ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สารพิษในอาหาร ที่เผลอรับประทานไม่รู้ตัว

สารพิษในอาหาร ที่เผลอรับประทานไม่รู้ตัว Thumb HealthServ.net
สารพิษในอาหาร ที่เผลอรับประทานไม่รู้ตัว ThumbMobile HealthServ.net

ปัจจุบันเทรนของอาหารมีความหลากหลาย ผู้คนต่างนิยมเลือกซื้อเพราะรสชาติที่อร่อยและสีสันที่น่ากิน แต่ใครจะรู้ว่าอาหารเหล่านี้มีส่วนประกอบอะไรบ้าง รสชาติที่แสนอร่อยแต่เต็มไปด้วยสารพิษ ดังนั้นก่อนเราจะเลือกกินอะไรเข้าไปควรหยุดคิดสักนิดเพื่อสุขภาพร่างกายของเรา



สารพิษที่ปะปนอยู่ในอาหารแต่ละมื้อที่เผลอรับประทานเข้าไปโดยไม่รู้ตัว?        
 

สารเร่งเนื้อแดง
ระวังเนื้อสัตว์ที่เนื้อเยอะไขมันน้อย สารเร่งเนื้อแดงคือสาร เบต้าอะโกนิสต์ ผู้เลี้ยงจะใช้สารนี้ผสมกับอาหารสัตว์เพื่อเร่งการเจริญเติบโต และใช้ติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ที่กินเข้าไปมีอาการ มือสั่น กล้ามเนื้อกระตุก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ กระวนกระวาย วิงเวียน ปวดหัว คลื่นใส้ เป็นลม หรืออาจเสียชีวิตได้ ดังนั้นวิธีการเลือกเนื้อสัตว์ควรเลือกเนื้อสัวต์ที่ไขมันน้อย หรือเลือกซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้
 

ผงกรอบ (บอแรกซ์)
ชื่อที่คุ้นเคยกันดี แต่รู้ไหมผงกรอบมีชื่อทางเคมมีว่า โซเดียมเตตราบอเรต (Sodium tetraborate) ซึ่งมีผู้ผลิตหลายคนนำมาใส่ในอาหารเพื่อให้อาหารดูสด กรุบกรอบน่ากิน เมื่อผู้บริโภคกินเข้าไป อาจมีอาการอาเจียน น้ำหนักลด มีผื่นคันที่ผิว หนังตาบวม เยื่อตาอักเสบ อาจอาเจียน ปวดท้อง ท้องร่วง ตับและไตอักเสบ อาจชัก และเสียชีวิตได้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารผักดอง ลูกชิ้น หมูยอ ผลไม้ดอง และผักสดบางชนิด เช่น ถั่วฝักยาวที่กรอบผิดปกติ
 

สารฟอกขาว
เป็นกลุ่มที่เรียกว่า ซัลไฟต์  เป็นสารที่ยับยั้งอาหารไม่ให้เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เช่น ถั่วงอก ยอดมะพร้าว เพื่อให้ดูน่ารับประทานมากขึ้น อาการของผู้รับสารชนิดนี้ ปากและคออักเสบ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว ความดันต่ำ ถ่ายเป็นเลือด ชัก หายใจไม่ออก ไตวาย หรือหากสัมผัสสารอาจเป็นโรคผิวหนังอักเสบได้ เป็นพื่นแดงได้ ควรรีบพบแพทย์ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่โดนแดดนานๆ แล้วสีไม่คล้ำ และควรสังเกตุก่อนซื้อ ถั่วงอก ขิงซอย ยอดมะพร้าวอ่อน หน่อไม้ ทุเรียนกรอบ กระเทียมดอง น้ำตาลปี๊ป
 

ฟอร์มาลิน
สารเคมีชนิดนี้เป็นสารอันตรายและห้ามใช้ในอาหารทุกชนิด แต่ก็ยังมีผู้ประกอบอาหารบางรายนำมาใส่ในอาหารเพื่อให้อาหารสดใหม่ ไม่เน่าเสียได้ง่าย ดังนั้นควรเลือกซื้อให้ถูกหลัก
 
- เลือกผักสดที่ไม่แข็งกรอบจนเกินไปหรือมีกลิ่นฉุนจนแสบจมูก
 
- เลือกอาหารทะเลสดที่เนื้อไม่เปื่อยยุ่ย มีน้ำแข็งรักษาความสดไว้
 
 
 สารกันรา
สารกันราหรือสารกันบูด คือกรดซาลิซิลิค มักใช้กันในแชมพูสระผมและนำมาใส่อาหารเพื่อกันเชื้อราขึ้น ผู้ที่กินเข้าไปจะมีอาการผื่นคัน หายใจถี่และผิดปกติ อาเจียน ผิวหนังเป็นสีเขียวจากการขาดออกซิเจน หรือโลหิตเป็นพิษ ควรเลือกซื้ออาหารที่สดใหม่ หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง
 

สีผสมอาหาร
ขนมสีสวยน่ากินหลายชนิดนิยมใส่สีผสมอาหาร เพื่อให้ดูน่ากินมากขึ้น ซึ่งถ้าใช้ไม่มากก็อยู่ในเกณฑ์ที่ร่างกายรับได้ แต่หากเป็นสีสังเคราะห์ที่ไม่ได้จากธรรมชาติก็อาจมีอันตราย ส่งผลให้เกิดเนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะ ระบบทางเดินอาหาร ยิ่งเป็นสีที่ไม่ได้คุณภาพมีสารตะกั่ว สารหนูปนเปื้อน สะสมในร่างกายและเป็นพิษต่อระบบประสาท ควรหลีกเลี่ยง อาหารที่สีสดเกินไป สีสันดูแปลกตา จับแล้วสีติดนิ้ว และสีติดที่กระดาษ
 

สารกำจัดศัตรูพืช
สารชนิดนี้ใช้ในการป้องกันไม่ให้ศัตรูพืชมากัดกินพืชที่อยู่ในระว่างการเจริญเติบโต หากเกษตรกรใช้ฉีดพ่นมากจนเกินไปก็ทำให้สารพิษตกค้างในผักผลไม้มากขึ้น เราควรใส่ใจในการเลือกซื้อผักอย่างละเอียดและรู้วิธีล้างผักผลไม้อย่างถูกวิธีด้วยขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้
 
ขั้นตอนการเตรียมผักก่อนล้าง  สำหรับผักหัว ควรปลอกเปลือกตัดส่วนที่ไม่รับประทานออก ผักราก ปอกเปลือกส่วนที่ไม่รับประทานออก ผักใบ แกะกลีบ/คลี่ใบถ้ามีดินติดให้เคาะออก ผลไม้ ล้างทั้งผล วิธีการล้าง ถ้าล้างด้วยน้ำไหลผ่าน ลดสารตกค้างได้ถึง 25-65 % 
 
ขั้นตอนการล้างผัก 1.แช่ผักในน้ำ 2.นำใส่ตระกร้าตระแกงเปิดน้ำไหลผ่านไม่ใช้น้ำแรงเกินไป 3.ใช้มือช่วยถูใบประมาน 2 นาที
 
ขั้นตอนการล้งผลไม้ 1.ชนิดเปลือกบางเช่นองุ่นชมพู่ ให้แช่ลงไปทั้งพวง/ผล 2. ชนิดเปลือกแข็ง ส้ม ฝรั่ง แช่น้ำและล้างโดยใช้มือถูผิว เราก็จะได้รับประทานอย่างสะอาดและปลอดภัยมากขึ้น
 

ผงชูรส
สารโมโนโซเดียม กลูตาเมต (Monosodium glutamate)การยึดติดว่าถ้าไม่ใส่ผงชูรสแล้วอาหารไม่อร่อยนั้นเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะโดยธรรมชาติแล้ว  กลูตาเมตมีอยู่ในสิ่งมีชีวิต และในอาหารที่มีโปรตีนเป็นองค์ประกอบ เช่น เนื้อสัตว์ นม เห็ด แต่การเติมผงชูรสนั้นจะช่วยกระตุ้นให้ลิ้นรับรสที่คล้ายเนื้อสัตว์ จึงรู้สึกอร่อยขึ้น แต่ไม่ควรใส่มากจนเกินไป และห้ามใช้ผงชูรสปลอม มิฉะนั้นอาจถ่ายท้องอย่างรุนแรง ร้อนชาที่ต้นคอ  ชาบริเวณใบหน้า และอ่อนเพลีย
 

อะฟลาทอกซิน
สารพิษจากเชื้อรา พบบ่อยในอาหารแห้ง เช่น  ถั่วลิสง พริกป่น หอม กระเทียม กุ้งแห้ง อาการของผู้ที่รับสารนี้ ทำให้เป็น ตับแข็ง ตับอักเสบ เลือดออกในตับ หรือโรคมะเร็งในตับ ดังนั้นควรเลือกซื้ออาหารแห้งที่สะอาด ปิดมิดชิด และแห้งดีไม่มีชื้น
 
การเลือกรับประทานอาหารและรู้วิธีการเลือกซื้ออย่างถูกต้องจะเป็นผลดีกับตัวเรา  และผู้ผลิตเองก็ควรเลือกอาหารที่ดีสะอาด ปราศจากสารต่างๆ และรู้แหล่งผลิตที่ชัดเจนเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค เท่านี้ก็จะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ปลอดภัย ดังเช่น ที่ สสส.ได้ร่วมผลักดันมาตลอดตั้งแต่กระบวนการผลิต จนกระทั่งการจัดจำหน่าย เช่น โครงการตลาดสีเขียว เลมอนฟาร์ม เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน
 
ข้อมูลจาก : www.thaihealth.or.th

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด