ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

คลินิกหมอแขวนป้าย ผิดกฎหมาย อันตรายต่อประชาชน

คลินิกหมอแขวนป้าย ผิดกฎหมาย อันตรายต่อประชาชน HealthServ.net
คลินิกหมอแขวนป้าย ผิดกฎหมาย อันตรายต่อประชาชน ThumbMobile HealthServ.net

อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เตือนแรงๆ ถึงคลินิกทุกแห่ง "ห้ามรับจ้างแพทย์มาแขวนป้ายเป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาล" มีโทษหนักทั้งจำและปรับ และจะถูกสั่งปิด ถือว่าก่อความเสี่ยงอันตรายต่อประชาชนผู้รับบริการ

คลินิกหมอแขวนป้าย ผิดกฎหมาย อันตรายต่อประชาชน HealthServ

หมอแขวนป้าย คืออะไร





           หมอที่มีแต่ชื่อมาอยู่ที่คลินิก แต่ไม่ได้มาประจำหรือปฏิบัติงานจริง 

           คลินิกหมอแขวนป้าย คือ คลินิกที่นำเพียงชื่อหมอ มาแขวนว่าประจำคลินิก แต่ไม่ได้ดำเนินการประจำคลินิกนั้นจริงๆ 





อธิบดีเตือนแรง


           นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า แพทย์ผู้ดำเนินการสถานพยาบาล ถือเป็นบุคลากรของสถานพยาบาลเอกชน ทั้งโรงพยาบาล และคลินิก ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการดูแล กำกับ การดำเนินงานของสถานพยาบาลให้เป็นไปตามมาตรฐานทางการแพทย์ อาทิ การควบคุมดูแลให้แพทย์ผู้ให้บริการประกอบวิชาชีพตามมาตรฐาน ควบคุมมิให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้ประกอบวิชาชีพ มาประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล รวมถึง ดูแล ความสะอาด เรียบร้อยของสถานพยาบาล


           หากขาดแพทย์ผู้ดำเนินการสถานพยาบาลไปแล้วก็อาจจะทำให้เกิดผลกระทบต่อมาตรฐานการบริการ หรือผู้รับบริการ โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมากรม สบส.ก็ได้มีการกวดขัน ตรวจตรา และดำเนินการการกับคลินิกที่ถูกร้องเรียน ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่มักจะไม่มีแพทย์ผู้ดำเนินการสถานพยาบาลอยู่ประจำที่คลินิกในขณะที่เกิดเหตุ


           "แต่ก็มีในบางกรณี ที่คลินิกจ้างแพทย์ให้มาเป็นผู้ดำเนินการ โดยนำเพียงชื่อของแพทย์มาแขวนป้ายแต่ไม่มีแพทย์ผู้ดำเนินการอยู่ประจำที่คลินิกแต่อย่างใด ซึ่งการกระทำดังกล่าวย่อมทำให้เกิดอันตรายต่อประชาชนที่เข้ามารับบริการทางการแพทย์ ทั้งในด้านสุขภาพ ร่างกาย หรือในบางครั้งอาจรุนแรงถึงชีวิต อีกทั้งยังเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายสถานพยาบาล"



           โดยกรม สบส.จะจัดทีมพนักงานเจ้าหน้าที่ เฝ้าระวัง ตรวจตรา สื่อของสถานพยาบาลเอกชนที่มีการเผยแพร่ผ่านสื่อโซเชียล เพื่อป้องกันมิให้มีการเชิญชวน หรือรับสมัครแพทย์ให้แขวนป้ายเป็นผู้ดำเนินการ


           หากพบแห่งใดมีการรับจ้างแพทย์มาแขวนป้ายก็จะดำเนินการเอาผิดตามกฎหมาย ซึ่งมีโทษรุนแรงถึงขั้นจำและปรับ อีกทั้ง กรม สบส.อาจจะมีคำสั่งทางปกครองสั่งปิดสถานพยาบาลเป็นการชั่วคราว หรือถาวรอีกด้วย   

 
 

คลินิกต้องมีแพทย์ประจำตลอดเวลาทำการ


 
          สบส.ขอเน้นย้ำให้ผู้ประกอบกิจการคลินิกทุกแห่ง จัดให้มีแพทย์ผู้ดำเนินการสถานพยาบาลอยู่ประจำที่คลินิกตลอดระยะเวลาทำการ หากไม่ปฏิบัติตามแล้วผู้ประกอบกิจการ ก็จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 ซึ่งมีความผิดทางอาญา ต้องระวางโทษจำคุก หรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ


          ส่วนแพทย์ที่ยินยอมให้คลินิกนำชื่อมาแขวนป้ายก็จะมีการดำเนินคดีด้านจริยธรรมทางการแพทย์ โดยแพทยสภา จึงขอให้แพทย์ผู้ดำเนินการทุกท่านปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง เหมาะสม มีการปฏิบัติงานอยู่ที่คลินิกตลอดระยะเวลาทำการ เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุไม่คาดคิดต่อประชาชนในการรับบริการทางการแพทย์



 

แพทย์ 1 คน อยู่คลินิกได้ 2 แห่ง


          สำหรับแพทย์รายใหม่ที่ต้องการจะเป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลก็ขอให้ยื่นเรื่องขออนุญาตจากผู้รับอนุญาต หากสถานพยาบาลตั้งอยู่ ในกรุงเทพฯ ก็ให้ยื่นเรื่องกับศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ กรม สบส. แต่หากอยู่ต่างจังหวัดก็ให้ยื่นเรื่องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่


          แพทย์หนึ่งท่านจะสามารถเป็นผู้ดำเนินการคลินิกได้ไม่เกิน 2 แห่ง โดยวัน เวลาปฏิบัติงานต้องไม่ซ้ำซ้อนกัน และจะต้องเผื่อระยะเวลาเดินทางด้วย



 

พบการทำผิด แจ้ง 1426 


          หากประชาชนพบเห็น หรือมีเบาะแสการกระทำผิดมาตรฐานทางการแพทย์ ของโรงพยาบาลเอกชน หรือคลินิก สามารถแจ้งได้ที่สายด่วน กรม สบส. 1426
 
 
 

เพจ Drama-addict ได้อธิบายถึง แพทย์แขวนป้ายไว้


คือเวลาจะตั้งคลินิคตั้งสถานประกอบการหรือพวกคลินิคเสริมความงามเนี่ย ตามกฏหมายเวลาจดทะเบียน มันจะมีทั้ง การจดขออนุญาตตั้งสถานพยาบาล กับ ขออนุญาตดำเนินการสถานพยาบาล ซึ่งการจดตั้งนี่ใครทำก็ได้ ไม่ต้องเป็นหมอก็ทำได้ แต่เวลาจะขออนุญาตดำเนินการ ต้องมีหมออย่างน้อยหนึ่งคนจดทะเบียนว่าให้บริการที่นั่น
 
ทีนี้มันก็จะมีกรณีที่เรียกว่า หมอแขวนป้าย
 
คือคลินิคพวกนี้มันจะไปจ้างหมอให้เอาชื่อของหมอคนนั้นและใบประกอบวิชาชีพ มาจดทะเบียนที่สถานบริการของตัวเอง แลกกับการจ่ายเงินค่าตอบแทนรายเดือน ปัจจุบัน เรทอยู่ที่ประมาณ เดือนละสามหมื่นถึงสี่หมื่นบาท
 
โดยหมอคนนั้นไม่ต้องทำอะไรเลย จะนั่งกระดิกตืนไปวันๆ หรือไปทำงานที่อื่น เข้าเวรที่อื่น หาเงินก็ตามสะดวก ขอแค่มีชื่อมาจดทะเบียนที่สถานประกอบการให้ผ่านการจดทะเบียนไปได้แค่นั้น
 
แล้วเวลามีคนไข้มา คลินิคที่ใช้หมอแขวนป้าย มันก็จะเอาคนอื่นที่ไม่ใช่หมอ เช่น ผู้ช่วยพยาบาล พยาบาล (บางที่เหี้ยหน่อยคือเอาคนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับสายสุขภาพเลย) มาให้บริการผ่าตัด ร้อยไหม ฉีดฟิลเลอร์ บลาๆ แทนหมอก็มี
 
ส่วนหมอคนที่รับจ้างแขวนป้าย ก็ได้เงินสองทาง คือเงินกินเปล่าจากคลินิคพวกนี้ กับเงินจากการทำงานเข้าเวรตามปรกติของตัวเอง ส่วนคนไข้ที่ไปใช้บริการที่คลินิคที่มีหมอแขวนป้ายจะเป็นจะตายยังไงก็ช่างแม่ง เรื่องของมึง กูได้เงินก็พอแล้ว อะไรประมาณนี้
 
ซึ่งการทำเช่นนี้ ทั้งหมอที่รับจ้างแขวนป้าย และคนที่เป็นเจ้าของสถานบริการและจ้างหมอแขวนป้าย แต่ไปเอาคนอื่นที่ไม่ใช่หมอมารักษาคนไข้ ผิดกฏหมายทั้งหมด ทั้งแพ่ง และอาญา และหากทำให้คนไข้ตายขึ้นมา ยิ่งผิดไปอีกหลายกระทง รวมไปถึงผิดจริยธรรมวิชาชีพดว้ย
 
แต่ปัจจุบันยังมีการโฆษณาหาหมอแขวนป้ายอย่างแพร่หลาย ทั้งในโซเชี่ยลและในเน็ท และแทบจะกลายเป็นเรื่องปรกติของสังคมแพทย์ในประเทศไทยไปแล้ว ซึ่งก็เหมือนเป็นการสนับสนุนให้แพทย์บางส่วนมองว่า กูได้เงินก็พอคนไข้จะเป็นจะตายยังไงก็เรื่องของแม่ง ถ้าคนไข้ไม่รู้ข้อมูลตรงนี้ ก็จ่ายเงินกันไป ตายกันไป หมอกับเจ้าของคลินิคก็รวยกันไป
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด