ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

นอนกรน Snoring Sleep Apnea

การนอนกรน ก่อปัญหาให้ทั้งผู้ที่มีอาการ และผู้ที่อยู่ใกล้ชิด คนนอนกรนเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลาย ๆ โรค เช่น โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ โรคสมอง โรคอัมพฤกษ์อัมพาต โรคสมรรถภาพทางเพศเสื่อม โรคเบาหวาน โรคความจำเสื่อมถอย หลับในง่าย ปวดศีรษะตอนเช้า และขี้เซามากกว่าคนปกติ 2-3 เท่า ทำให้คนข้างเคียงนอนไม่หลับ หลับไม่สนิท เมื่อตื่นขึ้นมาก็รู้สึกอ่อนเพลีย หงุดหงิดง่าย ง่วงนอนบ่อย ๆ เหมือนคนอดนอน การนอนกรนนั้นส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพของตนเองและผู้อื่น ทำให้คนข้างเคียงหลับยาก ก่อความรำคาญ หลับไม่เป็นสุข

นอนกรน
Snoring
Sleep Apnea


การนอนกรนส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร

การนอนกรน ก่อปัญหาให้ทั้งผู้ที่มีอาการ และผู้ที่อยู่ใกล้ชิด คนนอนกรนเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลาย ๆ โรค เช่น โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ โรคสมอง โรคอัมพฤกษ์อัมพาต โรคสมรรถภาพทางเพศเสื่อม โรคเบาหวาน โรคความจำเสื่อมถอย หลับในง่าย ปวดศีรษะตอนเช้า และขี้เซามากกว่าคนปกติ2-3เท่า ทำให้คนข้างเคียงนอนไม่หลับ หลับไม่สนิท เมื่อตื่นขึ้นมาก็รู้สึกอ่อนเพลีย หงุดหงิดง่าย ง่วงนอนบ่อย ๆ เหมือนคนอดนอน การนอนกรนนั้นส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพของตนเองและผู้อื่น ทำให้คนข้างเคียงหลับยาก ก่อความรำคาญ หลับไม่เป็นสุข

เสียงกรนมาจากไหน

เกิดจาการอุดกั้นของทางเดินหายใจตั้งแต่จมูกลงไปถึงคอ ได้แก่ ลิ้นไก่ เพดานอ่อน โคนลิ้น ทอนซิลมีความหนา หรือโตขึ้น และไปกีดขวางทางเดินอากาศ ทำให้บริเวณทางเดินอากาศแคบลงในขณะหลับ และลิ้นตกลงด้านล่างซึ่งไปกดทางเดินอากาศทำให้ลมหายใจเข้าออกแรงกว่าปกติ เกิดการกระแทกกันของผนังคอ ส่งผลให้เกิดการสั่นสะเทือน

การนอนกรนแบ่งเป็น3ระดับ

ระดับที่ 1คือเป็นในขณะนอนหงาย เมื่อนอนตะแคงจะทำให้อาการดีขึ้น
ระดับที่ 2คือกรนในทุกท่านอนแม้กระทั่งนั่งหลับก็มีเสียงกรน
ระดับที่ 3คือมีการหายใจติดขัด หายใจสะดุด สำลักน้ำลายหรือ มีการหยุดหายใจเป็นระยะ ๆ ส่งผลให้ตอนกลางวันง่วงนอนง่าย ขี้เซา หลับใน ซึ่งการกรนใน
ระดับที่3นั้นส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาดังกล่าวข้างต้น

การรักษา

ทำได้จากการรักษาโรคภูมิแพ้ ลดน้ำหนัก นอนตะแคง ควรงดสุรา บุหรี่ หลีกเลี่ยงการทำงานการออกกำลังกายที่ทำให้เหนื่อยล้าจนเกินไป งดยากล่อมประสาท งดยารักษาภูมิแพ้ ที่ทำให้ง่วงให้ใช้พลาสเตอร์ขยายปีกจมูก ใช้ฟันยางป้องกัน การนอนกรนใช้เครื่องช่วยหายใจซีแพพ (CPAP : Continuous Positive Airway Pressure)โดยแพทย์จะเป็นผู้แนะนำให้ท่านทราบ

ภูมิแพ้ทำให้นอนกรน

จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ทำให้ลมหายใจเข้าออกแรงขึ้น เนื่องจากน้ำมูก หรือเนื้อเยื่อภายในจมูกบวมขึ้นควรรักษาภูมิแพ้ให้ดี ปัจจุบันสามารถใช้เลเซอร์ หรือคลื่นวิทยุรักษาได้ ถ้าการรักษาทางยาไม่ได้ผล

เด็กนอนกรนเกิดจากสาเหตุใด

เด็กนอนกรนเป็นเด็กขี้เซา หรือไม่สบาย การเรียนถดถอยมักเกิดจากต่อมทอนซิลโต ต่อมอะดีนอยด์โต ภูมิแพ้อ้วน กระดูกบริเวณใบหน้าและคอผิดปกติ รักษาต่อมทอนซิลอักเสบ รักษาภูมิแพ้ทำให้อาการดีขึ้น การผ่าตัดต่อมทอนซิลในรายที่ใช้ยาไม่ได้ผล

เลเซอร์หรือ การผ่าตัด

แพทย์จะช่วยแนะนำการผ่าตัด ในกรณีที่การปฏิบัติตัว หรือการรักษาวิธีธรรมดาไม่ได้ผล โดยจะช่วยขยายทางเดินหายใจผ่านแสงเลเซอร์ตกแต่งบริเวณเพดานอ่อนลิ้นไก่โคนลิ้น เยื่อบุจมูกให้มีขนาดพอเหมาะ ทำให้ลมหายใจเข้าออกดีขึ้นเพื่อลดการนอนกรน เมื่อผ่าตัดแล้วสามารถกลับบ้านได้ทันที แต่อาจมีอาการเจ็บแผล1สัปดาห์

คลื่นวิทยุรักษานอนกรนได้ (Radioferquency)

คลื่นวิทยุจะทำให้เนื้อเยื่อบริเวณเพดานอ่อน ลิ้นไก่ โคนลิ้น ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการสั่นเทือนเกิดการกระชับตัวและตึงตัวขึ้น ลดการนอนกรนลง เมื่อยังมีอาการนอนกรน สามารถรับการรักษาซ้ำ2-3ครั้ง ห่างกัน1เดือน เจ็บแผลเล็กน้อย2-3วัน ใช้เวลารักษา15-20นาที

การวางด้ายบริเวณเพดานอ่อน (Pillar Procedure)

ด้ายทำให้บริเวณเพดานอ่อนตึงตัวลดการสั่นสะเทือน ลดการนอนกรน ช่องคอโล่งขึ้นลดการหยุดหายใจขณะหลับ ใช้เวลารักษา15-20นาที เจ็บแผลเล็กน้อย2-3วัน

เครื่องซีแพพCPAP(Continuous positive airway pressure)

เป็นเครื่องผลิตแรงดันอากาศให้เพียงพอในการเปิดทางเดินหายใจในขณะหายใจเข้า โดยส่งอากาศเข้าสู่ทางเดินหายใจผ่านทางหน้ากากครอบจมูก

ประโยชน์ของCPAPนอกจากขจัดปัญหาการขาดลมหายใจ ทำให้ร่างกายไม่ขาดออกซิเจน และมีคุณภาพการนอนดีขึ้น ยังช่วยลดปัญหาความง่วงนอนช่วงกลางวัน ลดอุบัติเหตุ และทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นในทุกด้าน นอกจากนั้นยังลดปัญหาสืบเนื่องในระยะยาวจากการขาดอากาศเป็นระยะ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง โรคเส้นเลือดตีบในสมอง และโรคหัวใจ รวมทั้งโรคเบาหวาน

เครื่องCPAPมีประสิทธิภาพเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ในการรักษาปัญหาการขาดลมหายใจ แต่มีปัจจัยอื่นที่ทำให้ประสิทธิภาพลดลง เช่น ความร่วมมือในการใช้เครื่องของผู้ป่วย การเล็ดลอดของอากาศระหว่างการใช้ ความสะดวกของการใช้ ผลข้างเคียงของเครื่อง เช่น จมูกแห้ง การกดทับ ซึ่งแก้ปัญหาได้โดยการใช้เครื่องให้ความชื้น (Humidifier )และ การสวมหน้ากากอย่างถูกวิธี รวมถึงการเลือกใช้หน้ากากที่เหมาะสมกับสรีระของใบหน้าผู้ใช้

ศูนย์โรคระบบการหายใจ รพ.วิภาวดี

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด