ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ปรับ ศบค.กทม.เป็นศูนย์เฝ้าระวังภาวะฉุกเฉินสาธารณสุข

ปรับ ศบค.กทม.เป็นศูนย์เฝ้าระวังภาวะฉุกเฉินสาธารณสุข HealthServ.net
ปรับ ศบค.กทม.เป็นศูนย์เฝ้าระวังภาวะฉุกเฉินสาธารณสุข ThumbMobile HealthServ.net

เตรียมปรับ ศบค. กทม. เป็นศูนย์เฝ้าระวังภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุข พร้อมเพิ่มองคาพยพร่วมขับเคลื่อนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ

26 ก.ค. 65 เวลา 13.30 น. ผศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 27/2565 โดยมีคณะกรรมการร่วมประชุม ณ รัตนโกสินทร์ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) และผ่านระบบวีดิทัศน์ทางไกล
 
 
ปรับ ศบค.กทม.เป็นศูนย์เฝ้าระวังภาวะฉุกเฉินสาธารณสุข HealthServ
             รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แจ้งว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงของ ศบค.กทม. โดยเปลี่ยนเป็นศูนย์เฝ้าระวังภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร ซึ่งการมีศูนย์ฯ นี้ในภาวการณ์ฉุกเฉินเป็นการส่งเสริมนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในเรื่องปฐมภูมิที่ กทม.จะทำ SANDBOX ในอนาคต โดยมีเครือข่ายด้านสาธารณสุขและภาคประชาสังคมร่วมเป็นคณะทำงาน เนื่องจากกรุงเทพมหานครไม่สามารถดูแลคนทั้งหมดได้ 100% ในภาวะการระบาดของโรค จึงต้องประสานขอความร่วมมือกับหน่วยงานและเครือข่ายต่าง ๆ โดยใช้องคาพยพเหล่านี้ในการเสริมความร่วมมือ เพื่อให้การปฏิบัติงานและเกิดช่องว่างให้น้อยลง
 
 
 
           ในส่วนของการประชุม ขอให้เป็นการประเมินสถานการณ์ล่วงหน้า โดยให้แต่ละหน่วยงานรายงานถึงปัญหาในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และข้อขัดข้องที่ไม่สามารถดำเนินการได้ รวมทั้งการประเมินสถานการณ์ด้านต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบในช่วงสัปดาห์หน้าที่จะมาถึง นอกจากนี้ ยังขอให้ติดตามข้อมูลข่าวสารที่ประชาชนแจ้งปัญหาในการเข้ารับบริการ ต้องรู้ว่าปัญหาของเราคืออะไร และอยู่ในข้อจำกัดของเราหรือไม่ นำเสนอในที่ประชุมเพื่อไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้น และทำให้มีข้อจำกัดที่น้อยลง รวมถึงการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ที่หน่วยงานได้วิเคราะห์มานั้น ควรแยกประเด็นออกเป็นเรื่องที่หน่วยงานคิดว่าสามารถทำได้ และเรื่องที่หน่วยงานต้องการขอความร่วมมือ เพื่อเป็นประหยัดเวลาและให้การประชุมมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด