ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สารทึบรังสี (Contrast Media) คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร

สารทึบรังสี (Contrast Media) คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร HealthServ.net
สารทึบรังสี (Contrast Media) คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร ThumbMobile HealthServ.net

สารทึบรังสี (Contrast Media) คือสารที่ใช้ในการตรวจทางรังสีวิทยา เพื่อให้เกิดความแตกต่างในการดูดกลืนรังสีระหว่างอวัยวะที่ต้องการตรวจกับอวัยวะหรือโครงสร้างอื่นที่อยู่ใกล้เคียง เป็นผลให้เห็นอวัยวะที่ต้องการตรวจได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งสามารถนำเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่น การรับประทาน , การสวนเข้าทางทวารหนัก และฉีดเข้าหลอดเลือด หรือเข้าช่องโพรงของร่างกาย (จามรี, 2538 : ชรินทร์, 2542 : สมเกียรติ, 2538)

 

   สารทึบรังสีชนิดฉีดเข้าหลอดเลือด เป็นสารที่มีความจำเป็นในการแยกความแตกต่างของอวัยวะที่ต้องการตรวจกับอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียง ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ภาพจากการตรวจทางรังสีมีความชัดเจนมากขึ้น ดังนั้นสารทึบรังสีจึงเข้ามามีบทบาทในการตรวจทางรังสีหลายชนิด ได้แก่ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ( CT ), การตรวจดูการทำงานของไต (Intravenous pyelography ), การถ่ายภาพรังสีหลอดเลือด ( Angiography / Venography ), การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ( MRI )


แต่เนื่องจากสารทึบรังสีอาจทำให้เกิดการแพ้หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อร่างกายจนถึงแก่ชีวิตได้ ซึ่งนับว่าเป็นการตรวจที่มีความเสี่ยงสูง และจากการศึกษาของ Katayama และคณะซึ่งได้รายงานไว้ใน Radiology 1990 พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับสารทึบรังสีชนิดแตกตัว ทั้งหมด 169,284 ราย มีปฏิกิริยาแพ้ 12.66 % และผู้ป่วยที่ได้รับสารทึบรังสีชนิดไม่แตกตัว ทั้งหมด 168,363 ราย มีปฏิกิริยาแพ้ 3.13 % สำหรับการป้องกันความเสี่ยงจากการใช้สารทึบรังสีนั้นสามารถทำได้ทุกระยะ คือ ตั้งแต่ก่อน ขณะ และหลังการฉีดสารทึบรังสี หากพยาบาลและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสารทึบรังสีเป็นอย่างดีแล้วผู้ป่วยก็จะได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพ และปลอดภัย 
 

ประเภทของสารทึบรังสี

แบ่งได้หลายแบบตามสมบัติของสาร ได้แก่ 
 
1. แบ่งตามความทึบรังสี ( จามรี, 2538 : ชรินทร์, 2542) 
1.1 สารทึบรังสีที่ทึบรังสีน้อยกว่าเนื้อเยื่อ ( Negative contrast media ) เป็นสารที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำ จึงมีความทึบรังสีหรือทึบแสงน้อยกว่าเนื้อเยื่อของร่างกาย สารเหล่านี้จะทำให้เกิดเป็นเงาทึบในภาพรังสี ได้แก่ อากาศ , ออกซิเจน , คาร์บอนไดออกไซด์ , ไนตรัสออกไซด์ ซึ่งปัจจุบันอากาศ ออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ ยังมีใช้กันอยู่ เนื่องจากหาได้ง่าย การดูด ซึมไม่เร็วจนเกินไป หากทำให้บริสุทธิ์ 100 เปอร์เซนต์ได้ และมีอันตรายน้อย ส่วนไนตรัสออกไซด์นั้น ราคาแพง ดูดซึมเร็วมาก จึงยังใช้กันไม่มาก 
 
1.2 .สารทึบรังสีที่ทึบรังสีมากกว่าเนื้อเยื่อ ( Positive contrast media ) สารเหล่านี้เป็นสารที่มีน้ำหนักโมเลกุลมากกว่าเนื้อเยื่อของร่างกายทำให้เกิดเป็นเงาจางหรือขาวบนภาพรังสี ซึ่งในปัจจุบันสารทึบรังสีแทบทั้งหมดเป็นชนิดนี้ 
 


2. แบ่งตามสมบัติการละลาย (สมเกียรติ, 2538) 

2.1 สารทึบรังสีที่ละลายน้ำ ได้แก่ สารทึบรังสีแทบทุกชนิดในปัจจุบัน 
2.2 สารทึบรังสีที่ละลายในไขมัน ได้แก่ ริพิโอดอล (Lipiodol ®)
2.3 สารทึบรังสีที่แขวนลอยในน้ำ ได้แก่ แบเรี่ยมซัลเฟต (Barium sulphate) 
 

3. แบ่งตามการดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย 
3.1 สารทึบรังสีที่ดูดซึมได้ ได้แก่ สารทึบรังสีแทบทุกชนิดในปัจจุบัน 
3.2 สารทึบรังสีที่ไม่ดูดซึม ได้แก่ แบเรี่ยมซัลเฟต (Barium sulphate) 
 

4. แบ่งตามลักษณะการขับถ่าย เมื่อดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแล้ว 
4.1 ขับถ่ายออกทางไต สารทึบรังสีแทบทุกชนิดที่ดูดซึมได้ จะขับถ่ายออกทางไต มากกว่าร้อยละ 90 
4.2 ขับถ่ายออกทางตับ ออกมาในรูปของอุจจาระ ซึ่งในปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้แล้ว 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด