ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

8 วิธีทำชีวิตให้ไร้ขยะ

8 วิธีทำชีวิตให้ไร้ขยะ HealthServ.net
8 วิธีทำชีวิตให้ไร้ขยะ ThumbMobile HealthServ.net

จัดการขยะให้เป็นศูนย์เริ่มที่เรา หนทางที่ดีที่สุดในการจัดการขยะคือก่อขยะให้น้อยที่สุดและแยกขยะอย่างถูกวิธี ซึ่งต้องเริ่มต้นที่เรา และทุกคนในบ้าน และที่สำคัญ การจัดการขยะก่อนทิ้งหรือการคัดแยกขยะที่ถูกวิธีก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะไม่เช่นนั้นการแยกขยะของคุณอาจสูญเปล่า และกลายเป็นขยะไร้ค่า

 
 
 
 
1. ปรุงอาหารแค่พอกิน กินไม่ให้เหลือ
ขยะเศษอาหารเป็นขยะส่วนมากในครัวเรือน และร้านอาหารจึงควร
วางแผนการกินให้ดี
ตักอาหารแต่พอกิน
ห่อกลับ
 
 
2. วัตถุดิบอาหารเหลือพลิกแพลงเป็นเมนูอื่นได้
ควรนำ วัตถุดิบอาหารสดที่เหลือใช้ไปปรุงอาหารเมนูสร้างสรรค์ใหม่ได้ในวันถัดไป อย่าทิ้งขว้าง
 
 
3. พกถุงผ้า ปฏิเสธถุงพลาสติก
เพียงทุกครั้งที่เข้าร้านสะดวกซื้อหรือซูเปอร์มาร์เก็ตแล้วคุณปฏิเสธถุงพลาสติกก็ช่วยลดขยะได้
 
 
4. พกแก้วนำ พกกล่องข้าว
ลองคิดดูว่าถ้าเราพกแก้วนำ เข้าร้านเครื่องดื่ม เราจะลดขยะแก้วพลาสติกได้เท่าไรต่อวัน ต่อสัปดาห์ ต่อเดือน รวมถึงการพกกล่องข้าวไปซื้ออาหารแทนการใส่กล่องโฟมด้วย
 
 
5. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์รีฟิล (เติมซ้ำ ได้)
ถ้าเป็นไปได้ เช่น ผลิตภัณฑ์สบู่อาบน้ำ หรือน้ำยาถนอมผ้าที่มีถุงบรรจุไว้เติมลงขวดเก่าได้
 
6. เครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ ควรใช้อย่างคุ้มค่า
การขายทอดตลาดเป็นสินค้ามือสองนั้นสุดท้ายที่ปลายทาง เมื่อกลายเป็นขยะถูกทิ้ง ชิ้นส่วนที่นำไปรีไซเคิลใหม่ไม่ได้ก็จะกลายเป็นขยะอันตรายที่อาจถูกลักลอบเผาทำลาย หรือถูกทิ้งปะปนกับขยะทั่วไป และเมื่อใช้อย่างคุ้มค่าจนพังหรือซ่อมไม่ได้แล้วต้องคัดแยกใส่ถุงมิดชิดแล้วทิ้งในถังขยะอันตรายหรือจุดรับทิ้งขยะอันตราย
 
7. ประยุกต์ขยะให้กลายเป็นของใช้ เช่น
ขวดแก้ว = แจกัน
กล่องกระดาษ หรือกล่องคุกกี้ = เก็บสิ่งของ
เสื้อผ้า = บริจาค ตัดเย็บแปลงโฉมเป็นตัวใหม่หรือทำ เป็นผ้าขี้ริ้ว
 
8. ใช้ผ้าให้มาก ใช้ทิชชูให้น้อย
เพราะทิชชูที่ใช้เช็ดความสกปรกถือเป็นขยะปนเปื้อน รีไซเคิลไม่ได้
 
 
 
 
 

วิธีการเตรียมขยะก่อนทิ้ง


 
การจัดการขยะก่อนทิ้งหรือการคัดแยกขยะที่ถูกวิธีเป็นสิ่งสำคัญ เพราะไม่เช่นนั้นการแยกขยะของคุณอาจสูญเปล่า และกลายเป็นขยะไร้ค่า
 
 
1.ขยะเศษอาหาร
แยกส่วนที่เป็นน้ำออกต่างหาก ส่วนขยะเศษอาหารที่เป็นของเเข็งควรรีดนำออกให้เหลือน้อยที่สุด แล้วพันหรือห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ก่อนนำ ไปทิ้ง
 
 
2.น้ำมันพืชใช้เเล้ว
ห้ามทิ้งลงท่อระบายน้ำเด็ดขาด เพราะจะทำ ให้เกิดการอุดตันและส่งผลเสียต่อระบบนิเวศ ต้องกรองเศษอาหารและสิ่งสกปรกออกให้หมด แล้วบรรจุใส่ขวดหรือภาชนะแยกทิ้งจากขยะอื่นๆ
 
 
3.ขยะทั่วไป
เช่น ห่อขนมขบเคี้ยว ซองบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ถุงผงซักฟอก ถุงพลาสติก กล่องโฟม ทิชชู ถ้วยกาแฟ กระดาษ หากเปื้อนควรทำความสะอาดก่อนทิ้งเพื่อไม่ให้เกิดการเน่าเสียและเลอะขยะชิ้นอื่น และแยกส่วนที่เป็นโลหะออกก่อนใส่ถุงแยกทิ้งลงถังขยะทั่วไป
 
 
4.ผ้าอ้อมหรือผ้าอนามัยใช้เเล้ว
ห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ก่อนทิ้งเพื่อกันไม่ให้ของเสียทั้งปัสสาวะหรืออุจจาระไปปนเปื้อนขยะอื่นๆ
 
 
5.ขวดพลาสติก ขวดแก้ว กล่องเครื่องดื่ม UHT
สามารถนำ ไปรีไซเคิลได้ ต้องล้างทำความสะอาดและทำ ให้แห้งก่อนนำใส่ถุงคัดแยก หากนำ ไปขายจะทำ ให้ได้ราคาสูงขึ้น และช่วยลดขั้นตอนในกระบวนการรีไซเคิล เพราะหากเกิดการปนเปื้อนคราบหรือจุลินทรีย์เน่าเหม็นหรือเปียกชื้นก็อาจถูกคัดออก เพราะผู้ประกอบการเหล่านั้นไม่อยากเสียเวลาหรือเสี่ยงต่อเครื่องจักรเกิดลัดวงจร
 
6.กระดาษ
เป็นอีกสิ่งที่สามารถรีไซเคิลได้ ควรคัดแยก แบ่งประเภทกระดาษ เช่น หนังสือพิมพ์ กระดาษเอกสาร (เอาลวดเย็บกระดาษออก) นิตยสารหรือหนังสือ กระดาษกล่อง ซองเอกสารแล้วมัดแยกเพื่อขายทำกระดาษรีไซเคิลหรือบริจาคเพื่อทำ หนังสืออักษรเบรลล์สำหรับผู้พิการทางสายตาต่อไป (ผ่านมูลนิธิกระจกเงา หรือโรงเรียนสอนคนตาบอดต่างๆ)
8 วิธีทำชีวิตให้ไร้ขยะ HealthServ
8 วิธีทำชีวิตให้ไร้ขยะ HealthServ
8 วิธีทำชีวิตให้ไร้ขยะ HealthServ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด