ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เครือข่ายตลาดสีเขียว

เครือข่ายตลาดสีเขียว Thumb HealthServ.net
เครือข่ายตลาดสีเขียว ThumbMobile HealthServ.net

เครือข่ายตลาดสีเขียว เป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงและขยายความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตและผู้ บริโภคในรูปแบบการตลาดสีเขียว และส่งเสริม สนับสนุนสินค้า ผลิตภัณฑ์(Green product) บริการ ทั้งจากผู้ประกอบการสีเขียว(Green business producer) และชุมชน (community producer) อีกทั้งยังทำหน้าที่ในการกระตุ้นจิตสำนึกและส่งเสริมความรู้ความเข้าใจต่อ การบริโภคที่ยั่งยืนและก่อให้เกิดการรวมกลุ่มผู้บริโภคสีเขียว(Green consumption) อีกด้วย

เครือข่ายตลาดสีเขียว HealthServ

เครือข่ายตลาดสีเขียว เป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงและขยายความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตและผู้ บริโภคในรูปแบบการตลาดสีเขียว และส่งเสริม สนับสนุนสินค้า ผลิตภัณฑ์(Green product) บริการ ทั้งจากผู้ประกอบการสีเขียว(Green business producer) และชุมชน (community producer) อีกทั้งยังทำหน้าที่ในการกระตุ้นจิตสำนึกและส่งเสริมความรู้ความเข้าใจต่อ การบริโภคที่ยั่งยืนและก่อให้เกิดการรวมกลุ่มผู้บริโภคสีเขียว(Green consumption) อีกด้วย

====================================

สู่เส้น ทางตลาด สีเขียวเพื่อความยั่งยืนและเป็นจริง
กระบวนการผลิตอาหารตามแบบวิธีดั้งเดิมและ ด้วยวิธี ธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีในการเร่งรัดให้ผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด แต่สามารถรักษาคุณภาพและเพิ่มปริมาณการผลิตได้โดยใช้วิธีการทางชีวภาพ เช่น การรักษาคุณภาพดินที่เพาะปลูกด้วยปุ๋ยอินทรีย์ การกำจัดศัตรูพืชโดยการพัฒนาจากวิธีทางธรรมชาติ   การผลิตอาหารที่คงคุณภาพผลิตภัณฑ์จะให้ทั้งรสชาติ คุณค่าอาหาร และความปลอดภัย ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคที่เกิดจากการบริโภคอาหารปนเปื้อน หรือปรุงแต่งด้วยสารเคมี นอกจากนั้นยังมีส่วนช่วยรักษาความหลากหลายของพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ และสิ่งแวดล้อมของชุมชน
การปรุงอาหารที่ลดขั้นตอนการแปรรูปให้น้อยลง ไม่ต้องพึ่งพาสารสังเคราะห์เพื่อปรุงรส หรือสารกันบูด เพื่อขนส่งอาหารข้ามถิ่นไปในระยะทางไกลๆ และต้องใช้เวลานาน ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการใช้สารเคมี ผลดีที่ตามมาคือ การกระตุ้นระบบการผลิต – ซื้อ – ขาย ของท้องถิ่น เพื่อให้ชาวบ้านพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยลดการพึ่งพาระบบการผลิตแบบอุตสาหกรรมและระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ของเสียจากกระบวนการผลิตก็น้อยและกำจัดได้ง่ายกว่า อีกทั้งยังแปรรูปสำหรับนำกลับมาใช้ในชุมชนได้ เช่น ก๊าซหรือปุ๋ยที่ผลิตจากมูลสัตว์, กากอาหาร, เปลือกผลไม้ ฯลฯ นอกจากนี้ยังลดสารเคมีตกค้างในสภาพแวดล้อมได้อีกด้วย เส้นทางสู่ตลาดสีเขียวควรดำเนินไปอย่างสอดคล้องกับวิถีธรรมชาติและการพัฒนา ที่ยึดหลักความยั่งยืนของโลก

การตลาดสีเขียว

ควร มีการจัดการและการกระจายสินค้าที่ดี เช่น ๑.การมีร้านกรีนที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเพื่อช่วยเหลือสนับสนุนกันใน เรื่องต่างๆ ได้แก่ การขนส่งสินค้าจากแหล่งผลิตเดียวกันแล้วนำมากระจายตามร้านกรีนที่มีอยู่ใน เครือข่ายอันจะช่วยประหยัดน้ำมันและค่าขนส่ง หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้สินค้า อาทิ การจัดเสวนาพูดคุยกับผู้ผลิตที่เชิญมาบรรยายหมุนเวียนไปในร้านกรีนต่างๆ ๒.การสมัครสมาชิกที่ให้รับสินค้าได้จากร้านใกล้บ้าน อาทิ สถานีออร์กานิค ร้านหนังสืออิสระ ร้านมังสวิรัติ ร้านอาหารสุขภาพ ๓.การบริการส่งสินค้าได้ถึงบ้าน ๔.การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ เป็นต้น  ไม่ ว่าจะเป็นช่องทางไหนตามที่กล่าวมา สิ่งสำคัญคือการทำความเข้าใจกับผู้บริโภคในเรื่องการผลิตที่เป็นมิตรกับ สุขภาพและสิ่งแวดล้อม การให้ข้อมูลการผลิต อาทิ ผลิตที่ไหน ผลิตโดยใครผลิตอย่างไร และมีส่วนประกอบของอาหารอะไรบ้าง ผู้บริโภคควรรู้ถึงความแตกต่างในการผลิตอาหารจากผลิตภัณฑ์เกษตรเคมีที่สร้าง ปัญหาสิ่งแวดล้อมกับการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ที่ช่วยรักษาห่วงโซ่อาหารตาม ธรรมชาติ

ทั้งหมดนี้ ไม่ใช่ความฝัน เราทำให้ตลาดสีเขียวเป็นจริงได้ตั้งแต่วันนี้

มารู้จักกับเครือข่ายตลาดสีเขียว
วันนี้ ตลาดสีเขียวเกิดขึ้นได้จริง ซึ่งดำเนินการในรูปแบบของ “เครือข่ายตลาดสีเขียว” อันเป็นเป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงและขยายความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตและผู้ บริโภคในรูปแบบการตลาดสีเขียว และส่งเสริม สนับสนุนสินค้า ผลิตภัณฑ์(Green product) บริการ ทั้งจากผู้ประกอบการสีเขียว(Green business producer) และชุมชน (community producer) อีกทั้งยังทำหน้าที่ในการกระตุ้นจิตสำนึกและส่งเสริมความรู้ความเข้าใจต่อ การบริโภคที่ยั่งยืนและก่อให้เกิดการรวมกลุ่มผู้บริโภคสีเขียว(Green consumption) อีกด้วย


เครือข่ายตลาดสีเขียวมี กิจกรรมอะไรบ้าง

เรามีกิจกรรมหลากหลายซึ่งช่วยสนับสนุนทั้งด้านผู้ผลิต ผู้ประกอบการร้านกรีน และผู้บริโภค  ดังนี้
  1. งานกรีนแฟร์ (งานแสดงผลิตภัณฑ์อินทรีย์และผลผลิตตลาดเขียวชุมชน)
  2. Organic Day เพื่อ ประชาสัมพันธ์และรณรงค์เรื่องการตลาดสีเขียวให้กับสถาบันต่างๆ  ปลูกจิตสำนึกให้ตระหนักถึงความสำคัญของการผลิตและการบริโภคอาหารที่ไม่ก่อ ให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม, รวมทั้งสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และขยายแนวคิดการตลาดสีเขียวสู่สาธารณะ
  3. เวบไซต์ thaigreenmarket.com เพื่อ เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้เกี่ยวกับตลาดสีเขียวและเกษตรอินทรีย์รวมทั้งเชื่อมโยงกิจกรรม ข่าวประชาสัมพันธ์ หรือทำการตลาดผ่านเวบไซต์
  4. การสร้างเครือข่ายร้านกรีน เพื่อ สร้างเครือข่ายของผู้ประกอบการร้านกรีน ที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์และสินค้าจากขบวนการผลิตด้วยวิธีทางธรรมชาติ ที่ปลอดสารพิษ ทั้งจากชุมชน ผู้ประกอบการผลิตและผู้แปรรูปขนาดเล็กและขนาดกลาง
  5. การสร้างเครือข่ายผู้บริโภคสีเขียว เพื่อ รวมตัวผู้บริโภคที่สนใจในเรื่องอาหารปลอดสารพิษและการบริโภคที่คำนึงถึงความ ยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมโดยเน้นการเคารพและเอื้ออาทรต่อระบบนิเวศ
  6. กรีนไกด์บุ๊ค(“Green” guide book) เป็นหนังสือที่รวบรวมฐานข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการในเครือข่ายตลาดสี เขียว
  7. จุลสารกรีน (Green journal) เพื่อ ประชาสัมพันธ์เรื่องราวของเครือข่ายตลาดสีเขียวให้กับสาธารณะชนทั่วไปที่ สนใจและเพื่อให้เกิดกระแสการตลาดและการบริโภคสีเขียวมีความชัดเจนมั่นใจและ เห็นถึงพลังแห่งการเติบโต
  8. การเยี่ยมชมฟาร์ม (Farm visit) เพื่อ ให้ผู้บริโภคตระหนักถึงคุณค่าของการผลิต ได้เรียนรู้กระบวนการผลิตของเกษตรกรที่อยู่ในระบบเกษตรอินทรีย์ด้วยตนเอง ได้สัมผัสถึงวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมของชุมชนในแต่ละแหล่ง

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด