การคุมกำเนิดหลังการมีเพศสัมพันธ์ มีหลายวิธีการ แต่การใช้ยาเม็ดแบบรับประทานเป็นวิธีการที่สะดวกและนิยมใช้มากที่สุด เดิมเรียกยากลุ่มนี้ว่า “ยาคุมกำเนิดหลังเพศสัมพันธ์” แต่ต่อมาเพื่อความเข้าใจและการใช้ที่ถูกต้องจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน” ซึ่งเป็นยากลุ่มที่มีผลต่อฮอร์โมนเพศทั้งสิ้น
การคุมกำเนิดหลังการมีเพศสัมพันธ์ มีหลายวิธีการ
แต่การใช้ยาเม็ดแบบรับประทานเป็นวิธีการที่สะดวกและนิยมใช้มากที่สุด เดิมเรียกยากลุ่มนี้ว่า “ยาคุมกำเนิดหลังเพศสัมพันธ์” แต่ต่อมาเพื่อความเข้าใจและการใช้ที่ถูกต้องจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน” ซึ่งเป็นยากลุ่มที่มีผลต่อฮอร์โมนเพศทั้งสิ้น
ชนิดของฮอร์โมน
ในกลุ่มของยาเม็ดรับประทานยังมีหลายกลุ่ม เช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างเดียว , ฮอร์โมนโปรเจสเตอ โรนอย่างเดียว ฮอร์โมนรวม และ ดานาซอล แต่ที่นิยมและหาได้ง่ายมีเพียง ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนอย่างเดียวและฮอร์โมนรวมเท่านั้น
ยาเม็ดโปรเจสเตอโรนอย่างเดียว ( หรือที่ทราบกันดีว่ามีชื่อการค้าว่า โพสตินอร์ ) มีส่วนประกอบหลักเพียงอย่างเดียว คือ Levonorgestrel ขนาดเม็ดละ 0.75 มิลลิกรัม โดยรับประทาน 2 ครั้ง ระยะห่างกัน 12 ชั่วโมง และต้องรับประทานภายใน 72 ชม หลังจากมีเพศสัมพันธ์
ผลข้างเคียงที่อาจพบได้บ่อยคือ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน คัดเต้านม และระดูมาผิดปกติ โดยอาจมาเร็วขึ้นหรือช้าก็ได้ บางครั้งอาจพบเลือดออกกระปริดกระปรอย ดังนั้นถ้าขาดระดูหรือระดูมากระปริดกระปรอยหลังใช้ยานี้ จำเป็นจะต้องตรวจให้ทราบว่าเป็นการตั้งครรภ์หรือเป็นผลของยา ในกรณีที่ป้องกันไม่ได้ยังมีโอกาสตั้งครรภ์นอกมดลูกสูงกว่าปกติอีกด้วย
ยาเม็ดฮอร์โมนรวม หรือที่เรียกว่า Yuzpe regimen เป็นการใช้ฮอร์โมน ethinyl estradiol 0.1 มิลลิกรัม และ Levonorgestrel ขนาด 0.5มิลลิกรัม โดยแบ่งรับประทานเป็น 2 ครั้ง ระยะห่างกัน 12 ชั่วโมงโดยรับประทานภายใน 72 ชม เช่นกัน วิธีนี้เป็นที่นิยมในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป แต่มีข้อเสีย คือ มีผลข้างเคียงมากกว่าแบบแรก อีกทั้งในประเทศไทยยังไม่มีบริษัทใดผลิตออกมาจำหน่ายโดยตรง
ต่างกับการทำแท้งอย่างไร ?
หลายคนเข้าใจว่าการทานยาเม็ดเหล่านี้จะทำให้เกิดการแท้ง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เนื่องจากกลไกลของการป้องกันการตั้งครรภ์จะมีกลไกลหลายอย่าง ซึ่งไม่ใช่เป็นการทำให้ตัวอ่อนที่ฝังตัวแล้วแท้งหรือหลุดลอกออกมา แม้ว่ากลไกลที่แท้จริงจะยังไม่ทราบแน่นอน แต่มีหลักฐานเชื่อว่ามีกลไกหลายอย่างเช่น ยาจะไปขัดขวางการปฏิสนธิของสเปริ์มและไข่ ยับยั้งการตกไข่ หรืออาจมีผลต่อการทำงานของคอร์ปัสลูเตียมก็ได้
ใช้เมื่อใดและข้อบ่งชี้?
การใช้ยากลุ่มนี้ควรจะใช้เมื่อมีความจำเป็น “ ฉุกเฉิน” เท่านั้น เนื่องจาก ประสิทธิภาพการป้องกันการตั้งครรภ์ยังไม่สูงเท่ากับการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดแบบปกติ โดยมีประสิทธิภาพการป้องกัน ราว 58 – 95 % ซึ่งยังขึ้นกับการใช้ที่ถูกวิธีและระยะเวลาที่เริ่มใช้ด้วย โดยถ้ารับประทานครั้งแรกภายใน 24 ชม แรก พบว่าจะมีประสิทธิภาพสูงกว่า ( the sooner -the better ) การทานยามากกว่าขนาดที่กำหนดก็ไม่พบว่าได้ประโยชน์มากขึ้นแต่จะมีผลข้างเคียงมากขึ้น
ข้อบ่งใช้สำหรับยากลุ่มนี้ ได้แก่
1.มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ตั้งใจและไม่ได้คุมกำเนิด
2.มีความผิดพลาดของการใช้วิธีคุมกำเนิดอื่น เช่น ลืมทานยาคุมมากกว่า 3 วัน
ลืมฉีดยาคุม หรือถุงยางอนามัยเกิดรั่วหรือแตก
3. ถูกข่มขืน
ข้อบ่งห้าม
มีการตั้งครรภ์แล้ว หรือมีข้อห้ามต่อการให้ฮอร์โมนดังกล่าว
โดยสรุป
การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน มีประโยชน์สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ในระดับหนึ่ง แต่ผู้ใช้ควรใช้อย่างถูกวิธีและใช้เมื่อมีความจำเป็นจริงๆ เท่านั้น
ขอบคุณข้อมูล www.thaiclinic.com
โปรดเข้าใจว่า HealthServ.net ไม่ได้เป็นสถานพยาบาล ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการวิชาชีพด้านแพทย์ใดๆ จึงไม่สามารถให้คำปรึกษาในด้านการแพทย์ การรักษาใดๆ ได้ในทุกๆ กรณี - HealthServ.net เป็นสื่อที่เสนอเนื้อหาด้านสุขภาพ ได้แก่ บทความ ข่าวสาร รวมถึง ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับแพคเกจ/บริการจาก รพ./สถานพยาบาล/ผู้ให้บริการต่างๆ ในประเทศไทย เท่านั้น รายละเอียดเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับบริการ-ราคา-เงื่อนไข-วิธีการบริการ โปรดสอบถามไปยังรพ./สถานพยาบาล/ผู้ให้บริการนั้นๆ โดยตรง (ในส่วนของ รพ./สถานพยาบาล/ผู้ให้บริการ นั้น HealthServ ช่วยได้ในแง่ของข้อมูลติดต่อ สถานที่ตั้ง หรืออื่นๆ ที่เป็นข้อมูลทั่วไป)
HealthServ.net รวบรวมข้อมูลข่าวสาร สาระความรู้ แพคเกจโปรแกรมบริการสุขภาพ จากผู้ให้บริการทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อการเข้าถึงข้อมูล สำหรับใช้ในการตัดสินใจ เลือกใช้บริการสุขภาพได้อย่างคุ้มค่าสูงสุด สำหรับตัวคุณและคนที่คุณห่วงใย
ข้อมูลที่เผยแพร่บนหน้านี้โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับ "วันที่ เวลา รายละเอียด ราคา เงื่อนไข ตลอดจน ภาพถ่าย ภาพประกอบ ภาพวาด ภาพเคลื่อนไหว ไฟล์และสื่อรูปแบบต่างๆ ฯลฯ" เป็นข้อมูลที่บันทึกไว้ ณ เวลาหนึ่ง ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมได้ ณ เวลาที่ท่านได้เข้าชมข้อมูลนี้
ดังนั้น โปรดตรวจสอบความถูกต้องกับบริษัท/หน่วยงานที่เป็นเจ้าของข้อมูลการบริการหรือให้บริการนี้ อีกครั้ง ก่อนตัดสินใจ - เว็บไซต์ HealthServ.net ไม่รับประกันความถูกต้องของข้อมูลที่เปลี่ยนไป และไม่รับผิดชอบต่อการนำข้อมูลไปใช้หรืออ้างอิงในทุกกรณี