ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

การฉีดสีถ่ายภาพเอกซเรย์หลอดเลือดหัวใจ

การฉีดสีถ่ายภาพเอกซเรย์หลอดเลือดหัวใจ

"

การฉีดสีถ่ายภาพเอกซเรย์หลอดเลือดหัวใจ
(Coronary Artery Angiography-CAG)

หรือเรียกว่า การตรวจสวนหัวใจ เป็นการตรวจดูหลอดเลือดหัวใจ เพื่อวินิจฉัยภาวะที่ผู้ป่วยเจ็บแน่นหน้าอก ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำการตรวจวินิจฉัยโดยวิธีอื่นได้
การตรวจสวนหัวใจและการวินิจฉัยโดยการใช้สวนสอดเข้าสู่หลอดเลือดและหัวใจ ทำเพื่อศึกษาการไหลเวียนของเลือด วัดความดัน และวัดปริมาณของออกซิเจนในห้องหัวใจ และบันทึกภาพโดยการฉีดสารทึบรังสี

ประโยชน์ของการฉีดสีตรวจหลอดเลือดหัวใจ

1. ใช้ในการวินิจฉัยภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจได้ถูกต้องแม่นยำ
2. ยืนยันการวินิจฉัยภาวะโรคหัวใจ และหลอดเลือดหัวใจได้
3. ทราบความรุนแรงของหัวใจและหลอดเลือด
4. สามารถรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยใช้วิธีการขยายด้วยบอลลูนต่อได้เลย

ประเภทของผู้ป่วย ที่จะใช้การตรวจวินิจฉัยโดยการตรวจหลอดเลือดหัวใจ
1. ผู้ป่วยที่มีประวัติการเจ็บหน้าอก หรือรอดชีวิตจากการมีหัวใจหยุดเต้นโดยไม่ทราบสาเหตุ
2. ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก และมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดหัวใจเต้นเร็ว
3. ผู้ป่วยที่อาจได้รับอันตรายจากการตรวจภาวะโรคหัวใจขาดเลือดโดยวิธีอื่นๆ
4. ผู้ป่วยที่มีอาการแน่นหน้าอก และมีภาวะหัวใจล้มเหลว
5. ผู้ป่วยรายที่แพทย์ยังไม่ได้ข้อมูลเพียงพอในการที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจขาดเลือดหรือไม่

วิธีการตรวจ

1. ทำความสะอาดบริเวณข้อมือหรือขาหนีบ และแพทย์จะฉีดยาชาในบริเวณนั้น
2. เจาะหลอดเลือดผ่านผิวหนังบริเวณข้อมือ หรือขาหนีบ
3. สอดสายสวนเข้าสู่หลอดเลือด จนผ่านไปถึงหลอดเลือดหัวใจ
4. ฉีดสารทึบรังสีผ่านสายสวน และเก็บบันทึกภาพถ่ายของหลอดเลือดหัวใจ
5. ถอดสายสวนออกจากหลอดเลือด
6. กดบริเวณที่ถอดสายสวน จนเลือดหยุด

ข้อควรปฏิบัติ หลังจากได้รับการปฏิบัติด้วยวิธี CAG

1. ผู้ป่วยจะต้องนอนราบและเหยียดขาข้างที่ทำหรือห้ามงอข้อมือข้างที่ทำ เป็น เวลา 6-12 ชั่วโมง ภายหลังการรักษา โดยมีแถบรัดที่ข้อมือ หรือถุงทรายวางทับบริเวณขาหนีบที่สอดเข็มเข้าไปเพื่อหยุดเลือด
2. หากไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ในวันถัดไป
3. ไม่ต้องตกใจหากพบว่ามีรอยช้ำและอาการขัดเวลาเดิน เพราะเกิดจากการสอด เข็มเข้าไปที่ขาหนีบ รอยและอาการจะหายไปได้เอง
4. ระวังไม่ให้แผลเปียกน้ำ หรือซับบริเวณแผลให้แห้งทุกครั้งหลังอาบน้ำ ทำความสะอาดแผลโดยใช้แอลกอฮอล์ และสำลีสะอาด
5. พักผ่อนอย่างเพียงพอ ไม่ทำงานหนัก การออกกำลังกายที่เหมาะสม คือการเดิน
6. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ปรุงจากไขมันสัตว์ น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว อาหารผัด ทอด หรือกะทิ เนื่องจากมีไขมันอิ่มตัวสูง
7. รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ อย่าหยุดเองสังเกตอาการผิดปกติของตนเอง หากมีอาการแน่นหน้าอก รีบมาพบแพทย์
8. มารับการตรวจอย่างสม่ำเสมอตามนัด

วิธีการเตรียมตัวของผู้ป่วยก่อนรับการตรวจ

1. ผู้ป่วยและญาติรับการฟังการอธิบายจากแพทย์และเจ้าหน้าที่และเซ็นยินยอมรับการรักษา
2. งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง ก่อนทำ
3. นอนพักผ่อนอย่างเพียงพอ โดยอาจใช้ยาคลายเครียดที่แพทย์จัดให้
4. ท่านจะได้รับการทำความสะอาดและโกนขนบริเวณข้อมือหรือขาหนีบ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการรักษา

จาก เอกสารเผยแพร่ รพ.พระมงกุฎฯ

"
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด