ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

มะเร็งเต้านม ภัยร้ายที่ทำให้ผู้หญิงไทยเสียชีวิตในอันดับต้นๆ

มะเร็งเต้านม เป็นโรคที่คร่าชีวิตผู้หญิงไทยมากเป็นอันดับที่สองรองจากมะเร็งปากมดลูก โรคร้ายนี้อาจเกิดขึ้นกับคุณโดยที่คุณไม่รู้ตัว ดังนั้นการตรวจเต้านมเป็นประจำสามารถช่วยชีวิตคุณได้
การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ควรทำในทุกวัยเพื่อค้นพบสิ่งผิดปกติได้ง่าย

มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดชนิดหนึ่งในผู้หญิง และเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญของผู้หญิง อัตราเฉลี่ยของผู้หญิงที่เป็น พบประมาณ 1 ใน 9 ของผู้หญิงทั้งหมด
 
สาเหตุของมะเร็งเต้านม

สาเหตุของมะเร็งเต้านม มีหลายปัจจัย เช่น 

1.พันธุกรรม เชื่อว่า การเป็นมะเร็งเต้านมประมาณ 30% สัมพันธ์กับประวัติครอบครัว หรือยีน

2.อาหาร พบว่า การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง อาหารทอด อาจเพิ่มอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งเต้านมได้(รายงานของ National Cancer Institute)

3.Hormone พบว่า การใช้ Hormone ในเพศหญิง เช่น การทานยาคุมกำเนิดตั้งแต่อายุยังน้อย ทานเป็นเวลานานๆ อาจเพิ่มอุบัติการณ์ของการเกิดมะเร็งเต้านม การให้ Hormone ทดแทนในหญิงวัยทอง ก็สามารถเพิ่มอุบัติการณ์การเป็นมะเร็งเต้านม(เล็กน้อย) เช่นเดียวกั

4.ความอ้วน พบว่า ผู้หญิงที่อ้วนโดยเฉพาะในช่วงหลังหมดประจำเดือน เพิ่มอุบัติการณ์การเป็นมะเร็งเต้านมได้ 1.5 – 2.0 เท่า

5.การให้นมลูก ในอดีตเคยมีรายงานว่า ผู้หญิงที่ให้นมลูกมากกว่า 36 เดือน จะลดการเป็นมะเร็งเต้านม แต่ปัจจุบันทฤษฎีนี้ไม่น่าเชื่อถือแล้ว

6.การเข้าสู่ระยะหมดประจำเดือน พบว่า การเข้าสู่ระยะหมดประจำเดือนเร็ว เช่น ประจำเดือนหมดตั้งแต่อายุก่อน 45 ปี จะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมน้อยกว่าคนที่ประจำเดือนหมดช้า เช่น ประจำเดือนหมด อายุ 55 ปี ถึง 2 เท่า

7.การมีบุตร พบว่า ในคนที่ไม่มีบุตร มีอุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งมากกว่าคนมีบุตร 30-70 % ยิ่งมีบุตรคนแรกขณะอายุน้อย อุบัติการณ์จะยิ่งลดลง แต่ถ้ามีบุตรคนแรกขณะที่อายุมากกว่า 30 ปี จะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมสูงขึ้น

8.มีเนื้องอกที่อื่น พวกนี้มักมีเรื่องของพันธุกรรมมาเกี่ยวข้อง และโอกาสที่จะเป็นมะเร็งเต้านมก็จะสูงขึ้น

9.กัมมันตรังสี การโดนรังสีมากๆ จะทำให้อุบัติการณ์สูงขึ้น ตอนที่มีการทิ้งระเบิดปรมาณูที่ญี่ปุ่น พบว่า คนที่อยู่ที่ญี่ปุ่นใกล้เมืองที่โดนระเบิดปรมาณู เป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น แต่สำหรับผลกระทบจากการฉาย X-ray จะพบอุบัติการณ์ที่จะเป็นมะเร็งน้อยกว่า 1 % ดังนั้นคงไม่ต้องกลัวครับ
 
 
ลักษณะก้อนในเต้านม ที่บ่งชี้ไปในทางไม่ดี

ดังนี้
  • โตเร็ว
  • แข็ง ขอบไม่ชัด
  • ติดแน่นกับเนื้อเยื่อรอบข้าง
  • ที่ใกล้เต้านมบริเวณดังกล่าวบุ๋มลงไป หรือผิวหนังมีลักษณะคล้ายผิวส้ม
  • หัวนมบุ๋มลงไป
  • มีเลือดออกทางหัวนม
  • มีต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้โตร่วมด้วย
  • นอกจากนี้อาจมีน้ำคล้ายเลือดไหลออกทางหัวนม แต่พบน้อยกว่า 

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นมะเร็งเต้านม 
  • การตรวจที่ดีที่สุดคือ ตรวจด้วยตัวเอง โดยอาจทำขณะอาบน้ำหรือก่อนนอน โดยวิธีการ คือ ยกแขนข้างเดียวกับเต้านมที่ต้องการตรวจขึ้น เอามือไว้หลังท้ายทอย และใช้ฝ่ามือของอีกข้างค่อยๆ คลึงเบาๆ ไปให้รอบเต้านม ไม่ใช่บีบเต้านม สังเกตหน้ากระจกว่า เต้านม 2 ข้างยังเท่ากันดีหรือเปล่า
  • ผู้หญิงที่มีอายุประมาณ 35 ปี ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายรวมทั้งทำ Mammogram เป็นการ X-ray เพื่อ Check เต้านม ทำปีละครั้งและทำเรื่อยๆ ทุกปี แค่นี้ก็พอแล้วครับ ถ้ามีอะไรที่สงสัยว่าผิดปกติ ควรไปพบแพทย์ทันที
 
 

ลักษณะอาการตามช่วงอายุ
  • อายุ 20 ปี ขึ้นไป ควรเริ่มตรวจเต้านมด้วยตนเอง ในช่วงอายุนี้ไม่จำเป็นต้องทำแมมโมแกรม
  • อายุ 35 ปี ควรตรวจแมมโมแกรมเป็นพื้นฐานและควรตรวจทุกๆ 2 ปี
  • อายุ 40 ปี ควรตรวจแมมโมแกรม ทุกปี
  • อายุ 50 ปีขึ้นไป ควรตรวจแมมโมแกรมทุก 1-2 ปี
  • สำหรับผู้ที่มีประวัติในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งเต้านม ควรปรึกษาแพทย์เพราะอาจต้องตรวจแมมโมแกรมเร็วกว่าปกติ อาการของมะเร็งเต้านม
  • มีก้อนที่เต้านม ( แค่ 15-20 % ของก้อนที่คลำได้เท่านั้นที่เป็นมะเร็ง)
  • มีการเปลี่ยนแปลงขนาดและรูปร่างของเต้านม
  • ผิวหนังเปลี่ยนแปลง เช่น รอยบุ๋ม ย่น หดตัวหนาผิดปกติ บางส่วนเป็นสะเก็ด
  • หัวนมมีการหดตัวนม คัน หรือแดงผิดปกติ
  • มีเลือดหรือน้ำออกจากหัวนม (20 %ของการมีเลือดออกเป็นมะเร็ง)
  • เจ็บเต้านม (มะเร็งเต้านมส่วนใหญ่ไม่เจ็บ นอกจากก้อนโตมากแล้ว)
  • การบวมของรักแร้ เพราะต่อมน้ำเหลืองโต
  • ปรึกษาแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น
 
การดูแลตนเอง

การตรวจเต้านมด้วยตนเอง (Breast Self – Examination)
  1. ยืนหน้ากระจก
    • ปล่อยแขนข้างลำตัวตามสบายเปรียบเทียบเต้านมทั้งสองข้าง มีการบิดเบี้ยวของหัวนม หรือมีสิ่งผิดปกติหรือไม่
    • ประสานมือทั้งสองข้างเหนือศีรษะ แล้วกลับมาอยู่ในท่าเท้าสะเอวพร้อมสำรวจหาสิ่ง ปกติ
    • ให้โค้งตัวมาข้างหน้าโดยใช้มือทั้งสองข้างวางบนเข่า หรือเก้าอี้ในท่านี้ เต้านมจะห้อยลง ไปตรงๆ หากมีสิ่งผิดปกติก็จะเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น
  2. นอนราบ 
    • นอนในท่าสบายแล้วสอดหมอนหรือม้วนผ้าใต้ไหล่ซ้าย
    • ยกแขนซ้ายเหนือศีรษะเพื่อให้เต้านมด้านนั้นแผ่ราบ ซึ่งจะทำให้คลำพบก้อนเนื้อได้ ง่ายขึ้น โดยเฉพาะส่วนบนด้านนอก ซึ่งมีเนื้อมากที่สุด และมีการเกิดมะเร็งมากที่สุด
    ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางคลำทั่วทั้งเต้านมและรักแร้ที่สำคัญคือ ห้ามบีบเนื้อเต้านม เพราะจะทำให้รู้สึกเหมือนเจอก้อนเนื้อ ซึ่งที่จริงแล้วไม่ใช่ 
วิธีคลำ
  1. ใช้มือซ้ายคลำเต้านมขวา มือขวาคลำเต้านมซ้าย
  2. ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง รวม 3 นิ้ว ในการคลำ กดเบาๆ และหนักพอประมาณเพื่อที่จะรับรู้ ว่ามีก้อนหรือไม่
  3. การคลำในแนวก้นหอย โดยเริมคลำจากส่วนบนของเต้านมไปตามแนวก้นหอย จนกระทั่ง ถึงฐานเต้านมบริเวณรอบรักแร้ หรือเริ่มต้นที่บริเวณหัวนม วนเป็นวงกลมไปรอบๆ จนรอบ เต้านม
  4. การคลำในแนวขึ้นลง เริ่มคลำจากใต้เต้านมถึงรักแร้ แล้วขยับนิ้วทั้งสามคลำขึ้นและลง สลับกันไปเรื่อยๆ จนกระทั่งทั่วทั้งเต้านม
  5. การคลำในแนวรูปลิ่ม เริ่มคลำจากส่วนบนของเต้านมจนถึงฐานแล้วกลับเข้าขึ้นสู่ยอดอย่างนี้ ไปเรื่อยๆ ให้ทั่วทั้งเต้านม ให้ทำวิธีเดียวกันกับเต้านมด้านขวา
 
การป้องกัน
สาเหตุของการเกิดมะเร็งเต้านมยังไม่ทราบแน่นอน การป้องกันที่ดีที่สุดคือ ค้นพบให้เร็วที่สุด ดังนั้นจึงควร
  • ตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ เดือนละครั้ง (Breast Self-Examination)
  • พบแพทย์ (Physical Examination)
  • ตรวจเอกซเรย์เต้านม (Mammography)

การรักษา
     ปัจจุบันเชื่อว่า มะเร็งเต้านมไม่ใช่โรคที่เป็นเฉพาะที่ แต่เชื่อว่าโรคทั้งระบบของร่างกาย(Systemic Disease) ดังนั้นในการรักษา การผ่าตัดอาจไม่เพียงพอ อาจต้องมีการให้เคมีบำบัด หรือการใช้ Hormone ช่วยในการรักษา
 
การผ่าตัด
ปัจจุบันที่ทำกันบ่อยๆ มี 2 ชนิด คือ
  1. ตัดเต้านมออกทั้งหมดคือ จะตัดเต้านมข้างที่เป็นมะเร็งออกทั้งหมด รวมทั้งเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ออกไปด้วย เป็นการผ่าตัดมาตรฐานที่ทำกันอยู่ 
  2. ตัดเต้านมออกบางส่วน จุดประสงค์คือ ต้องการเก็บเต้านมไว้ เพื่อความสวยงาม โดยอาจต้องตัดออกไปให้กว้างขึ้นกว่าบริเวณที่ก้อนเนื้องอกอยู่ แต่ว่าการผ่าตัดชนิดนี้ ไม่สามารถทำได้ในผู้ป่วยทุกคน จะสามารถทำได้ในกรณีที่
    - ก้อนมะเร็งไม่ใหญ่มาก
    - ยังคลำไม่พบต่อมน้ำเหลืองโตที่รักแร้
    - ก้อนมะเร็งไม่ได้อยู่ตรงกลางหรือใกล้หัวนม

    การผ่าแล้วเต้านมที่เหลือต้องดูสวย เพราะจุดประสงค์คือ ความสวยงามด้วยนั่นคือ ถ้าเอาเนื้องอกออกแล้วเต้านมผิดรูปมาก ไม่สวย ไม่ควรทำวิธีนี้

    การผ่าตัดแบบไม่ตัดเต้านมออกทั้งหมด ผู้ป่วยต้องได้รับการฉายแสงรักษาที่บริเวณเต้านมที่เหลือ
เคมีบำบัด
การใช้ Hormone คงต้องดูระยะของโรค และชนิดของ Cell ซึ่งการผ่าตัดทั้ง 2 ชนิด ก็ยังต้องการรักษาต่อเหมือนกัน

สรุป การเอาเต้านมออกหมด ไม่ต้องฉายแสง แต่ถ้าเก็บเต้านม ต้องฉายแสง
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด