ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

อะไรคือ ไขมันร้าย ไขมันดี ไตรกลีเซอไรด์

อะไรคือ ไขมันร้าย ไขมันดี ไตรกลีเซอไรด์

พูดถึงคลอเลสเตอรอลกันให้ละเอียดลึกซึ้ง นอกจากจะมีทั้งประโยชน์และโทษดังกล่าวแล้ว แต่ถ้าพูดให้ชัดลงไปว่า แล้วเจ้าตัวที่เป็นผู้ร้ายจริง ๆ คือตัวไหนกันแน่อยากรู้ต้องอ่านค่ะ บทความโดย น.พ.วรงค์ ลาภานันต์
กองอายุรกรรม โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
แพทย์ที่ปรึกษาศูนย์หัวใจ รพ.วิภาวดี

อะไรคือ ไขมันร้าย ไขมันดี ไตรกลีเซอไรด์

พูดถึงคลอเลสเตอรอลกันให้ละเอียดลึกซึ้ง นอกจากจะมีทั้งประโยชน์และโทษดังกล่าวแล้ว แต่ถ้าพูดให้ชัดลงไปว่า แล้วเจ้าตัวที่เป็นผู้ร้ายจริง ๆ คือตัวไหนกันแน่ เปรียบเหมือนพูดถึงรถยนต์บนท้องถนนทั้งหมด คือคลอเลสเตอรอลรวม ก็มีรถที่คอยปล่อยควันดำ ทิ้งขยะ น้ำมันเครื่องลงท้องถนน ซึ่งถูกเรียกว่า ไขมันร้าย (Bad cholesterol) มีลักษณะโครงสร้างที่ใหญ่และมีความหนาแน่นต่ำ จึงเรียกเป็นศัพท์การแพทย์ว่า Low density lipoprotein ย่อว่า LDL-Cholesterol (LDL-C)
LDL-C นี้เอง คือผู้ร้ายตัวจริง ยิ่งมีมากก็ยิ่งก่อปัญหาหลอดเลือดอุดตัน ในทางกลับกันคลอเลสเตอรอลอีกประเภทหนึ่งซึ่งมีความหนาแน่นสูง เรียกว่า High density lipoprotein (HDL) เป็นพระเอกของร่างกายเรา หรือ ไขมันดี (good cholesterol) เปรียบเหมือนรถขนขยะของกทม. คอยเก็บของเสียหรือไขมันส่วนเกินจากผนังหลอดเลือดกลับคืนสู่กระแสเลือด และนำไปยังโรงงานแปรรูปกำจัดขยะ คือ ตับ เพื่อเปลี่ยนสภาพจากไขมันคลอเลสเตอรอล ให้กลายเป็นน้ำดีเพื่อใช้ย่อยไขมันต่อไป
ทีนี้ทำอย่างไร เราจึงจะทราบตัวเรานี้มีระดับ LDL และ HDL สูงมากน้อยเท่าไร ก็ต้องหยิบกระดาษ ดินสอ มาบวกลบเลขกันสักเล็กน้อย

โดยปกติการเจาะเลือดนั้น จะสามารถทราบระดับของคลอเลสเตอรอลรวม (Total cholesterol) ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ซึ่งเป็นไขมันอีกชนิดหนึ่งและ HDL ได้และนำมาคำนวณโดยอาศัยสูตรดังนี้ คือ

LDL –C = Total cholesterol – (Triglyceride/5)-HDL
ค่าปกติของ LDL ไม่ควรเกิน 160 มก.% ในคนปกติ และไม่เกิน 130 มก.% ในผู้ที่เป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ส่วน HDL ที่ดีควรมีค่าเกินกว่า 45 มก.%
ถ้าต้องการจะลดระดับ LDL-C ในเลือดนอกจากลดการบริโภคอาหารที่มีคลอเลสเตอรอลดังว่ามาแล้ว พบว่าการลดอาหารที่มีระดับกรดไขมันอิ่มตัวสูงจะมีส่วนลดระดับ LDL ได้ด้วย ซึ่งเจ้าไขมันที่อิ่มตัวที่ว่านี้นอกจากจะพบในไขมันสัตว์แล้ว ในน้ำมันพืชบางประเภท เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ จะมีไขมันประเภทนี้สูง ที่น่าวิตกก็คือ ผลิตภัณฑ์อาหารส่วนใหญ่ที่เราและลูกหลานของเรากำลังบริโภคกันอยู่อย่างเอร็ดอร่อย ไม่ว่าจะเป็นไก่ทอด มันทอด แมคโดนัลด์ KFC อาหารจานด่วน ต่างก็ประกอบจากน้ำมันที่ว่านี้ทั้งนั้น เพราะราคาถูกแถมไม่ค่อยเหม็นหืนเสียอีกด้วย มีการศึกษาที่พบว่าระดับ LDL-C ของคนในภูมิภาคเอเชีย กำลังเพิ่มขึ้นอย่างน่าวิตก หลังจากร้านอาหารข้ามชาติผุดขึ้นราวกับดอกเห็ด และเป็นที่นิยมชื่นชอบของวัยรุ่นและคนทำงานทั่วไป จนกลายเป็นวัฒนธรรมการบริโภคของคนยุคใหม่ไปแล้ว จึงไม่น่าแปลกใจว่าโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตันยิ่งเป็นกันมากขึ้น และยิ่งพบในคนอายุน้อยลงกว่าเมื่อสมัยก่อน

จะเลือกใช้น้ำมันอะไรดี

ถ้าคุณเลือกได้ ควรเลือกอาหารที่ปรุงจากไขมันชนิดที่ไม่อิ่มตัว ประเภทที่มีขายกันอยู่ทั่วไปและราคาไม่แพงมาก เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด ทานตะวัน น้ำมันงา ประเภทนี้เรียกว่าไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน อีกประเภทที่จะเรียกว่าดีที่สุดก็คือ ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดียวซึ่งพบมากใน น้ำมันมะกอก (ไม่ใช่ที่เอาไว้ทาตัวหรือใส่ผม) ซึ่งเป็นน้ำมันที่ต้องนำเข้า มักมีที่มาจากยุโรป และอเมริกา สนนราคาช่วงนี้คงจะแพงพอสมควร ก็อาจจะใช้เป็นน้ำมันถั่วเหลืองทานตะวัน ฯลฯ ที่มีขายกันอยู่ทั่วไปพวกนั้นจะเหมาะสมกว่า สามารถช่วยลดระดับ ไขมันร้าย LDL ลงได้ประมาณ 12%

มีผลิตภัณฑ์อีกประเภทหนึ่งที่ครั้งหนึ่งเคยคิดว่าน่าจะได้ประโยชน์กับคนที่อยากทานเนยแต่กลัวไขมันสูง เลยทานเป็นรูป เนยเทียมหรือมาการีนแทน ปรากฏว่ามีสารประเภทหนึ่งที่เรียกว่า Trans fatty acid ซึ่งเกิดจากกระบวนการแปรรูปไขมัน ที่ต้องอาศัยความร้อนสูงมาก และมีการเติมอะตอมของ ไฮโดรเจนเข้าไป (Hydrogenation) ทำให้จุดเดือดของไขมันสูงขึ้น และสามารถจับเป็นก้อนที่อุณหภูมิห้อง ผลิตภัณฑ์เหล่านี้นอกจากเนยเทียม ยังพบในครีม ขนมกรอบ เวเฟอร์ เมื่อบริโภคเข้าไปจะทำให้ผลในการลด LDL เหลือเพียง 5% แต่ที่สำคัญคืออาจลดระดับของ HDL ซึ่งเป็นไขมันดีลงไปได้ด้วย

คราวนี้ต้องถึงคราวพระเอก HDL ของเราบ้าง ทำอย่างไรเล่าจึงจะทำให้ HDL มีระดับเพิ่มขึ้น คงไม่มีปัญหาในคนที่มีระดับสูงอยู่แล้ว แต่ในคนที่ระดับต่ำ (น้อยกว่า 35 มก.%) จะทำอย่างไรกันดี

วิธีการที่จะช่วยเพื่ม HDL ก่อนที่จะต้องปรึกษาแพทย์เพื่อรับยา ดังต่อไปนี้

- หมั่นอออกกำลัง แบบแอโรบิค 30-40 นาทีอย่างน้อยอาทิตย์ละ 4 วัน
- หยุดสูบบุหรี่ เพราะสารในบุหรี่ลดระดับ HDL
- บางารายงาน เครื่องดื่มประเภทไวน์วันหนึ่งไม่เกิน 1 แก้ว จะสามารถเพิ่มระดับ HDL ได้ ซึ่งก็ต้องเป็นไวน์แดง แต่ก็ยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่แน่ชัด และแพทย์ส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยเห็นด้วยที่จะแนะนำให้ผู้ป่วยหันมาดื่มแอลกอฮอล์ เพราะส่วนมากมักจะเลยเถิด (เกิน 1 แก้ว) พลอยเป็นโรคตับแข็ง โรคความดันสูง ต่อไปอีก

มีข้อมูล จากวารสาร Circuiation พบว่าการบริโภคน้ำองุ่นแดงวันละประมาณ 600 ซีซี ก็สามารถให้ผลที่น่าพอใจ แม้จะมากไปหน่อย ก็เทียบได้กับการดื่มไวน์เหมือนกัน ซึ่งเรื่องนี้อันที่จริงมันไปเกี่ยวข้องกับสารประเภทหนึ่ง คือ Flavonoids ซึ่งพบมากในผิวขององุ่นแดง สารตัวนี้จะทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ซึ่งจะคอยป้องกันไม่ให้โมเลกุลของ LDL เข้าไปทำอันตรายต่อเยื่อบุชั้นในของหลอดเลือด ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดหลอดเลือดแข็งตัวได้

บทความโดย

น.พ.วรงค์ ลาภานันต์
กองอายุรกรรม โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
แพทย์ที่ปรึกษาศูนย์หัวใจ รพ.วิภาวดี

ศูนย์ไตเทียม LINK

ศูนย์ไตเทียม อะไรคือ ไขมันร้าย ไขมันดี ไตรกลีเซอไรด์
ศูนย์ไตเทียม อะไรคือ ไขมันร้าย ไขมันดี ไตรกลีเซอไรด์
 ศูนย์ไตเทียม เทียนฟ้าบริบาลภิวัฒน์ 
ก่อตั้งโดย โรงพยาบาลเทียนฟ้า มูลนิธิ 
เพื่อช่วยผู้ป่วยโรคไตที่ต้องฟอกเลือดด้วยไตเทียม ให้รับบริการที่เป็นเลิศ
ศูนย์ฯ ตั้งอยู่ที่ ถนนหทัยราษฏร์ 25 เขตมีนบุรี กท. 10510
จะเปิดให้บริการ ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ในต้นปีหน้า 2564
ผู้ป่วยสิทธิประกันสังคมและสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า จะไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
ติดต่อขอทราบรายละเอียด โทร 063-614-9654

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด