ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

รังสีรักษา RADIATION THERAPY โรงพยาบาลมะเร็งชีวามิตรา

รังสีรักษาหรือที่มักเรียกว่า การฉายแสง คือการรักษาโรคโดยการใช้รังสีพลังงานสูง ส่วนมากนิยมใช้ในการประกอบการบำบัดรักษาโรคมะเร็ง โดยรังสีจะฉายไปยังตำแหน่งของเซลล์มะเร็ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำลายเนื้อเยื่อเซลล์มะเร็ง

เครื่องฉายรังสีเร่งอนุภาค Varian รุ่น Vital Beam ประเภท Linear Accelerator หรือเรียกสั้น ๆ ว่า LINAC เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนามากขึ้นกว่าการฉายรังสีแบบทั่วไป

 จุดเด่นของเครื่องฉายแสงประเภทนี้ ประกอบไปด้วย
 
ประสิทธิภาพในการรักษา
เครื่องฉายรังสีเร่งอนุภาค สามารถปรับเปลี่ยนรูปร่างของลำรังสีตามขอบเขตของก้อนมะเร็ง ส่งผลให้การฉายรังสีแบบ LINAC มีความแม่นยำตรงตามแผนการรักษาที่วางไว้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเพิ่มระบบตรวจสอบความถูกต้องของตำแหน่งที่จะทำการฉายรังสีด้วยการถ่ายภาพรังสีแบบดิจิทัล (ElectronicPortal Imaging Device : EPID) และอุปกรณ์ถ่ายภาพรังสีตัดขวาง จึงช่วยเพิ่มโอกาสให้หายขาดจากโรคสูงขึ้น รวมถึงสามารถปรับแต่งความเข้มไปที่ตำแหน่งชิ้นเนื้อโรคมะเร็ง ทำให้ตรงจุดและแม่นยำมากยิ่งขึ้น
 
ผู้รับบริการได้รับความสะดวก สบาย รวดเร็ว
การฉายรังสีที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อลดเวลาในการฉายรังสีให้น้อยลง จากเดิมใช้เวลา 15 - 20 นาที ซึ่งเครื่องฉายรังสีเร่งอนุภาค Varian รุ่น Vital Beam นี้ จะใช้เวลาเพียง 3 - 5 นาที โดยผู้ป่วยยังคงได้รับปริมาณรังสีความเข้มสูงได้เท่าเดิมนั้น เป็นการช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้ป่วย บรรเทาความปวดเมื่อยจากการกดทับ เมื่อมีการนอนนิ่ง ๆ ระหว่างรักษาเป็นเวลานาน
 
ลดผลข้างเคียงจากการฉายรังสี
เมื่อเปรียบเทียบกับการฉายรังสีด้วยเทคนิคเดิมแล้ว พบว่าการฉายรังสีด้วยเครื่องเร่งอนุภาค LINAC อวัยวะข้างเคียงจะได้รับผลกระทบจากปริมาณรังสีลดลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งอวัยวะที่ติดกับก้อนมะเร็ง ทำให้ภาวะแทรกซ้อนจากการฉายรังสีเกิดขึ้นน้อยลง
รังสีรักษา (RADIATION THERAPY)
 
 
เครื่องฉายรังสีเร่งอนุภาค Varian รุ่น Vital Beam ที่โรงพยาบาลมะเร็งชีวามิตราให้บริการรักษาได้วิธีต่าง ๆ ดังนี้:
 
3DCRT (Three Dimensional Conformal Radiotherapy)
การฉายรังสี 3 มิติ เป็นการรักษาที่ใช้ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทำให้เห็นก้อนเนื้องอก และอวัยวะปกติในรูปแบบ 3 มิติ เพื่อกำหนดขอบเขตการรักษาจากภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โดยการทำ CT simulation ซึ่งแพทย์สามารถวางแผนการรักษาโดยใช้ลำรังสีเข้าสู่ก้อนเชลล์มะเร็งได้หลายทิศทางด้วยคอมพิวเตอร์ วิธีนี้จะทำให้ปริมาณรังสีกระจายอย่างสม่ำเสมอ มีความถูกต้องมากขึ้น และปรับลำรังสีให้ก้อนมะเร็งเป็นไปตามรูปร่างของก้อนเซลล์มะเร็งมากที่สุด ทำให้สามารถให้ปริมาณรังสีสูงเฉพาะบริเวณเซลล์มะเร็ง และลดปริมาณรังสีที่จะกระทบเนื้อเยื่อปกติบริเวณรอบ ๆ เซลล์มะเร็ง
 
IMRT (Intensity Modulated Radiation Therapy)
การฉายรังสี 3 มิติแบบปรับความเข้ม เป็นพัฒนาการอีกระดับของการฉายรังสี 3 มิติ (3DCRT) สามารถกำหนดปริมาณรังสีให้เหมาะสมกับความหนา-บางของก้อนมะเร็งได้ เป็นวิธีการที่ใช้ปริมาณรังสีที่มีความเข้มต่างกัน และยังประกอบด้วยลำรังสีขนาดต่าง ๆ อีกจำนวนมาก ทำให้ครอบคลุมบริเวณรอยโรคได้มากที่สุด ส่งผลให้อวัยวะโดยรอบของก้อนมะเร็งนั้น ๆ ได้รับรังสีน้อยกว่าเทคนิคการฉายรังสีแบบเดิม
 
VMAT (Volumetric Modulated Arc Therapy)
การฉายรังสี 3 มิติแบบปรับความเข้ม เป็นพัฒนาการอีกระดับของการฉายรังสี 3 มิติ (3DCRT) สามารถกำหนดปริมาณรังสีให้เหมาะสมกับความหนา-บางของก้อนมะเร็งได้ เป็นวิธีการที่ใช้ปริมาณรังสีที่มีความเข้มต่างกัน และยังประกอบด้วยลำรังสีขนาดต่าง ๆ อีกจำนวนมาก ทำให้ครอบคลุมบริเวณรอยโรคได้มากที่สุด ส่งผลให้อวัยวะโดยรอบของก้อนมะเร็งนั้น ๆ ได้รับรังสีน้อยกว่าเทคนิคการฉายรังสีแบบเดิม
 
VMAT (Volumetric Modulated Arc Therapy)
เป็นการฉายรังสีแบบปรับความเข้มของลำรังสีพร้อมกับการที่ลำรังสีเคลื่อนที่หรือหมุนรอบตัวผู้ป่วย โดยสามารถควบคุมปริมาณรังสีบริเวณรอยโรคตามรูปร่างของก้อนมะเร็ง และช่วยลดปริมาณรังสีที่เนื้อเยื่อปกติบริเวณรอบ ๆ ก้อนมะเร็ง ทำให้ผลข้างเคียงจากการฉายรังสีลดลง เทคนิคการฉายรังสี VMAT ช่วยลดระยะเวลาในการฉายรังสี สามารถฉายรังสีให้เสร็จสิ้นภายในเวลาเพียง 3-5 นาที ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องนอนบนเตียงนาน และลดความผิดพลาดอันเกิดจากการขยับตัวของผู้ป่วยอีกด้วย
 
 SBRT (Stereotactic Body Radiationtherapy)
การฉายรังสีร่วมพิกัดบริเวณลำตัว เป็นการฉายรังสีปริมาณสูงเฉพาะที่บริเวณก้อนเซลล์มะเร็งในส่วนของลำตัว เช่น ปอด ตับ หรือต่อมลูกหมาก และเหมาะสำหรับผู้ป่วยในกรณีที่ไม่สามารถทำการผ่าตัดได้ โดยการฉายรังสีวิธีนี้แตกต่างจากการฉายรังสีแบบทั่วไป โดยจะมีการใช้ปริมาณรังสีต่อครั้งที่สูงกว่า แต่จำนวนครั้งของการฉายรังสีจะน้อยกว่า นอกจากนี้ การฉายรังสีร่วมพิกัดบริเวณลำตัว สามารถจำกัดรังสีปริมาณสูงให้อยู่เฉพาะบริเวณก้อนเซลล์มะเร็งได้ดีกว่าการฉายรังสีแบบทั่วไป จึงเหมาะสำหรับการรักษาเนื้องอกหรือมะเร็งที่มีขนาดเล็ก มีขอบเขตชัดเจน และเนื่องจากเป็นการฉายรังสีปริมาณสูง ทำให้ในแต่ละครั้งต้องมีแผนการรักษาที่มีความแม่นยำ และปลอดภัย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด