syndrome ด้วยเวชศาสตร์ทางเลือกอย่างการฝังเข็ม หรือการนวดแผนไทย ก็สามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บ ปวดเมื่อยได้เช่นกัน โดยการฝังเข็มจะใช้เข็มที่มีขนาดเล็กปักลงไปยังจุดของกล้ามเนื้อที่มีการหดเกร็ง ให้ปลายเข็มสะกิดใยของกล้ามเนื้อ จะช่วยให้เกิดการหลั่งสารที่มีผลต่อประสาทส่วนกลาง ทำให้ช่วยลดอาการเจ็บปวดลงได้ ส่วนการนวดแผนไทย เป็นวิธีการรักษายอดฮิตสำหรับชาวออฟฟิศ นับเป็นศาสตร์ที่ช่วยรักษาอาการปวดเมื่อยได้เป็นอย่างดี โดยการนวดจะเน้นไปที่การกดจุดต่างๆ ที่มีการปวดเมื่อย จะช่วยให้กล้ามเนื้อส่วนนั้นคลายตัวจากการกดเกร็งได้ ทำให้อาการปวดเมื่อยบรรเทาลง 
 

กายภาพบำบัด
การทำกายภาพบำบัดส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การลดอาการปวดเมื่อย การหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ และช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ซึ่งการรักษาอาการและวิธีแก้ Office Syndrome ด้วยวิธีกายภาพบำบัดนี้จำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และนักกายภาพบำบัด เพราะต้องมีการวางแผนการรักษาและมีการประเมินอาการผู้รักษาอยู่เสมอ และเพื่อให้ผลลัพธ์ออกมามีประสิทธิภาพผู้รักษาจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
 

ออกกำลังกาย เล่นโยคะ
หลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้ว่าการเล่นโยคะแก้ Office Syndrome ได้ การออกกำลังและเล่นโยคะเป็นประจำจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ และช่วยให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นขึ้น อีกทั้งยังช่วยป้องกันการเกิดภาวะเส้นเอ็นและข้อยึดได้ด้วย ซึ่งอาการสำคัญของ Office Syndrome เกิดจากการกดทับและการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ การออกกำลังและเล่นโยคะเป็นประจำจะช่วยยืดกล้ามเนื้อในส่วนที่หดเกร็งทำให้สามารถลดอาการปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อได้ แถมยังช่วยให้มีสุขภาพดีขึ้นด้วย
 
การรักษาโรคยอดฮิตอย่าง Office Syndrome มีหลากหลายวิธี แต่การปล่อยให้อาการแย่ลงโดยไม่รีบหาทางรักษาอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้ ดังนั้นคุณควรหมั่นสังเกตอาการของตัวเองอยู่เสมอ เมื่อเริ่มรู้สึกว่าตัวเองน่าจะมีอาการของ Office Syndrome เมื่อไหร่ ไม่ควรนิ่งนอนใจและเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตประจำวัน หรือถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น การปรึกษาแพทย์จะช่วยให้คุณเข้าใจถึงสาเหตุและต้นตอของอาการ และรู้วิธีแก้ Office Syndrome อย่างถูกวิธีด้วย  
 
ใครที่กำลังเจอกับปัญหา Office Syndrome และกำลังมองหาคอร์สเรียนโยคะรวมถึงสถานที่ออกกำลังกายอยู่ล่ะก็ ศูนย์การค้าเดอะ สตรีท รัชดา สามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คุณครบจบภายในทีเดียว เพราะเป็นแหล่งรวมพลของคนรักสุขภาพและมีศูนย์ออกกำลังกายหลากหลายรูปแบบ ได้ทั้งโยคะ ฟิตเนส ยิมมวยไทย แดนซ์สตูดิโอ รวมไปถึง The Street Arena ลานกีฬาสุดทันสมัยเอาใจคนเมือง นอกจากนี้ยังมี Activity Center ซึ่งเป็นศูนย์รวมการทำกิจกรรมที่หลากหลาย ไม่ว่าคุณจะเลือก ช็อปปิง กิน เที่ยว หรือมีไลฟ์สไตล์แบบไหน ศูนย์การค้า The Street Ratchada ก็พร้อมรองรับให้ทุกคนไปใช้บริการได้ตลอด 24 ชม.


 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด