ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลัง

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลัง

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลัง 

โดยปกติผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีความเสื่อมของกระดูกสันหลังหรือมีปัญหาที่หมอนรองกระดูกสันหลัง  แพทย์จะแนะนำทางเลือกในการรักษา  เป็นต้นว่า  การรับประทานยา, การทำกายภาพบำบัด และการผ่าตัด  โดยปกติการรักษาด้วยการผ่าตัดจะเป็นทางเลือกสุดท้าย  ในรายที่จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด  มักมีสาเหตุมาจากการกดทับรากประสาท  ระบบประสาท  ไขสันหลัง  หรือมีการทรุดตัวหรือคดตัวของกระดูกสันหลัง   ทั้งนี้ผู้ป่วยในกลุ่มนี้มักมีอาการปวด  ชา  หรืออ่อนแรงของกล้ามเนื้อ  ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้หรือไม่รักษาด้วยการผ่าตัดอาจเกิดการกดทับระบบประสาทโดยเฉพาะไขสันหลัง  ทำให้มีการอัมพฤกษ์ หรืออัมพาต  ซึ่งจะทำให้การรักษาให้ได้ผลดีทำได้ยากขึ้น   หรือในบางรายอาจรักษาไม่ได้  
 

การผ่าตัดแบบแผลเล็ก  เจ็บน้อย และใช้กล้อง  (Miminally invasive spine surgery)

ที่ศูนย์สมองระบบประสาทและกระดูกสันหลัง  รพ.วิภาวดี  ใช้วิธีการรักษาแบบนี้มาเป็นเวลานานไม่ต่ำกว่าสิบปี  โดยแพทย์จะทากรผ่าตัดผ่านกล้อง  ทำให้แผลที่เกิดขึ้นจากการผ่าตัดมีขนาดเล็กโดยทั่วไปอยู่ประมาณ 2-3 ซม.  ทั้งนี้อาจเล็กกว่านี้หรือใหญ่กว่านี้ขึ้นอยู่กับรอยโรคขอแต่ละคน  การใช้กล้องร่วมกับเครื่องมือทันสมัยทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องกังวลว่าจะเจ็บตัวมาก  เสียงาน ด้วยวิธีนี้ใช้เวลาในการผ่าตัดประมาณ 1 ชั่วโมง (ทั้งนี้ขึ้นกับจำนวนระดับที่ต้องผ่าตัด)  ผู้ป่วยจะอยู่ รพ.ประมาณ 1-2 คืน (หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ) สามารถลุกจากเตียงได้ภายใน 12-24 ชั่วโมง  หลังผ่าตัด  หากไม่ต้องทำกายภาพบำบัด  ก็สามารถกลับไปทำงานได้ภายใน  1-2 วันหลังผ่าตัด  โดยไม่จำเป็นต้องใส่ปลอกคอ(กรณีผ่าตัดที่คอ)  โดยแพทย์จะแนะนำให้หลีกเลี่ยงการยกของหนักใน 1-2 เดือนแรก  แต่หากกรณีลักษณะงานเป็นแบบงานนั่งโต๊ะ(office) ก็สามารถกลับไปทำงานได้ทันที  โดยไม่ต้องหยุดพักนานเป็นเดือนเหมือนการผ่าตัดในอดีต
 

ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดแบบแผลเล็ก  เจ็บน้อยและใช้กล้อง

แม้ว่าผู้ป่วยจะมีค่าใช้จ่ายในการใช้กล้องและวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัยเพิ่มเข้ามา  แต่เมื่อหักระยะเวลาที่ต้องพักฟื้นในรพ. จากเดิมที่นอนหลายสัปดาห์และต้องหยุดงานนานเป็นเดือนออกไป  กลายเป็นนอนรพ.  เพียง 1-2 วัน  และสามารถกลับไปทำงานได้ทันทีทำให้โดยรวมแล้วถือว่าเป็นประโยชน์กับตัวผู้ป่วยและญาติ
 

การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด

โดยทั่วไปผู้ป่วยจะได้รับอนุญาตให้กลับบ้านได้ภายใน 1-2 วัน หลังผ่าตัดสามารถกลับไปทำงานได้ทันที(กรณีงานนั่งโต๊ะ)  หรือหากเป็นงานหนัก  จะให้ใบรับรองแพทย์ให้กลับไปทำงานได้แต่ให้หลีกเลี่ยงงานที่ต้องใช้แรงมาก(งานยกของหรือต้องมีการเกร็งกล้ามเนื้อมาก ๆ )
 

หมอนรองกระดูกเทียม

ในบางรายจำเป็นต้องเปลี่ยนหมอนรองกระดูกทดแทนอันเดิม(ตามธรรมชาติ)  ที่เสื่อมหรือเสียไป  และเป็นสาเหตุของการเกิดโรค  แพทย์จะทำการใช้หมอนรองกระดูกเทียมมาทดแทนของเดิม  ซึ่งมักเป็นกรณีที่เป็นการผ่าตัดช่วงลำคอ  หมอนรองกระดูกเทียมนี้มี 2 ลักษณะให้เลือกใช้
  1. แบบที่เคลื่อนไหวไม่ได้ (Fixed) ทำจากพลาสติกทางการแพทย์   เมื่อใส่แล้วจะทำการล็อคกระดูกคอคู่ที่ติดกันให้เชื่อมต่อกันในระยะยาว   กระดูกคู่ดังกล่าวก็จะเคลื่อนไหวไม่ได้  การเคลื่อนไหวในระดับคอจะเกิดขึ้นในการกระตุกระดับที่ติดกัน (บนและล่าง)
  2. แบบที่เคลื่อนไหวได้ (Mobile) ทำจากโลหะผสม (Titanium Cobalt Alloy) ซึ่งเป็นวัสดุที่ใช้ในอุตสาหกรรมการบินยานอวกาศ  มีความทนทานสูง  เมื่อใส่แล้วจะทำหน้าที่คล้ายหมอนรองกระดูกแบบธรรมชาติ คือ มีการเคลื่อนไหวได้จริง  ด้วยเหตุดังกล่าว ประกอบเป็นวัสดุทางการแพทย์ที่นำเข้าจากอเมริกา  ยุโรป ทำให้มีราคาแพงกว่าแบบแรกมาก
 
(ปัจจุบันมีบริษัทนำเข้าจากจีน  หรือประเทศในเอเชีย รวมทั้งที่ผลิตในประเทศ  ทำให้มีราคาถูกกว่ามากๆ แต่ทางศูนย์ฯ ไม่มีนโยบายนำมาใช้เพื่อความปลอดภัยในระยะยาวของผู้ป่วยเอง)

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด