ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรคอ้วนวัยรุ่น

การประเมินว่าอ้วนหรือไม่ ใช้เกณฑ์คล้ายๆ กับของผู้ใหญ่หากแต่ต่างกันบ้างเล็กน้อย แบ่งเป็น 2 วิธีการ

 โรคอ้วนกับวัยทีน จุดเริ่มของโรคร้าย
     การมองปัญหาความอ้วนในภาพใหญ่ก็คงจะมีภาพที่ชัดเจนของต้นตอของปัญหาที่เกิดขึ้น ผลกระทบ ระดับความรุนแรงของปัญหา จินตภาพที่เห็นก็คือ หญิงอ้วน ชายอ้วน โรคหัวใจ โรคไขมันอุดตัน โรคเส้นเลือดในสมอง ฯลฯ บางทีเราก็มองข้างบางสิ่งไป ปัญหาความอ้วน น้ำหนักที่เกินเกณฑ์มาตรฐาน ไม่ได้เสกให้สาววัยทำงานอ้วนในฉับพลันเพียงอย่างเดียว หรือการอ้วนแบบกะทันหันปัจจุบันทันด่วนของหนุ่มอ้วนจะเกิดด้วยเหตุผลของการบริโภคยามดึกเท่านั้น ผู้ป่วยในโรคอ้วนจำนวนมากมีอาการสะสมและจุดเริ่มจากความอ้วนในวัยเด็กและช่วงวัยรุ่น
 
ความจริงของเด็ก (และวัยรุ่น) อ้วน
 
                หากย้อนไปเมื่อหลายปีก่อน ประเทศของเราไม่ค่อยคุ้นกับเรื่องของเด็กอ้วนนัก เราได้ยินเพียงเรื่องของเด็กขาดสารอาหาร เวลาผ่านไปถึงวันนี้ ในอเมริกามีเด็กอ้วนมากถึง 15% ของจำนวนวัยรุ่นทั้งหมด สำหรับประเทศไทยมีการคาดการณ์ว่าอาจมีเด็กที่มีภาวะโรคอ้วนมากถึง 1.5% ของจำนวนวัยรุ่นทั้งหมด สำหรับประเทศไทยมีการคาดการณ์ว่าอาจมีเด็ก ที่มีภาวะโรคอ้วน มากถึง 1.5 ล้านคน ทราบหรือไม่ว่าร้อยละ 30-80 เปอร์เซ็นต์ของเด็กหรือวัยรุ่นที่อ้วนเติบใหญ่ กลายเป็นผู้หญิงอ้วน การใช้จ่ายในด้านสุขภาพของเด็กอ้วนใช้เงินมากถึงมากถึง 0.2-1.2 ของ GDP ของประเทศที่พัฒนาแล้ว พอมองเห็นภาพความสำคัญของปัญหากันหรือยัง
 
2 ปัจจัยหลักที่ก่อโรคอ้วนในวัยเด็ก
 
                ปัจจัยด้านพันธุศาสตร์ อ้วนจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากพ่อจากแม่ครอบครัวอาจมีประวัติเรื่องภาวะของโรคอ้วน หรืออาจมีความผิดปกติในระดับยีน
 
                ปัจจัยด้านพฤติกรรม เกิดจากการเลี้ยงดูโดยมีค่านิยมประคบประงมให้ลูกรับประทานแบบปราศจากการควบคุมสารอาหาร โดยไม่ทราบเลยว่าความอ้วนที่เกิดขึ้นในวัยเด็กส่งผลต่อการเจริญเติบโตทั้งร่างกาย สมอง รวมถึงพฤติกรรม ภาวะอารมณ์ และที่สำคัญคือโรคร้ายที่ส่งผลตลอดชีวีตอย่างโรคเบาหวาน
 
เด็กอ้วนแบ่งเป็น 2 ประเภท
 
กลุ่มเด็กที่อ้วนและเตี้ย (Pathological obesity) ซึ่งแยกย่อยออกเป็น
 
  • อ้วนเตี้ยที่มีระดับสติปัญญาปกติเกิดจากร่างกายขาดฮอร์โมนบางตัว เช่น ขาดฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต (Growth hormone deficiency) ขาดไทรอยด์ฮอร์โมน (Acquiired hypothyroidism) ภาวะที่มีระดับโฮโมนคอร์โมนคอร์ติซอล ปริมาณสูงเกิน (Acquired hypothyroidism)
  • อ้วนเตี้ยระดับสติปัญญาต่ำ ซึ่งมีอาการผิดปกติจำเพาะ เช่น เพรเดอร์ – วิลลี่ซินโดรม (Prader-Willi Syndrome )
กลุ่มเด็กที่อ้วนและสูง (Simple obesity) กลุ่มนี้เกิดจากการเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อม รวมถึงปัจจัยทางพันธุกรรม
 
โรคอ้วน...เริ่มสร้างภูมิคุ้มกันตั้งแต่ในวันเด็ก
 
  • อย่างที่ทราบกันดีว่านมแม่เหมือนน้ำทิพย์ที่ช่วยให้ทารกแข็งแรง ร่างกายแข็งแรง ต่อต้านอาการต่าง ๆ ได้มากมาย โดยในเรื่องโรคอ้วนนั้น ทารกที่ได้รับการเลี้ยงด้วยนมแม่ มีภูมิคุ้มกันภาวะโรคอ้วนมากกว่าเด็กที่เลี้ยงด้วยนมผง นอกจากนั้นยังมีอัตราเสี่ยงการเป็น โรคเบาหวานน้อยกว่าเด็กทั่วไป
  • เด็ก ๆ ควรได้รับการปลูกฝังวินัยในด้านสุขภาพ การบริโภคอาหารที่ไม่หวานมัน เค็ม จัดเตรียมอาหารที่ไขมันต่ำ งดน้ำอัดลมและขนมหวาน และที่สำคัญคือ การส่งเสริมให้ลูกน้อยของคุณเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย ออกห่างหน้าจอทีวีหรือหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้มากที่สุด
 
อ้วนหรือยัง?
 
 ถึงเวลาตรวจสอบกันแล้วว่าลูกหลานของคุณอ้วนหรือยัง การประเมินนั้นใช้เกณฑ์คล้าย ๆ กับของผู้ใหญ่หากแต่ต่างกันบ้างเล็กน้อย แบ่งเป็น 2 วิธีการ
  1. เทียบน้ำหนักกับส่วนสูง ประเมินจากการเจริญเติบโต น้ำหนัก อายุและส่วนสูง
  2. ใช้เกณฑ์ของ IBM หรือดัชนีมวลกายจากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นควบคู่กับอัตราการเพิ่มของความสูงในเด็ก อัตรา ส่วนระหว่างน้ำหนัก (กิโลกรัม) ต่อส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง หาก BMI มากกว่า 25 กิโลกรัม/เมตรยกกำลังสองถือว่าน้ำหนักมาก มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อน ได้และหาก IBM มากกว่า 27 อาจมีอาการของโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคแทรกซ้อนจากความอ้วนมากมายกำลังมาเยือน
 
ผลกระทบของเด็กอ้วน
 
  • รูปลักษณ์ โครงสร้าง บุคลิกภาพ สิ่งเหล่านี้อาจไม่เป็นปัญหานักในวัยเด็ก แต่ไม่นานเด็ก ๆ เหล่านั้นจะเริ่มบอกคุณเองว่าความอ้วนคือ ปัญหาของเขาในสังคมความมั่นใจที่ถูกไขมัน บดบังไว้  นอกจากนี้น้ำหนักตัวจะเริ่มทำให้เขาปวดแขนขา มีปัญหาเรื่องข้อต่อต่าง ๆ ของร่างกาย
  • อยู่ในภาวะเสี่ยงจากโรคหยุดหายใจขณะหลับ และการนอนกรน
  • ความเสี่ยงนานาชนิด ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะตับและถุงน้ำดีอักเสบ
  • การเจริญเติบโตปรวนแปร เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เร็วผิดปกติ ประจำเดือนมาผิดปกติ มีภาวะมีบุตรยาก
 
นี่ไม่ใช่ยุคที่เด็กอ้วนจะถูกสปอยด์ว่าน่ารักอีกแล้ว การควบคุมน้ำหนักเด็ก ๆ เป็นสิ่งจำเป็น เพราะเด็กอ้วนวันนี้ก็คือผู้ใหญ่อ้วนในวันข้างหน้า

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด